บทสนทนาว่าด้วยเรื่อง ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานและแนวทางการรับมือ กับ นณณ์ ผาณิตวงศ์
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกมีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติของมันเอง เวลาพูดสัตวภูมิศาสตร์หรือการกระจายพันธุ์ของสัตว์ตามธรรมชาติ เวลาพูดถึงเอเลี่ยนสปีชีส์ไม่ได้พูดถึงพรมแดนของประเทศ ถ้าเอาปลาบึกที่อยู่ในแม่น้ำโขงมาปล่อยในแม่น้ำเจ้าพระยาก็นับว่าเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์เหมือนกัน ลักษณะภูมิประเทศแต่ละส่วนต่าง ๆ ของโลกซึ่งมีความแตกต่างกัน ทั้งสภาพภูมิอากาศ และพืชพรรณ ทำให้สิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการ การกระจายตัวตามธรรมชาติหรือเรียกว่า สัตว์ภูมิศาสตร์ (zoogeographical range) จึงมีสัตว์และพันธุ์พืชหลากหลายชนิดให้เราเห็นในปัจจุบัน โดยปกติแต่ละระบบนิเวศมีกลไกหรือวงจรทางธรรมชาติมันอยู่ เสมือนโปรแกรมหนึ่งที่ถูกตั้งค่าไว้อย่างดี แต่พอมีการรบกวนหรือสิ่งแปลกปลอมจากกิจกรรมของมนุษย์เข้าไปทำให้โปรแกรมนั้นรวนระบบนิเวศก็เช่นกัน นณณ์ ผาณิตวงศ์ ผู้หลงใหลในสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศและปลาน้ำจืดไทย ยังเป็นผู้ก่อตั้ง siamensis.org กลุ่มสาธารณะที่แชร์ความรู้ ธรรมชาติวิทยา ภาพถ่ายข้อมูลของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ของคนสนที่ใจสิ่งแวดล้อมมารวมตัวกัน มาขยายความเข้าในเรื่องสัตว์ต่างถิ่นหรืออีกชื่อ เอเลี่ยนสปีชีส์ ที่แนวโน้มในอนาคตจะมีเพิ่มขึ้นมาก อาจารย์นณณ์ ยกตัวอย่างปลาน้ำจืด จะถูกกำจัดขอบเขตด้วยทางไหลของน้ำ เช่น ปลาบึกจะเจอเฉพาะในแม่น้ำโขงที่เดียวในโลก หรือมีนกบางชนิดที่สามารถบินจากรัสเซียไปออสเตรเลียได้ ขณะเดียวกันก็มีนกบางชนิดที่เจอเฉพาะเขาหินปูนลูกเดียวเช่นแถวลาว หรือสระบุรี ดังนั้น เอเลี่ยนสปีชีส์จึงเกิดจากการนำสัตว์หรือพืชจากระบบนิเวศหนึ่งไปอีกระบบนิเวศหนึ่งโดยมนุษย์ หรือง่าย ๆ คือ มนุษย์นำเข้ามานั่นเอง แล้วเอเลี่ยนสปีชีส์ที่ว่ามันสร้างผลกระทบต่อสังคมเราหรือระบบนิเวศยังไง แล้วเมื่อมีตัวหนึ่งหลุดเข้ามาจะต้องรับมืออย่างไร เอเลี่ยนสปีชีส์ชื่อฟังดูน่ากลัว สำหรับอาจารย์มองการรับรู้ของคนทั่วไปเป็นอย่างไรบ้าง คุณชอบทานส้มตำหรือเปล่า รู้ไหม ส่วนประกอบทั้งหมดของเมนูส้มตำ พริก มะละกอ มะเขือเทศ กระเทียมทั้งหลายล้วนเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ทั้งหมด ทีนี้สิ่งมีชีวิตต่างถิ่น … Continue reading บทสนทนาว่าด้วยเรื่อง ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานและแนวทางการรับมือ กับ นณณ์ ผาณิตวงศ์
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed