เศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก 1 ใน 5 พื้นที่นำร่องโมเดลการค้าชายแดน ผ่านไป 10 ปี เรื่องดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจน กระทั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน หากการจัดตั้งดังกล่าวเกิดเป็นรูปธรรมได้จริงจะทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นโมเดลที่ส่งเสริมการค้าระหว่างชายแดนได้อย่างถูกทิศทาง พร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558
สุชาติ ตรีรัตน์วัฒนา ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่า สิบปีที่ผ่านมา เรามีความคิดริเริ่มที่จะทำเขตเศรษฐกิจพิเศษในรัฐบาลสมัยนั้นที่มองว่าเรามีชัยภูมิที่ดีที่ติดต่อกับประเทศเพื่อบ้านเป็นจุดเด่นที่ควรจะพัฒนา อำเภอแม่สอดคู่กับจังหวัดเมี่ยวดีให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่ที่ติดตามและเป็นผู้ดำเนินการมาตลอด เป้าหมายครั้งแรกคือ อุตสาหกรรมย้ายเข้ามาใน แม่สอด เยอะ ปัญหาเรื่องแรงงานทำให้มีการคิดริเริ่มที่จะทำเขตเศรษฐกิจกิจไทยกับเมียวดี อันนี้เป็นหัวใจสำคัญ ณ เวลานั้น ซึ่งหลังจากนั้น ผู้บริหารประเทศก็เปลี่ยนหลายสมัยเหลือเกิน…พอศึกษากันมาสักระยะหนึ่งแล้วก็มีปัญหาคือ ว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษมันพิเศษอะไร ยังหาข้อสรุปยังไม่ได้ในตอนนั้น แล้วก็มีการเปลี่ยนรัฐบาล ก็ทิ้งช่วง…
สิบปีแรกที่ประกาศให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ รัฐก็มีงบประมาณลงมา มีการเตรียมความพร้อมประชาชนให้มีความเข้าใจและรู้จักเขตเศรษฐกิจพิเศษ…สำหรับในเรื่องสาธารณูปโภคนั้นก็มีการพัฒนา มีโครงการต่างๆ เกิดขึ้น ในเรื่องถนนจาก อ.แม่สอดไป จ.ตาก ก็มีแนวคิดริเริ่มจากโครงการนี้ แต่ต้องล่าช้านิดหนึ่ง เพราะในช่วงสิบที่ผ่านมาติดขัด ตอนนี้ก็ทำได้ ห้าสิบเปอร์เซ็นต์…
มีการพูดถึงพื้นที่ เนื้อที่ห้าพันหกร้อยกว่าไร่ มีการกำหนดจุดที่จะมีสะพานแห่งที่สอง เนื่องจากตอนช่วงนั้นมีการขนส่งมีอุปสรรคมาก ถนนคับแคบ คือสะพานคับแคบ อันนี้กรมทางก็ได้ออกแบบมาชัดเจน และมีการคุยกันระหว่างประเทศเพื่อนบ้านชัดเจน แต่มีปัญหาอยู่ที่ภายในประเทศที่จะทำถนนเชื่อม เพราะต้องทำประชาพิจารณ์ ทางฝั่งไทยอยู่ที่ ต.ท่าสายลวด ทางพม่าที่ ยี่ปู
สิ่งที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือ ระยะทางการขนถ่ายสินค้าสะดวกขึ้น เพราะทุกวันนี้ที่เก่าที่เรามีมันคับแคบจริงๆ และทางฝั่งพม่า ก็ไม่ได้เตรียม ที่เมี่ยวดีรถติดมาก ฝั่งไทย คนทั้งสองประเทศจะเข้าออก รถขนส่งจะเข้าออก ถ้าหากเราได้พัฒนาสะพานแห่งที่สองแล้ว ก็เชื่อว่าสะพานแห่งท่าสองจะเป็นเส้นทางการขนถ่ายสินค้า และทางเจ้าหน้าที่ก็จะไปอยู่จุดนั้นเพื่อทำเป็นวันสต็อปเซอร์วิส
คนในพื้นที่คงจะได้ไม่มาก เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ทำขึ้นเพื่อรองรับเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ใช้แม่สอด สำหรับคนแม่สอดจะได้ก็คือคนหนุ่มสาว ที่มีแนวคิดและติดตามการพัฒนากับประเทศเพื่อนบ้าน …การเสียประโยชน์จะเสียผลประโยชน์ทางด้านจิตใจของพี่น้องประชาชน คือในพื้นที่มีเศรษฐกิจที่ดี แต่เราไม่ได้รับตอบสนองตามที่อยากจะได้ อันนี้เป็นสิ่งที่จะปลูกฝังเพื่อจะให้ตื่นตัวกับเรื่องนี้…
เท่าที่เราคุยกันวันนี้ พิเศษคือ เรื่องของการใช้แรงงาน ในชายแดนสำหรับอุตสาหกรรมที่จะมีขยายฐานที่นี่ ที่จะใช้แบบไปเช้าเย็นกลับได้ ถ้าไปเช้าเย็นกลับได้ ผู้ประกอบการก็ไม่ต้องแบกรับค้าใช้จ่ายเรื่องเอกสารต่างๆ และไม่ต้องห่วงว่าแรงงานจะไหล่ไปสู่ส่วนกลางของประเทศ เรื่องการที่จะทำอย่างไรให้อุสาหกรรมในพื้นที่นี่สามารถผลิตได้โดยเอาวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามา โดยไม่ต้องเสียภาษีเบื้องต้นทำเป็นสินค้าทันบนเพื่อมาประกอบในเขตอุสาหกรรม เพื่อเตรียมส่งออกไปประเทศที่สาม และสาธารณูปโภคต่างที่ควรจะได้ในราคาที่ถูกกว่าราคาในภาคกลาง ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็คงจะต้องออกแบบเพิ่มเติม ..แต่ในเรื่องอื่นๆคงจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน เช่น ผู้ประกอบการได้อะไรบ้าง ต้องเอาต้นแบบจากต่างประเทศ จีน แมกซิโก มาศึกษา เราตจะต้องมองว่า เพื่อนบ้านได้อะไรด้วย
ด้านผู้ประกอบการการค้าชายแดนใน อ.แม่สอด รายเดิมมองว่า พวกเขาจะได้ประโยชน์จากพื้นที่เขตเศรษฐกิจคือ การขยายธุรกิจการค้าในตลาดที่กว้างขึ้น และในระยะนี้ก็ต้องปรับตัวและมีการเตรียมความพร้อมด้วยการขยายกิจการไปฝั่งเพื่อนบ้านทั้งย่างกุ้ง และเมียวดี ซึ่งในขณะนี้ข้อได้เปรียบคือคนในพื้นที่มีประสบการณ์ แต่ว่ากลุ่มธุรกิจที่เข้ามา เป็นรายใหญ่ซึ่งมีความเป็นมืออาชีพมากกว่า