ทำไม เราต้องสนใจ สันติภาพชายแดนใต้ ?
เมื่อชาวเหนือจำนวนไม่น้อย สนใจมาร่วมพูดคุยเรื่องของสันติภาพชายแดนใต้ ในวงแลกเปลี่ยนที่ใช้ชื่อว่า “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้” เนื้อหาในวงนี้จึงน่าสนใจที่เราจะได้เรียนรู้ คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ สภาผู้เทนราษฎร ยกทีมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวเหนือและตั้งวงระดมความเห็นใน 5 เรื่องคือ การเมืองการปกครองที่อยากจะเห็น เศรษฐกิจการพัฒนา อัตลักษณ์วัฒนธรรม การศึกษา และความยุติธรรม เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2567 ที่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเป็น 1 ใน 6 เวทีที่จะรวบรวมความเห็นเสนอต่อรัฐสภา ประวัติศาสตร์ความขัดแย้ง ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “ผมคิดว่า เป็นปมเงื่อนของปัญหาการสร้างประวัติศาสตร์ไทยทำให้เกิดเขาวงกตของสถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ โดยถ้าเรามองแพทเทิร์นของการพัฒนาชาติตั้งแต่รัชกาลที่ 5 จนถึงรัฐบาลเศรษฐาไม่ได้ต่างกัน คือให้ต่างชาติมาช่วยสร้างความเจริญ การดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ สร้างอุดมการณ์เดียวกัน ดังนั้นไทยในรอบ 100 กว่าปี มีประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนน้อย ที่จริงในช่วงการปฏิรูปรัชกาลที่ 5 มีแรงต้านทั่วทั้งราชอาณาจักร ภาคเหนือ เช่น กบฏพญาผาบ กบฏเงี้ยว ภาคอีสาน เช่น กบฏผีบุญ … Continue reading ทำไม เราต้องสนใจ สันติภาพชายแดนใต้ ?
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed