คำแถลงในมหกรรมวันสื่อสันติภาพ (PPP101) 28 กุมภาพันธ์ 2557
โดย อาบูฮาฟิซ อัลฮากิม
ด้วยพระนามของอัลเลาะฮ์ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงกรุณาปราณีเสมอ
ท่านประธาน
แขกผู้มีเกียรติและท่านผู้ร่วมอภิปราย
ท่านสุภาพบุรุษและท่านสุภาพสตรีครับ
ขอความสันติจงมีแด่ทุกท่าน
เราขอขอบคุณผู้จัดงานในครั้งนี้ที่ให้พื้นที่และโอกาสสำาหรับนักต่อสู้ปาตานีในการส่งเสียงสะท้อนความคิดเห็นของพวกเขาในงานมหกรรมวันสื่อสันติภาพในสถานที่อันทรงเกียรตินี้
การพบปะกันในครั้งนี้คงเป็นสิ่งที่ไม่สมบูรณ์เป็นแน่ หากเสียงของนักสู้ปาตานีไม่ได้ถูกรับฟัง เราพยายามฝ่าฝันมาเป็นเวลาหลายปี ด้วยหยาดเหงื่อและเลือดเนื้อเพื่อจะปกป้องศักศรีย์ของเชื้อชาติ ศรัทธา และผืนแผ่นดินของประชาชนมลายูปาตานี
เราอยากจะย้ำเตือนทุกท่านในที่นี้ว่าความขัดแย้งปาตานีนั้นหาได้เกิดขึ้นมาเพียง 10 ปีเท่านั้น หากแต่เป็นความขัดแย้งทางการเมือง ประวัติศาสตร์ และสังคม ที่ดำเนินมาตลอดระยะลากว่าสองร้อยปี นั่นหมายความว่า ความยากลำบากและความทุกข์ทรมานที่ชาวมลายูปาตานีฝืนทนกล้ำกลืนภายใต้ระบอบอาณานิคมของไทยนั้นยาวนานและเต็มไปด้วยความเจ็บปวดมากกว่าความทุกข์ทรมานของผู้คนชาติพันธุ์อื่นๆ ในปาตานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวไทยพุทธนับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา แต่กระนั้น เราก็ต่อสู้กับระบอบอาณานิคมของไทยเท่านั้น ขณะที่ชาวไทยหาได้เป็นศัตรูของเราไม่
เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะย้ำเตือนให้ระลึกด้วยว่าเราเลือกการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ก็เพราะว่าในอดีตรัฐไทยไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับชะตากรรมของประชาชนเลย บรรดาผู้นำของเราในอดีตซึ่งต่อสู้ผ่านรัฐสภาหรือการเรียกร้องบนหลักการสิทธิมนุษยชนก็มักต้องประสบกับการถูกจับกุมหรือไม่ก็ถูกคุมขัง บางคนยังถูกฆาตกรรมหรือจำต้องหลบหนีลี้ภัยในต่างแดน ที่น่าเศร้าก็คือสถานการณ์เหล่านั้นก็ยังคงดำรงอยู่ในทุกวันนี้
ทุกท่านครับ
การเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพของนักต่อสู้ปาตานีไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ ก่อนหน้าจะมีกระบวนการสันติภาพที่กัวลาลัมเปอร์ในปัจจุบันนี้ เราก็เคยเข้าสู่กระบวนการอื่นๆ อย่างไม่เป็นทางการ โดยมีรัฐบาลบางประเทศและกลุ่มองค์กรเอกชนบางกลุ่มทำหน้าที่ประสานงาน ซึ่งพอจะระบุถึงชื่อของกระบวนการเหล่านี้ได้บ้าง เช่น เจนีวา, โบกอร์, ลังกาวี เป็นต้น มันช่วยเตือนความทรงจำได้ว่ากระบวนการใดก็ตามที่ปราศจากการวางแผนและการจัดการที่ดีแล้วก็มักประสบกับความล้มเหลวในท้ายที่สุด กระบวนการสันติภาพที่กัวลาลัมเปอร์จะต้องประสบกับสภาพการณ์เดียวกัน หากปัญหาและความอ่อนด้อยของกระบวนการก่อนหน้านี้ไม่ได้รับการกล่าวถึง
