หลังจากนกกระเรียนไทย ตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว อายุ 2 ปี เดินทางมาจากสวนสัตว์นครราชสีมา มาถึงสวนสัตว์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม เพื่อนำมาขยายพันธุ์และเตรียมเปิดให้เที่ยวชม ต้อนรับปีใหม่เมืองในเดือนเมษายน 2558 นี้
นกกระเรียนไทย เป็นสัตว์ป่าสงวนหนึ่งใน 15 ชนิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 ถือเป็นสัตว์หายาก ที่สูญพันธุ์จากธรรมชาติแล้ว มีชื่อสามัญ คือSarus Crane และชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Grus antigone sharpie ลักษณะ เป็นนกขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวยาวประมาณ 1.52 เมตร สูงราว 1.5 เมตร มีน้ำหนัก ตัวประมาณ 5 – 12 กิโลกรัม เป็นนกที่สูงและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพศเมีย มีลักษณะรูปร่าง และ สีขนเหมือนกัน เพียงแต่เพศผู้ สูงกว่าเพศเมียเล็กน้อย การแยกเพศ จึงต้อง อาศัยการสังเกตพฤติกรรม และ เสียงร้องเกี้ยวพาราสีในช่วงฤดูผสมพันธุ์ หากเป็นลูกนกที่เกิดพร้อมกันจะเลี้ยงไว้ด้วยกัน การแยกเพศจะดูจากขนาด
นิสัยนกกระเรียนไทย
นกระเรียนไทยเป็นนกที่กินอาหารได้หลายอย่าง ทั้งพืชและสัตว์ มีทั้งเมล็ดข้าว ลูกไม้ รากพืชนุ่มๆ ยอดผัก ยอดหญ้า หนอน แมลง หอย ปู ปลา กบ เขียด สัตว์เลื้อยคลานตัวเล็ก ๆ และนกตัวเล็ก ๆ เป็นต้น ปากของนกกระเรียนไทย จะไม่แหลม คมแบบเหมือนนกกระสาหรือกระยาง จะกินอาหารตามฤดูกาล มักไปไหนมาไหนเป็นฝูงรูปตัววี(v) นกที่บินนำหน้าจะส่งเสียงร้อง เพื่อเตือนให้นกตัวอื่น ๆ บินอยู่ในแถวหรือบินจับบกลุ่มไว้ เสียงร้องจะดังมาก ปกติจะบินสูงขนาดไหนขึ้นอยู่กับทิศทางของลม ในเวลาบินคอนกกระเรียน ไทยจะยืดยาวออกไปข้างหน้าและขายื่นไปข้างหลัง กระพือปีกลงช้า ๆ สลับกับกระพือ ปีกขึ้นอย่างรวดเร็ว นกกระเรียนไทยมักจะร้องบ่อย ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ และในขณะบินข้ามถิ่น เสียงร้อง ดังก้องและได้ยินได้ในระยะไกล ในขณะบินเสียงร้องอันดังก้องนี้ จะเป็นตัวในการควบคุมนก แต่ละตัวให้บินได้โดยไม่แตกจากฝูง พฤติกรรมที่น่าดูของนกกระเรียนไทยอีกอย่าง คือ การจับคู่เต้นรำ เป็นลักษณะ เด่น ซึ่งเรียกว่า “ท่าเต้นรำนกกระเรียน”