วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู เน้นทักษะนวัตกรรมอาชีพยุคใหม่ แก้ปัญหาขาดแรงงานสายอาชีวะ

วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู เน้นทักษะนวัตกรรมอาชีพยุคใหม่ แก้ปัญหาขาดแรงงานสายอาชีวะ

ดร.รัตนา แซ่เล้า เยี่ยมชมหลักสูตรยานยนต์ และซ่อมบำรุง รถไฟฟ้า

มีคำกล่าวว่า “อาชีวะศึกษา” เปรียบเหมือนฐานสำคัญในการผลิตบุคลากรสร้างชาติ ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า ทั้งในด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งในปัจจุบันได้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเน้นให้ผู้เรียนมีสมรรถนะที่เหมาะสมตามสถานประกอบการ สู่มาตรฐานสากล เหมือนกับที่วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู เขตหนองแขม กทม. ที่ทางรายการ 1 ในพระราชดำริ ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 Mcot HD ร่วมกับมูลนิธิอานันทมหิดล ได้เดินทางมาเยี่ยมชม ซึ่งพบว่ามีการปรับตัวนำนักเรียนเข้าสู่โลกแห่งการทำงานที่ต้องแข่งขัน ได้อย่างน่าชื่นชม

ดร.บัญชา เกิดมณี ผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู

ดร.บัญชา เกิดมณี ประธานกรรมการบริหาร วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธนบุรี กล่าวว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู เป็นวิทยาลัยอาชีวะศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน ก่อตั้งมานาน 50 ปี ที่ผ่านมาได้ผลิตนักศึกษาไปแล้วกว่า 70,000 คน โดยในช่วงปิดเทอมจะมีการส่งครูแผนกช่างไปฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ และสร้างความมั่นใจว่าความ รู้ที่สอนเป็นไปตามมาตรฐานของประเทศ ส่วนครูสามัญจะมีการอบรมอยู่ตลอดเวลา มีการส่งเสริมการเรียนลูกเสือ ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องความสัมพันธ์กับนักเรียน ไม่มีการลงโทษเด็กด้วยการตี เพื่อทำให้เกิดความไว้วางใจ และไม่มีการคดโกง รวมถึงมีการร่วมมือกับธนาคารออมสิน เพื่อฝึกให้มีนิสัยด้านการออม และวางแผนค่าใช้จ่าย ซึ่งทำให้เกิดความภาคภูมิใจตามมา

ด้านการเรียนการสอนได้วางแผนให้นักเรียนมีทักษะสูง ทั้งในเรื่องการใช้เครื่องมือที่ปลอดภัย มีพื้น ฐานความรู้ที่เข้มแข็ง และสร้างความเชี่ยวชาญให้เกิดขึ้น ด้วยการเรียนที่ต่อเนื่องไปยังมหาวิทยาลัยธนบุรีที่อยู่ในเครือเดียวกัน ซึ่งเด็กที่เรียนจบมาจะมีงานทำแบบ 100 % โดยมีบริษัทฯ หรือโรงงานภายนอกเข้ามารับทำงานตั้งแต่ตอนยังเป็นนักศึกษา ที่ในปัจจุบันยังคงมีให้ไม่เพียงพอ แสดงให้เห็นถึงความขาดแคลนนักศึกษาอาชีวะที่มีเป็นจำนวนมาก ในด้านคุณภาพได้ส่งนักเรียนเข้าสู่การแข่งขันซึ่งได้รับรางวัลในระดับโรงเรียน และเริ่มส่งสู่ในระดับชาติ รวมถึงทดสอบมาตรฐานกับเกณฑ์ของกรมฝีมือแรงงาน หรือบริษัทอุตสาหกรรมต่างๆ พบว่านักเรียน 80% ผ่านการทดสอบ โดยในอนาคตได้ตั้งเป้าเปิดหลักสูตรด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ การขนส่งทางหุ่นยนต์, ยานยนต์และซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ กราฟิก ที่นำไปประกอบอาชีพอิสระได้”

หลักสูตรเทคโนโลยีสมัยใหม่ ของนักเรียนสายอาชีวะ

มาที่ ดร.รัตนา แซ่เล้า ผู้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล แผนกธรรมศาสตร์ ประจำปี 2549 ได้เผยว่า “จากการศึกษาพบว่าปัญหาการผลิตบุคลากรที่ไม่เพียงพอ กับความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นจากค่านิยมที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาในสายสามัญมากกว่าสายอาชีวะ ส่งผลให้ไทยขาดแคลนแรงงานในสายอาชีวะจำนวนมาก ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากผู้ปกครองเป็นห่วงในเรื่องความปลอดภัย และปัญหาเรื่องเด็กตีกัน ดังนั้นการที่วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องการอยู่ร่วมกันแบบครอบครัว มีครูดูแลนักเรียนเหมือนเป็นพ่อแม่ มีความอบอุ่นและอ่อนโยน จึงตอบโจทย์ในเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้การที่มีมหาวิทยาลัยธนบุรีได้ทำให้การเรียนอาชีวะนั้นครบวงจร คือเด็กจะสามารถเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาตามแต่ความสนใจได้ โดยสิ่งสำคัญของอาชีวะศึกษาก็คือเรื่องทักษะ ดังนั้นการร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน และการลงทุนในอุปกรณ์เทคโนโลยีและเครื่อง ยนต์เพื่อการเรียนการสอนของทางวิทยาลัย ทั้งในด้านช่างกล, ไฟฟ้า, สำรวจ, ก่อสร้าง ฯลฯ จึงได้ทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและเชี่ยวชาญ และสามารถพัฒนาศักยภาพตนเอง เข้าสู่ตลาดแรงงานที่มีความสามารถต่อไปในอนาคต”

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

Prev

May 2025

Next

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

28
29
30
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1

23 May 2025

Nothing to show.

เข้าสู่ระบบ