บรรดากระบวนการสันติภาพก่อนหน้านี้ดำเนินการอย่างปิดลับและมีปัญหาเกี่ยวกับความเป็นตัวแทนและการมีอำนาจที่ได้รับมอบหมายชัดเจนหรือชอบธรรมเพียงพอ ทั้งสองฝ่ายต่างเข้าสู่โต๊ะพูดคุยด้วยเป้าหมายที่แตกต่างกัน ในขณะที่จุดประสงค์ของบรรดานักต่อสู้นั้นหมายจะประเมินความจริงใจและความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของรัฐไทย ส่วนฝ่ายไทยก็เข้ามาเพียงเพื่อหาข่าวกรองและแสวงหาหนทางที่จะยุติความรุนแรง ในขณะเดียวกันก็ค้นหาว่าบรรดาตัวแทนของฝ่ายนักต่อสู้นั้นสามารถควบคุมสั่งการเหล่านักรบในพื้นที่ได้มากน้อยเพียงใด ไม่มีการยอมรับสถานะของบรรดานักต่อสู้ ด้วยเหตุนี้พวกเขาก็ยังถูกมองว่าเป็นเพียงผู้ก่อการร้าย
แต่กระบวนการสันติภาพที่กัวลาลัมเปอร์มีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง ถึงแม้ว่าในช่วงเริ่มแรกจะยังมีเรื่องที่ยังต้องถกเถียงกันอยู่ แต่กระบวนการสันติภาพครั้งนี้เริ่มต้นอย่างเปิดเผย ด้วยการประกาศอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลไทยภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยมีตัวแทนฝ่ายไทยที่เป็นข้าราชการระดับสูง (เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ) และมีทางการมาเลเซียรับบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ส่วนฝ่ายนักต่อสู้ได้รับการยอมรับเป็น “ผู้ที่มีความคิดเห็นและอุดมการณ์ที่แตกต่างจากรัฐ” โดยมีอุสตาซ ฮัสซัน ตอยิบ เป็นตัวแทนจากบีอาร์เอ็น (แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ) นี่ถือเป็นครั้งแรกที่กระบวนการสันติภาพปาตานีได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการและได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากประชาคมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ
ถึงแม้ว่าฝ่ายนักต่อสู้จะต้องถูก “ผูกมัด” ให้อยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญไทย ตามที่มีการระบุไว้ใน “ฉันทามติทั่วไปว่าด้วยกระบวนการพูดคุยสันติภาพ” ซึ่งลงนามในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ก็ตาม แต่เราก็ได้เข้าร่วมพูดคุยเพื่อค้นหาทางเลือกอื่นที่นอกเหนือไปจากการใช้กำลังอาวุธ เพื่อให้ได้มาทางออกของความขัดแย้งปาตานีที่มีความยุติธรรม ความรอบด้าน และความยั่งยืน พวกเราเชื่อว่าด้วยวิธีการพูดคุยและการเจรจา ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการลดความรุนแรง หรือแม้แต่การยุติการใช้ความรุนแรงทั้งหมด และต่อไปก็จะสามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการกำหนดสถานะของปาตานีในอนาคต
ถึงแม้ว่าในช่วงแรก ยังมีนักต่อสู้บางคนที่มีความคลางแคลงใจต่อกระบวนการสันติภาพครั้งนี้ เพราะผู้ที่ริเริ่มกระบวนการดังกล่าวคืออดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจต่อชาวปาตานีในโศกนาฏกรรมที่มัสยิดกรือเซะและตากใบ แต่เราก็ตอบรับคำขอร้องนั้นก็เนื่องจากในศาสนาอิสลามมีคำสอนว่า เราควรตอบรับข้อเสนอเพื่อสันติภาพ แม้ว่าจะมาจากศัตรูของเราเองก็ตาม ดังเช่นระบุไว้ในอายะฮฺที่ 61 ของซูเราะฮฺอัล-อัลฟาลของอัล-กุรอาน ความว่า “และหากพวกเขา (ศัตรู) โอนอ่อนมาเพื่อการประนีประนอมแล้ว เจ้าก็จงโอนอ่อนตามเพื่อการนั้นด้วย และจงมอบหมายแต่อัลเลาะฮ์เถิด แท้จริงนั้นพระองค์คือผู้ทรงได้ยินทรงรอบรู้” ด้วยเหตุนี้ เราจึงเข้าร่วมในกระบวนการสันติภาพ ในขณะที่บางคนยังมีข้อสงสัยและเลือกที่จะเฝ้ามองก่อน
ในการประชุมครั้งแรกๆ ของกระบวนการ (ครั้งแรกในวันที่ 28 มี.ค. 2556 และครั้งที่สองในวันที่ 29 เม.ย. 2556) การพูดคุยนั้นยังคงเป็นเรื่องพื้นฐานของการพูดคุยสันติภาพเท่านั้น ยังไม่มีการเจรจา แม้แต่การนำเสนอเงื่อนไขใดๆ ก็ไม่มี ที่จริงแล้วการพูดคุยในช่วงเริ่มต้นควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยไม่ต้องเปิดเผย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ในขั้นตอนแรกของกระบวนการสั้นติภาพคือการนำเสนอรายงานข่าวโดยสื่อ โดยเฉพาะสื่อไทยที่รายงานข่าวซึ่ง “ตีปี๊บ” ให้กับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ การคาดเดา คำกล่าวหา และเข้าข้าง คณะพูดคุยฝ่ายไทยก็มักจะให้ความเห็นที่ “ล้นเกิน” ก่อนและหลังการพูดคุยทุกครั้ง คำพูดของบรรดาผู้นำจากฝ่ายรัฐไทยก็บ่งบอกถึงการขาดเอกภาพของฝ่ายตน สถานการณ์เช่นนี้ไม่เอื้อต่อความคืบหน้าของกระบวนการสันติภาพและจะเป็นความเสี่ยงต่อกระบวนการดังกล่าว
เนื่องจากไม่มี “แผนที่เดินทาง” (roadmap / pata jalan) ที่ชัดเจนสำหรับกระบวนการสันติภาพครั้งนี้ ฝ่ายนักต่อสู้ได้เริ่มแสดงจุดยืนให้ชัดเจนแถลงการณ์ผ่านยูทูบ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2556 โดยนำเสนอข้อเรียกร้อง 5 ประการเพื่อให้กระบวนการสันติภาพครั้งนี้อยู่ในแนวทางที่ถูกต้องต่อไป ข้อเรียกร้องดังกล่าวถูกนำเสนออย่างเป็นทางการในการพูดคุยครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556
ดูเหมือนว่า ฝ่ายรัฐไทยนั้นสนใจเพียงเรื่องการยุติหรือการลดความรุนแรงของฝ่ายนักต่อสู้อย่างเดียว เห็นได้ชัดเจนจากการพูดคุยครั้งที่สามเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2556 เมื่อฝ่ายรัฐไทยนำเสนอการลดปฏิบัติการทางทหารอย่างจำกัดจากทั้งสองฝ่าย หรืออีกนัยหนึ่งคือการหยุดยิงชั่วคราวตลอดช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งรู้จักกันในนาม “การริเริ่มสันติภาพแห่งเดือนรอมฎอน” ฝ่ายนักต่อสู้ก็ตอบสนองข้อเสนอดังกล่าวโดยเพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่างเข้าไป
ทุกท่านครับ
เราทุกคนทราบกันอย่างดีว่า “การริ่เริ่มสันติภาพแห่งเดือนรอมฎอน” จบลงอย่างไร เราได้เรียนรู้บทเรียนประการสำคัญที่ว่า การที่จะริเริ่มดำเนินการในเรื่องใดที่มีความสำคัญเช่นนี้ เราจำเป็นต้องวางแผน, อภิปราย, กลั่นกรอง และปรึกษาหารือกันถึงรายละเอียดจนกว่าทุกฝ่ายจะสามารถตกลงกันได้
เราเห็นว่ามีจุดอ่อนสำคัญในการริเริ่มสันติภาพแห่งเดือนรอมฎอนดังกล่าว หนึ่งในจุดอ่อนเหล่านั้นคือ การดำเนินการที่เกิดขึ้นก่อนเวลาอันเหมาะสม ในขณะที่ยังไม่มีมาตรการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน (confidence building measures) การดำเนินการในเรื่องสำคัญที่ปราศจากการวางแผนและอภิปรายร่วมกันเช่นนั้นผิดหลักข้อตกลงการหยุดยิงทั่วไป นอกจากนี้ การริ่เริ่มสันติภาพแห่งเดือนรอมฎอนยังเป็นการประกาศโดยฝ่ายเดียว (ฝ่ายผู้อำนวยความสะดวก) เท่านั้น ทั้งๆ ที่ยังไม่มีข้อตกลงกันที่แน่นอนเกี่ยวกับ “กรอบของการริเริ่มสันติภาพแห่งเดือนรอมฎอน 2013” ซึ่งเป็นเอกสารจำนวน 7 หน้า ไม่มีการทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการและยังไม่มีการลงนามใดๆ ทั้งสิ้น นั่นหมายความว่า แต่ละฝ่ายสามารถฝ่าฝืนเงื่อนไขและกรอบต่างๆ ได้ทุกเมื่อ การริเริ่มนี้ยังไม่มีกรรมการหรือคณะทำงานติดตามผลที่เป็นกลาง (monitoring team) เพื่อตรวจสอบผู้ที่ฝ่าฝืนข้อตกลงซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ และสิ่งที่สำคัญคือ ไม่มีการให้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอต่อสาธารณชนเกี่ยวกับเงื่อนไขและกรอบข้อตกลง มาตรการในการปกป้องคุ้มครองประชาชน และการร้องเรียนในกรณีที่มีการละเมิดจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
สิ่งที่น่าเสียใจที่สุดคือ ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนรอมฎอนปีที่แล้ว เหตุวิสามัญฆาตกรรมนักกิจกรรมเคลื่อนไหวและผู้ที่เคยตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีความมั่นคงก็เกิดขึ้นหลายครั้ง ซึ่งทำให้กองกำลังติดอาวุธของบีอาร์เอ็นต้องการระงับการมีส่วนร่วมในการพูดคุย ถ้อยแถลงจากสภาชูรอก็ได้การประกาศโดยสมาชิกของกองกำลังติดอาวุธของบบีอาร์เอ็นผ่านทางยูทูบในวันที่ 6 สิงหาคม 2556 ในที่สุด ความล้มเหลวที่ฝ่ายไทยไม่ปฏิบัติตามขอบเขตและเงื่อนไขที่บันทึกไว้ในเอกสารข้างต้นที่ฝ่ายไทยเป็นผู้นำเสนอเองนั้น ทำให้ฝ่ายนักต่อสู้ตัดสินใจระงับการเข้าร่วมในการพูดคุยอย่างเป็นทางการ (อย่างเปิดเผย) จนกว่าฝ่ายไทยยอมรับข้อเสนอเบื้องต้นทั้ง 5 ประการ โดยหลักการและจนกว่ารัฐสภาไทยจะรับรองข้อเรียกร้องดังกล่าวเสียก่อน
เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2556 ฝ่ายไทยได้ขอคำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง 5 ประการ หลังจากนั้น ฝ่ายนักต่อสู้ (บีอาร์เอ็น) ก็ได้ส่งคำอธิบายในเอกสาร 38 หน้าผ่านผู้อำนวยความสะดวก เป็นอีกครั้งหนึ่งที่น่าเสียดายคือ ฝ่ายไทยใช้เวลานานเกินไปกว่าจะให้คำตอบ ทั้งๆ ที่บรรยากาศในภาคใต้ยังไม่มีความแน่นอน และความวุ่นวายทางการเมืองในกรุงเทพฯ ก็เริ่มก่อตัวขึ้น หนังสือตอบรับจากหัวหน้าคณะพูดคุยฝ่ายไทยซึ่งลงวันที่ 25 ตุลาคม 2556 ก็ระบุเพียงว่า “ข้อเรียกร้องเบื้องต้น 5 ประการนั้นเป็นสิ่งที่พอยอมรับได้ในการอภิปรายต่อจากนี้”
คำตอบดังกล่าวหาใช่เป็นสิ่งที่ฝ่ายนักต่อสู้คาดหวังไว้ เพราะไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนเป็นการเฉพาะเจาะจงว่าจะยอมรับข้อเรียกร้อง 5 ประการ “โดยหลักการ” เพื่อให้มีการอภิปรายในลำดับต่อไป ซ้ำร้าย ข้อเรียกร้องดังกล่าวนั้นยังไม่ได้รับการยอมรับเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ ซึ่งก็คือรัฐสภาไทยนั่นเอง ถ้าหากว่าข้อเรียกร้อง 5 ประการไม่ได้รับการยอมรับ “โดยหลักการ” เพื่อการพูดคุยในครั้งต่อๆ ไปแล้ว สิ่งที่น่าวิตกกังวลสำหรับพวกเรา ก็คือข้อเรียกร้องแต่ละข้อนั้นจะถูกปฏิเสธโดยฝ่ายไทยในที่สุด นอกจากนี้ หากข้อเรียกร้องยังไม่ได้รับการรับรองจากรัฐสภาและเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในอนาคต คงจะเป็นปัญหาสำหรับการดำเนินการการพูดคุยอย่างแน่นอน
ทุกท่านครับ
ทุกวันนี้ มีหลายคนพูดกันว่า กระบวนการสันติภาพกัวลาลัมเปอร์ประสบความล้มเหลวแล้ว เพราะมีความขัดแย้งทางการเมืองที่กรุงเทพฯ ซึ่งยังไม่มีจุดจบ และมีการประกาศจากหัวหน้าคณะพูดคุยบี อาร์เอ็น อุสตาซ ฮัสซัน ตอยิบ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2556 ผ่านคลิปยูทูบว่าท่านจะ “ถอนตัว”
เราไม่ควรลืมว่ากระบวนการดังกล่าวนี้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ และจนถึงบัดนี้ ยังไม่มีฝ่ายใดที่ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะถอนตัวออกจากกระบวนการนี้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐไทย ฝ่ายนักต่อสู้ (บีอาร์เอ็น) หรือมาเลเซียเองก็ตาม ด้วยเหตุนี้ กระบวนการสันติภาพจึงถือว่า “ยุติลงชั่วคราว” ตามสาเหตุบางอย่างที่ทุกคนทราบกัน แต่จะมีการเริ่มใหม่ในเมื่อทุกฝ่ายสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคทั้งหมดลงไปได้
ฝ่ายนักต่อสู้ยังคงมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในกระบวนการสันติภาพดังกล่าวผ่านคณะพูดคุยชุดปัจจุบัน ในอนาคต คณะผู้แทนจากฝ่ายนักต่อสู้ค่อยๆ ได้รับการยกระดับด้วยการเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชาวปาตานีทุกกลุ่ม ซึ่งจะเป็นที่รู้จักในฐานะประชาคมเชื้อชาติมลายูปาตานี
พวกเราหวังว่าจะมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวของประชาชนที่มาจากทุกชนชั้น ทุกอาชีพ ทุกภูมิหลัง ทุกเชื้อชาติและทุกศาสนาในปาตานี เพื่อสร้างความเข้าใจว่า สันติภาพเป็นสิ่งที่ดีงามต่อชาวปาตานีทุกคน พวกเราหวังว่ากิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และองค์กรประชาสังคม (CSOs) ทุกกิจกรรมมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนกระบวนการสันติภาพ โดยไม่ถูกสกัดกั้นหรือได้รับการขัดขวางจากฝ่ายใด
พวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามหลักการประชาธิปไตย โดยให้โอกาสและพื้นที่แก่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงความต้องการอันแท้จริงของพวกเขา โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความรุนแรงเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง หรือแม้แต่การพูดถึง “เอกราช ” ก็ตาม เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลสำหรับรัฐบาลใดๆ ก็ตามที่จะเผชิญหน้ากับประชาชนของตนเองด้วยคำพูดและความคิดมากกว่ากระสุนปืนและระเบิด ทั้งยังเป็นเรื่องที่ชาญฉลาดกว่าหาก เราจะเริ่มพูดคุยเรื่องสันติภาพ ณ วันนี้ ถึงแม้ว่าการพูดคุยนั้นต้องใช้เวลา 10 ถึง 15 ปี ก็เป็นการดีกว่าต่อสู้กันโดยใช้ความรุนแรงไปอีก 20 ถึง 30 ปี ก่อนที่เริ่มพูดคุยสันติภาพ
ณ โอกาสนี้ พวกเราขอเรียกร้องให้เปิดโอกาสสำหรับ “ผู้ที่มีความคิดเห็นและอุดมการณ์ที่แตกต่างไปจากรัฐ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดานักต่อสู้ปาตานีให้ได้รับการต้อนรับอย่างปลอดภัยสำหรับการเดินทางมาปาตานี เพื่อพบปะและพูดคุยกับประชาชนของเราและสาธารณชนชาวไทยโดยทั่วไปด้วย เราหวังว่าสักวันหนึ่งนักต่อสู้ปาตานีจะได้เกียรติให้กล่าวถ้อยแถลงต่อประชาชนทั้งประเทศในรัฐสภาไทยว่าที่จริงแล้ว พวกเราแสวงหาความยุติธรรม เสรีภาพ และสันติภาพ
พวกเราขอจบคำปราศรัยในวันนี้โดยอ้างคำกล่าวของอดีตประธานองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ ( PLO) นายยัสเซอร์ อาราฟัต ณ องค์การสหประชาชาติในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2517 ว่า:
“ในวันนี้ ผมมาที่นี้ ผมได้นำเอากิ่งไม้มะกอกและปืนของนักต่อสู้เพื่อเสรีภาพมาด้วย อย่าให้กิ่งไม้มะกอกนั้นหลุดพ้นจากมือของผมไป”
และสุดท้าย ท่านก็ได้กล่าวอีกว่า
“สงครามนั้นปะทุขึ้นที่ปาเลสไตน์และที่ปาเลสไตน์นี่เองที่สันติภาพจะก่อเกิดขึ้น”
ในทำนองเดียวกัน ณ วันนี้ พวกเราขอจบด้วยถ้อยคำว่า:
“Hari ini kami datang membawa BUNGA RAYA sebagai simbol kedamaian, tanpa membawa senjata. Perang juga telah meletus di Patani, dan di Patani juga akan lahir kedamaian sesuai dengan gelarannya PATANI DARUSSALAM”
“วันนี้ เรามาพร้อมดอกชะบาซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ โดยไม่พกพาอาวุธใดๆ สงครามได้ปะทุขึ้นที่ปาตานี และที่ปาตานีนี่เองที่สันติภาพจะก่อเกิดขึ้น สมฉายานามปาตานี ดารุสลาม (ปาตานี ดินแดนแห่งสันติภาพ)”
ขอให้สันติสุขจงมีแด่ท่าน
ขอขอบคุณครับ
อาบูฮาฟิซ อัลฮากิม
(จากนอกรั้วปาตานี – ในฐานะเป็นผู้แทนนักต่อสู้ปาตานีบนโต๊ะพูดคุย)
28 กุมภาพันธ์ 2557
—————————————————
Speech for PEACE MEDIA DAY FESTIVAL (PPP-101) – 28 Feb 2014
In the name of ALLAH, the Most Merciful, the Most Compassionate
Mr. Chairman
Distinguished guests and speakers
Ladies and gentlemen
Assalamualaikum, peace be upon you
We wish to thank the organizer for providing space and opportunity for Patani fighters to voice their opinion on the Peace and Media Day Festival today at this prestigious venue.
It is incomplete for this important gathering if the voice of the Patani fighters is not heard. We have been striving for years, with sweat and blood, to defend the dignity of our race ,faith and land of Patani Malay people.
We would like to remind the audience that the Patani conflict is not just 10 years old. Rather, it is an ongoing political, historical and social conflict of more than 200 years. This means that the hardships and sufferings endured by the Patani Malays under Thai colonialism is much longer and more painful than the sufferings of other ethnics of Patani, especially the Thai Buddhists since 2004. We fight against the Thai colonialism, while the Thai people are NOT our enemies.
