“ลางบอกเหตุจากธรรมชาติ” ภูมิปัญญาท้องถิ่นบอกเหตุ

“ลางบอกเหตุจากธรรมชาติ” ภูมิปัญญาท้องถิ่นบอกเหตุ

“ธรรมชาติ”  เป็นลางบอกเหตุได้จริงหรือ??  อาจจะเป็นคำถามที่หลายๆคนนั้นยังสงสัยอยู่ ว่าธรรมชาติชาตินั้นจะเป็นลางบอกเหตุได้อย่างไร  แต่เมื่อเราลองสังเกตธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเรา สังเกตสัตว์ สังเกตสิ่งแวดล้อมต่างๆ  เราก็จะพบว่าธรรมชาตินั้นสามารถเป็นลางบอกเหตุได้

โรงเรียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา  ได้จัดเสวนาในเรื่อง “ลางบอกเหตุจากธรรมชาติ”  โดยมีวิทยากรผู้ถ่ายทอดเรื่องราว ได้แก่ พระครูอดุลสีลกิตติ์  เจ้าอาวาศวัดธาตุคำ , อาจารย์สนั่น ธรรมธิ  วิทยากรด้านศิลปวัฒนธรรมและล้านนาคดี และ พ่อพะติจอนิ โอ่โดเชา ครูภูมิปัญญา  ซึ่งได้จัดขึ้นในวันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา

โดยท่านพระครูอดุลสีลกิตติ์  เจ้าอาวาสวัดธาตุคำ  ท่านได้บอกถึงลางธรรมชาตินั้นว่า “ในล้านนาของเรานั้น  คำว่า “ลาง” นั้นหมายถึง  สิ่งที่จะทำนายเหตุหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งลางนั้นอาจจะมี 2 อย่าง คือ ทำนายเหตุไปในทางที่ดี หรือที่รัยกว่าลางดี  ถ้าหากว่าทำนายไปในทางที่ไม่ดี ก็จะเรียกว่าลางร้าย ลางร้ายกับลางดี  ทั้งสองอย่างนี้ อาจเกิดจากสิ่งที่มีในธรรมชาติของเรา หรืออาจจะเกิดจากสัตว์  หรือสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เป็นลางบอกเหตุได้ทั้งสิ้นอย่างเช่น ดิน ฟ้า อากาศ  ยามหนาวไม่หนาวกลับกลายเป็นร้อน   ยามร้อนฝนก็ตก มืดเจ็ดวันเจ็ดคืน บางครั้งก็บดบังแสงอาทิตย์  ไม่เห็นแสงอาทิตย์ แต่กลับเห็นแสงดาว เช่นนี้ก็เรียกว่าลางที่จะบอกเหตุ  แต่ว่าจะบอกเหตุร้าย หรือเหตุดีนั้น แต่ส่วนมากจะบอกไปในทางเหตุร้าย และลางร้าย  ก็จะเรียกว่าอุบาทว์ ซึ่งอุบาทว์เป็นคำล้านนาและเป็นคำไทยทั่วไป  และอุบาทว์นั้นในตำราตำราอุบาทว์นั้นแบ่งออกเป็น 8 ประการ  ได้แก่ พระอินทร์อุบาทว์   พระยมอุบาทว์   พระนารายณ์อุบาทว์   พระเพลิงอุบาทว์  พระพายอุบาทว์  พระสงฆ์อุบาทว์  พระไพรศกอุบาทว์ และพระวรุนต์อุบาทว์”

ในทางด้านของพ่อพะติจอนิ  โอ่โดเชา ครูภูมิปัญญา   ซึ่งเป็นชาวชนเผ่าปกากะญอ ได้บอกไว้ว่า “ ความเชื่อของปกากะญอ  นั้นมีความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับผีครอบครัว และความเชื่อเกี่ยวกับฤๅษี  หรือผีเจ้าป่า เป็นต้น   ความเชื่อต่างๆเหล่านี้มันสอดคล้องกัน จนบางทีแยกไม่สามารถแยกออกกันได้  และปกากะญอนี้ชอบบวชเป็นพระเยอะ   และจะใช้การวิธีการเรียนรู้จากการบวชเป็นพระ เช่น มาเรียนรู้วิธีส่งเคราะห์ในแบบล้านนาจากคนในเมือง  แล้วนำไปปรับใช้ในหมู่บ้าน”

ซึ่งชาวฝั่งปกากะญอได้สังเกตลางบอกเหตุต่างๆจากธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเอง  ไม่ว่าจะเป็นการทำรังของสัตว์ การเจริญเติบโตของพืชผลต่างๆที่อยู่รอบตัว  เป็นต้น

และอาจารย์สนั่น ธรรมธิ วิทยากรด้านศิลปวัฒนธรรมและล้านนาคดี  ได้บอกถึงลางบอกเหตุที่เกิดจากสัตว์ ที่มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม
“สำนวน ตัดหางปล่อยวัด  ซึ่งทางไทยได้มีกฎมนเทียรบาลไว้เลยว่า ถ้าหญิงใดทะเลาะ เบาะแว้งกันและกัน  เกิดการลงไม้ลงมือ ให้นำไก่ออกไปปล่อยในนอกพระราชฐาน และตัดหาง โดยที่ใครเห็นไก้นั้นโดนตัดหางจะไม่กินไม่ฆ่า  ถ้าเกิดกินหรือฆ่าไก่ตัวนั้น เคราะห์ก็จะเข้ามาในตัวของคนที่ฆ่า ถึงแม้ว่าจับไปขาย  ก็จะเข้าตัวผู้ที่กระทำอยู่ดี  แต่ในหมู่บ้านเรานั้นถ้าเกิดเห็นสัตว์ที่มีอาการแปลกประหลาด  จะปล่อยออกไปก็กลัวโดนฆ่า แล้วจะไม่ได้กินอะไร จึงได้เอาไปปล่อยในวัด  และไก่ที่ถือว่าเป็นไก่ขึด หรือไก่ที่มี่ออกกิริยาขึ้นบ้าน  ซึ่งไก่ประเภทนี้ก็จะถูกเอาไปปล่อยวัด และไก่เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่ต้องตัดหาง  ซึ่งในธรรมชาติของไก่นั้น ทิศทางได้ดี แต่เมื่อใดที่ตัดหางมันออก  มันก็จะเสียทิศทาง คนในสมัยก่อน จึงนิยมให้ไก่เป็นคู่ๆ และตัดหาง  เพื่อที่จะให้ไก่นั้นลืมบ้านเก่าของมัน และการที่นำไก่ตัดหาง แล้วไปปล่อยในวัด  จึงได้เกิดสำนวน ตัดหางปล่อยวัดเกิดขึ้น คือการไม่สนใจดูแล ให้รับผิดชอบในตัวเอง ”

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ซึ่งมีการ บันทึกเสียงโดย ศูนย์ข่าวคนเมือง Kon Muang News คนเมืองเรดิโอ กลุ่มเครือข่ายสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งภาคพลเมือง

ถอดเทปการเสวนาโดย  นางสาวสกุณา อ่อนส่าง นักศึกษาฝึกงาน สำนักเครือข่ายสื่อภาคพลเมือง  พื้นที่ฝึกภาคเหนือ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