เรียนรู้จากสิงคโปร์ สร้างคนด้วย Meritocracy

เรียนรู้จากสิงคโปร์ สร้างคนด้วย Meritocracy

IMG_19871

คอลัมน์: ไม่ใช้อารมณ์ เรื่อง: สุรินทร์ ปัทมาสศนุพงศ์ ภาพ: สิริกัญญา ชุ่มเย็น

Meritocracy คือหลักการบริหารที่เน้นความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า ระบบคุณธรรม (the merit system) ที่ไม่ได้หมายถึง ‘ศีลธรรมอันดี’ แต่คือระบบการคัดสรรคนเข้าทำงาน โดยยึดหลักความรู้ความสามารถในการทำงาน หรือโดยสรุปคือ เป็นระบบสังคมที่เชื่อการสำเร็จด้วยตนเองไม่ใช้สิทธิพิเศษทางชนชั้น โดยแนวคิด ความเสมอภาค (Equality) ความสามารถ (Competence) ความมั่นคง (Security) และความเป็นกลางในทางการเมือง (Political neutrality)

ในบรรดาประเทศแถบอาเซียน สิงคโปร์กลายเป็นรัฐสมัยใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคน โดยใช้หลัก Meritocracy นี่ถือเป็นแนวคิดหลักทางการเมือง และวาระสำคัญของการศึกษาระดับชาติ

We must uphold meritocracy and incorruptibility” เพราะถือเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงศักยภาพตามความสามารถของตนอย่างเต็มที่

เมื่อเรื่องนี้กลายเป็นแนวคิดหลักของชาติ สิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อการศึกษาอย่างมาก เพราะถือว่าทรัพยากรบุคคลมีค่ามากที่สุด จึงทุ่มงบประมาณอย่ามหาศาล มอบโอกาสที่เท่าเทียมกันในด้านการศึกษาเพื่อให้คนได้พัฒนาความรู้ความสามารถตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก

มีหลักสูตรให้เลือกตามความสามารถ และความสนใจในระดับมัธยมศึกษา ทั้งหลักสูตรพิเศษ (Special Course) หลักสูตรเร่งรัด (Express Course) หลักสูตรปกติ  (Normal Course) โรงเรียนแทบทั้งหมดเป็นของรัฐบาล ส่วนเอกชนมีแค่ในระดับอนุบาล และโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น ปัจจุบันคุณภาพการศึกษาของสิงคโปร์ดีที่สุดในอาเซียน

ด้วยเหตุผลที่ว่าประเทศสิงคโปร์มีพื้นที่เพียงแค่ 647ตารางกิโลเมตร มีทรัพยากรจำกัด มีความต่างทางพหุวัฒนธรรมที่หลากหลายทั้ง จีน มาเลเซีย อินเดีย ฯลฯ จึงมีการกำหนดให้ใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารแทบทุกระดับ

แนวคิดของ Meritocracy จึงถูกใช้ประสานความหลากหลายในชาติ เปิดโอกาสอย่างเท่าเทียมในการเรียนรู้  เพื่อช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเชื่อกันว่าความก้าวหน้าในสังคม ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคลตามประสิทธิภาพการทำงาน  นอกเหนือจากนี้ ในระดับการเมืองเองก็ยึดตามหลักการนี้เช่นกัน

เมื่อพูดถึง  Meritocracy สิ่งที่ตรงข้ามกับระบบนี้คือ Patronage system  หรือระบบอุปถัมภ์ ที่ใช้วิธีการคัดเลือกคนเข้าทำงานโดยยึดตามความพอใจเป็นส่วนตัวเช่น ญาติพี่น้อง คนสนิท หรือพวกพ้อง โดยไม่ได้เน้นความรู้หรือความสามารถของบุคคลเป็นที่ตั้ง