It also need to be reminded that we chose armed struggle because in the past the Thai state never listened to the peoples’ plight. Our past leaders who fought through the Parliament or Human Rights petitions were often subjected to arrest or imprisonment. Some were even murdered or went into exile. Sadly, the similar situation still exists today.
Ladies and gentlemen
The involvement of Patani fighters in peace process is not new. Prior to the current Kuala Lumpur Peace Process we have entered into other processes, unofficially, brokered by certain governments and the NGOs. However those mentioned processes ended as soon as they started. Just to mention a few names like : Geneva, Bogor, Langkawi etc. , as a reminder of any process that has not been well-planned nor organized will eventually fail. The Kuala Lumpur Peace Process will meet the same fate if the problems and the weaknesses of the previous processes are not addressed.
Previous peaces processes were done in secrecy with questionable authority and representation. Both sides came to the table with different agendas. While the fighters’ aim was to gauge the sincerity and commitment of the Thai State to solve the conflict, the Thais came, apart from intelligence gathering, to seek ways to end violence and at the same time to find out how much control the fighters’ representatives have over the militants on the ground. There was no recognition of the fighters, thus they were still considered as terrorists.
The KL Peace Process is a little different. Whatever controversies that aroused at the beginning, it was open, with prior official acknowledgement by the then Prime Minister Yingluck Shinawatra, a high level representation from the Thais (The Secretary General of National Security Council) and Malaysia as the Facilitator. The fighters are referred to as “people who have different ideologies and opinions from the state” with Ustaz Hassan Taib of the BRN (Barisan Revolusi Nasional) as their representative. This is the first time a peace process for Patani is considered official and well-accepted by the regional and international communities.
Although the fighters were “tied-up” with the framework of Thai Constitution in the “General Consensus on Dialogue Process” signed on 28 February 2013, we still come to the table to seek alternative means, other than armed struggle, for a JUST, COMPREHENSIVE and SUSTAINABLE solution of the Patani conflict. We believe that through dialogues and negotiations, violence can be reduced or even stopped entirely, which will eventually lead to determination of the future status of Patani.
There are amongst us those who are skeptical of the KL Process, especially when it was rumored that the person who has severed the hearts and minds of Patani people in the Kresik and Tak Bai tragedies, the former Thai Prime Minister, was involved. Nevertheless, we accepted the initiative because Islam has taught us to accept an offer for peace even from an enemy. As quoted in the Holy Quraan : When they(the enemy) inclines towards peace, thou shall accept it and rely upon Allah. He is the most Hearing and Knowing – from Chapter Al Anfal verse No. 61. We stepped in while some others were still in doubt and chose to wait and see.
In the initial meetings of the process (first on 28/3/13 and second on 29/4/13) the discussions were on basic matters pertaining to the peace dialogue. There was no negotiation nor any offer whatsoever as rumored. The early stage should be concentrated on confidence building for both sides, in secrecy. But what happened was that the Thai media started to “sound the horn” of criticism, assumptions, accusations and biased reporting. The Thai delegation also frequently issued “over- stated” comments before and after a meeting. The Thai leaders indiscriminately expressed their views exposing disunity amongst them . This situation not only failed to push the process forward but also putting it at stake.
In view of unclear road map for the process, on 27/4/13 the BRN posted a video clip over YouTube the 5 Preliminary Demands in order to put the process on the right tract. The said demands were later proposed on the dialogue table at the official meeting of 29/4/13.
The Thais were also perceived as only wanted the militants to end or reduce violence. This became clear in the subsequent meeting on 13/6/13 when they proposed a limited ceased-fire in the coming month of Ramadhan. The BRN spontaneously responded with a greater offer adding a few more demands.
Ladies and gentlemen
We are all aware of the outcome of the “Ramadhan Peace Initiative”. We have learnt a great lesson that any initiative has to be meticulously planned, discussed, scrutinized and mutually agreed by both sides before implementation.
We have observed many weaknesses in this initiative. It was prematurely planned in a hurry prior to the confidence building measures. There was no mutual planning nor discussion. The announcement made by the Facilitator lacked the full support of the conflicting parties regarding the terms and regulations mentioned in the 7-page “Terms of Ramadhan Peace Initiative 2013”. There was neither official agreement nor signing pact, thus any party could violate the terms any time. There was neither referee nor neutral monitoring team in the field to determine the violators. Most of all there was no adequate information made to the public regarding the terms and regulations, protective measures and complaints in case of violation by any party.
