4 จังหวัดเหนือบน จับมือทำทีวีชุมชน

4 จังหวัดเหนือบน จับมือทำทีวีชุมชน

ทีวีชุมชน ถึงเวลาที่ต้องก้าวต่อ

สื่อชุมชนจังหวัด พะเยา เชียงราย น่าน แพร่ ใช้ห้องประชุมมหาวิทยาลัยพะเยา นั่งล้อมวงคุยกัน ถึงการสร้างช่องทางการสื่อสารของชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบและเป็นเจ้าของทีวีชุมชนอย่างแท้จริง รวมทั้งมีความเหมาะสมสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต

ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มาตรา 49 ระบุ ต้องจัดให้ภาคประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะ และไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจในการประกอบกิจการบริการชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของคลื่นความถี่ในแต่ละพื้นที่ ทำให้คนภาคเหนือกลุ่มนี้ที่ประกอบไปด้วยคนจังหวัดพะเยา เชียงราย แพร่ น่าน ร่วมถึงสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ที่มีการเรียนการสอนทางด้านการสื่อสาร เช่น ม.พะเยา ม.ราชภัฏเชียงราย ม.แม่ฟ้าหลวง ได้ล้อมวงคุยกันอีกครั้ง เพื่อออกแบบจังหวะก้าวเดินกันต่อไป เพื่อผลักดันให้เกิดทีวีชุมชนขึ้น เพื่อให้เห็นภาพอนาคตที่สามารถเกิดทีวีชุมชนได้จริง คุณธนกร  สุขใส วิศวะกรไทยพีบีเอส ได้อธิบายภาพเชิงเทคนิคและระบบการออกอากาศ หากมีทีวีชุมชนขึ้น จะออกอาศอย่างไร พร้อมกับจำลองการออกอากาศของทีวีดิจิตอลชุมชนให้เห็น

 

ในช่วงบ่าย ตัวแทนสื่อชุมชนจาก 4 จังหวัดภาคเหนือ ได้แลกเปลี่ยนถึงแนวทางที่จะร่วมกันทำทีวีชุมชนต่อไปในอนาคต

สมโรจน์  สำราญชน เครือข่ายสื่อชุมชน จังหวัดแพร่ เล่าว่า ในพื้นที่จังหวัดแพร่มีการรวมกลุ่มกันของคนในพื้นที่ที่มีการทำงานเชิงประเด็น ที่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้วิทยาเขตแพร่ และเครือข่ายได้มีการผลิตสื่ออยู่แล้ว ตรงนี้คิดว่าสามารถปรับและจูนกันเพื่อตั้งต้นทำทีวีชุมชนได้

คุณเล็ก จากกลุ่มรุ่งอ้วน ตัวแทนจาก จังหวัดเชียยงราย เล่าว่า การทำเนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญ เนื้อหาของชุมชนถ้าผลิตดีๆ สามารถดึงคนดู และคิดว่าคนในชุมชนค่อนข้างสนใจ โดยยกตัวอย่างการสร้างเนื้อหาป้อนทีวีชุมชนให้มีความหลากหลายของเนื้อหา ทีวีกระแสหลักมีละครหลังข่าว มีหนัง ชุมชนก็สามารถมีได้ เพื่อสร้างความบันเทิง และคิดว่า ถ้าชุมชนผลิตก็สามารถผลิตได้โดยใช้เนื้อหา และเรื่องราวของชุมชนคนและคนในชุมชนผลิต

พระอธิการสมชาติ จากสามเณรชาแนล กล่าวว่า จริงๆแล้วทางสามเณรชาแนลได้ทำการทดลองทำทีวีชุมชนมาแล้ว โดยใช้สามเณรเป็นคนผลิตเนื้อหา และออกกาศภายในชุมชน โดยใช้คลื่นอนาล็อคซึ่งจริงๆแล้ว ผิตกฎหมายตาม พรบ. แต่ถ้าไม่มองเรื่องกฎหมาย คลื่นความถี่เป็นของประชาชนอยู่แล้ว จากการทดลองทำ พบว่า ได้รับความสนใจจากคนในพื้นที่พอสมควร จนสามารถระดมทุนเพื่อใชเป็นค่าใช่จ่าย ในการผลิตทีวีชุมชน 7 วัน ได้ถึง 6 แสนบาท ซึ่งอนาคตหากมีการจัดสรรคลื่นความถี่จริง สามเณรชาแนล พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการสร้างเนื้อหาให้มีความหลากหลาย

ประพล  ประวัง ตัวแทนพะเยาทีวีชุมชน บอกว่า ที่ผ่านตัวเองทำงานเชิงประเด็นในพื้นที่อยู่  จากการทดลองร่วมทำทีวีชุมชนช่วงแรก ก็ยังนึกภาพไม่ออก ว่าจะออกมาอย่างไร แต่พอทดลองทำและลองออกอากาศโดยใช้สื่อใหม่ และเคเบิ้ล พบว่า มันสามารถ เป็นเครื่องมือที่จะสร้างการพูดคุยของคนในพื้นที่ได้

ดร.รัฐภูมิ  พรหมณะ ตัวแทน ม.พะเยา ได้แลกเปลี่ยนหลังจากที่ได้เข้ามาเชื่อมกับทางทีวีพะเยาชุมชน ว่า การทำงานร่วมกัน มหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งที่คอยเชื่อมร้อย และร่วมทำตามกำลังที่มี เพราะถ้าลงมาเต็มตัวเกรงว่า จะเป็นทีวีมหาวิทยาลัยแทน

ดร.พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล ตัวแทนจาก มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ในประเทศไทย ได้แลกเปลี่ยนว่า ในช่วงต้นที่มีการคุยกันนึกภาพไม่ออกว่าคืออะไร แต่พอได้มาฟังก็ เหมือนกับที่เยอรมัน มองว่าเป็นการกระจายอำนาจ คือการจายอำนาจทางการสื่อสาร คือสร้างพื้นที่การสื่อสารให้กับคนทุกกลุ่ม อนาคตอยากจะเห็นการขับเคลื่อนกันภาพใหญ่

และในช่วงท้ายของการจัดวงคุยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและกิจกรรมขับเคลื่อนทีวีชุมชน ตัวแทนทั้ง4 จังหวัด จะกลับไปออกแบบกลไกลการทำงานและการพูดคุยกันในพื้นที่จังหวัดของตัวเอง และได้มีการนัดหมายอย่างไม่เป็นทางการกันอีกครั้ง เพื่อที่ร่วมกันขับเคลื่อนทั้งเชิงนโยบาย และทดลองลงมือทำทีวีชุมชน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