ประเทศไทยมีการพูดถึงระบบอุปภัมถ์ที่ถูกใช้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการคัดเลือกคนเข้าทำงานในระบบราชการ จากการเปิดเผยของมูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา 10 ปีที่ผ่านมาของระบบข้าราชการไทย โดยสัดส่วนงบบุคลากรภาครัฐต่อจีดีพีของไทยอยู่ประมาณ 7% สูงกว่าประเทศมาเลเซีย (6%) ฟิลิปปินส์ (5%) และสิงคโปร์ (3%)” มีงบประมาณเพิ่มขึ้น 3 เท่า ซึ่งมีจำนวนบุคลากรเพิ่มขึ้นเกือบ 50%

หมายถึงงบประมาณและทรัพยากรคนถูกใช้อย่างมหาศาล แต่ผลลัพธ์การทำงานกลับตรงกันข้ามเพราะ ประสิทธิภาพของภาครัฐแย่ลง  การเกื้อหนุน ผันงบประมาณ เพิ่มจำนวนคนในวงจรระบบอุปถัมภ์ยิ่งถูกใช้มากเท่าไหร่ ความสามารถหรือประสิทธิภาพในการทำงานย่อมลดลงเท่านั้น

IMG_18161

บทความของ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน เคยกล่าวถึงระบบอุปภัมถ์ ในเรื่อง ‘สังคมของความสามารถระดับกลาง’

คือไม่ว่าเป็นระบบการเมือง การบริหารภาครัฐคือระบบราชการ ระบบทหาร ระบบธุรกิจที่เป็นรูปแบบครอบครัว จะมีระบบอุปถัมภ์เป็นแกนหลัก และเนื่องจากระบบอุปถัมภ์ไม่สามารถคัดสรรตัวบุคคลบนพื้นฐานของความรู้ความสามารถ หรือระบบคุณธรรมได้อย่างเต็มที่ ความเสื่อมขององค์กรย่อมจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์ที่สังคมเปิดกว้างขึ้น มีการแข่งขันจากต่างชาติและบรรษัทข้ามชาติ สังคมที่มีการบริหารโดยคนมีความรู้ระดับกลางจึงไม่สามารถทนต่อการแข่งขันได้ และนี่เป็นสิ่งที่ต้องมีการพิจารณาอย่างจริงจังเพราะอาจจะส่งผลต่ออนาคตของประเทศชาติได้

ในรัฐไทย ปัญหาส่วนหนึ่งคือรัฐไม่ได้เชื่อในความสามารถของบุคคลโดยพื้นฐาน ไม่ต้องการส่งเสริมคนให้มีประสิทธิภาพ แต่จำกัดแค่ในเฉพาะกลุ่ม ข้อสังเกตที่เห็นชัดคือการศึกษาไทย ที่นอกจากปัญหาเรื่องหลักสูตร คุณภาพการเรียนการสอนแล้ว อีกส่วนหนึ่งคือ ‘ความเหลื่อมล้ำ’ เพราะการเข้าถึงการศึกษาทั้งทรัพยากร บุคลากร สิ่งแวดล้อม ยังคงผูกขาดแค่ในกลุ่มชนชั้นสูงและชนชั้นกลางเมือง ไม่แปลกใจที่สถิติเด็กไทยที่คว้าเหรียญโอลิมปิกวิชาการ หรือเด็กที่ได้คะแนนแอดมิชชั่นสูงที่สุดของประเทศ ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มคนเหล่านี้

เปรียบเทียบการสร้างคนของสิงคโปร์ มีความแตกต่างอย่างสูง เพราะรัฐทุ่มทรัพยากรการศึกษาอย่างมหาศาลโดยต้องการให้ทุกคนมีโอกาสอย่างเท่าเทียมในการเลือก และพัฒนาศักยภาพความสามารถของตนเอง ภายใต้ความเชื่อ Meritocracy ขณะที่สังสังคมไทยต้องมาเจอกับการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมตั้งแต่เริ่มต้น(การศึกษา) อีกทั้งยังมาเจอกับกำแพงอย่างระบบอุปถัมภ์ ความพ่ายแพ้จึงตกอยู่ที่คนตัวเล็กตัวน้อย

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