The most distressful incidences were the extrajudicial killings of activists or those accused in the security- related cases in the first week of Ramadhan. This prompted the BRN to suspend its involvement in the talks. The message from The Shura Council was declared by the members of the BRN armed force via the You-Tube on 6 August 2013. Failure of the Thai side to conform to the terms and regulations contained in the mentioned document for the cease-fire that they initially proposed has led to total suspension of the official talks by the BRN until the 5 Preliminary Demands are principally accepted and endorsed by the Thai Parliament.
Towards the end of August 2013 the Thais requested detailed interpretation of the five demands, and BRN responded with a 38-page document through the Facilitator. Again, unfortunately, the Thais took an extended time to reply whereas the political situation in the South was unstable and the turmoil in Bangkok began to take shape. The reply letter from the Head of Thai delegation dated 25 October 2013 stressed that “The five Preliminary Demands are acceptable for further discussion”.
That reply however did not meet the expectation of the BRN because it did not specifically noted that the 5 Preliminary demands are principally accepted for further discussion, and neither was it endorsed by the Thai Parliament as proposed. We opined that if the five demands are not accepted principally, they could be rejected one by one by the Thais. The change of government could also affect the process if the demands are not endorsed as a National Agenda.
Ladies and gentlemen
The KL Peace Process is considered a failure and dead by many. It was based on the uncertainty of the Thai political crisis and the withdrawal of Ustaz Hassan Taib as the head BRN Delegation, as announced via the YouTube on 1 December 2013.
But we have to remember that the process was launched officially. Thus far there has been no official statement passed through the official channel of the withdrawal of any party from the process, be it from the BRN, the Thais or the Malaysian Facilitator. Therefore the process is thus considered as being “suspended” due to unfavorable circumstances on the respective sides and will recommence when all obstacles are cleared.
We, the Patani fighters, are indeed consistently committed in this process with the existing representatives. The participation of more members for inclusiveness will be upgraded from time to time and all those representing the Patani stakeholders will be known as The Patani Malay Community.
We would like to see the dissemination of information, discussions and active participation of the people of all walks of life, occupations, backgrounds, races and religions in Patani to understand and be convinced that peace is good for all. Activities of NGOs and CSOs towards supporting of peace should neither be hindered nor subjected to harassment.
We call upon the government of Thailand to adopt true democracy in providing space and opportunity for all people of Patani to freely voice their opinions in term of their genuine need for their own benefits in everyday life, without resorting to violence, for their Right to Self-Determination in future or even talking about “MERDEKA” (independence). It is sensible for any government to face its own people with words and ideas, rather than bullets and bombs. It is also prudent for us to discuss peace today for another 10-15 years rather than to continue fighting for 20-30 more years before starting a peace talk.
We request “people who have different ideologies and opinions from the State”, especially the Patani fighters, be safely welcomed into Patani to meet and talk to our people and to the general Thai public. We would wait for the day when a representative of Patani fighters be given the honour to speak in the Thai Parliament to all the people of Thailand that we genuinely seek JUSTICE, FREEDOM and PEACE.
Finally, we wish to quote the words of the former Leader of the Palestinian Liberation Organisation (PLO), Mr.Yasser Arafat at the United Nations on 13 November 1974 :
“Today I have come bearing an olive branch and a freedom fighter’s gun. Do not let the olive branch fall from my hand”
and he concluded :
“War erupted in Palestine, and in Palestine peace will be born”.
In a similar manner today, we wrap up by saying :
“Today we come unarmed, bearing a BUNGA RAYA as a symbol of PEACE. War has also erupted in Patani, and in Patani peace will be born, the land renown as PATANI DARUSSALAM, the Land of Peace.
Wassalamualaikum, peace be upon you
Thank you.
ABU HAFEZ AL HAKIM
(From outside the fence of Patani – representing the Patani Fighters on the dialogue table)
28 February 2014.
—————————————————
ที่มา : http://www.deepsouthwatch.org/node/5389