จาก การวิเคราะห์ในส่วนของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ซึ่งเป็นแนวที่ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญว่าจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่ง ขันของไทย เนื่องจากจะทำให้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นทำให้สามารถลดต้นทุนการ ผลิตลง ได้คุณภาพสินค้าดีขึ้น หรือสามารถผลิตสินค้าใหม่ๆ ที่เข้ากับยุคสมัย เช่น เรื่องของสีเขียวหรือการได้ Carbon Credit เป็นต้น แต่เห็นภาพแล้วก็น่าท้อแท้ใจ เพราะอันดับที่ประเทศถูกจัดไว้ในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีก็คือ อันดับที่ 50 จาก 59 ประเทศคือพูดง่ายๆ ว่าอีก 8 ประเทศก็รั้งท้าย ด้านการศึกษาอยู่อันดับที่ 52 คืออีก 6 ประเทศก็รั้งท้ายเช่นกัน แต่ถ้ามาดูนโยบายการเงินการคลังไทยอยู่อันดับที่ 6 ซึ่งนับว่าดีมาก ซึ่งพอจะวิเคราะห์ได้ว่าประเทศไทยไม่ได้นาจุดแข็งด้านการเงินการคลังมาใช้ เพื่อวางรากฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี หรือแม้แต่ระบบการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
ผลผลิตและประสิทธิภาพของภาค ธุรกิจก็เช่นกัน ไทยเกือบรั้งท้าย คือ อยู่ที่อันดับถึง 57 ซึ่งถ้าพิจารณาประกอบกับตัววัดประสิทธิภาพทางธุรกิจที่เขาใช้ เช่น สภาวะแวดล้อมของประเทศว่าเอื้ออำนวยให้ธุรกิจและองค์กรต่างๆ ดำเนินงานได้อย่างสร้างสรรค์หรือไม่ ก็จะชี้ได้ว่าเห็นทีจะต้องปรับปรุงอีกมาก ยิ่งในภาวะที่จะเป็น AEC (ASEAN Economic Community) ที่ประเทศจะต้องเปิดมากขึ้น
เหลือเวลาอีกเพียง 1 ปีเศษ ประเทศไทยจะเข้าเป็นสมาชิก AEC ก็ต้องช่วยกันผลักดัน มองในแง่บวกรัฐบาลเองก็ตั้งเป้าไว้ว่าจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยและ พัฒนาให้เป็น 1% ของ GDP แผนพัฒนา 10 ปี ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ฯลฯ ฉบับแรกของไทย ที่เพิ่งผ่าน ครม.ไปเมื่อ ปีที่แล้ว ก็วางไว้ว่าจะเพิ่มกำลังคนที่จะทำการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเป็น 15 คนต่อประชากร 10,000 คน นอกจากนี้ยังจะมองว่าให้เอกชนลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ให้รัฐบาลลงทุน 30 เปอร์เซ็นต์ และในปัจจุบันนี้ เป็นรัฐบาลรักษาการซึ่งไม่แน่ใจว่างบประมาณในปี 2558 ที่ยังไม่มี่วี่แววในการจัดตั้งเพราะไม่มีรัฐบาลที่จะทำการร่วงงบประมาณ ประจำปีเลยเนื่องจากเป็นรัฐบาลรักษาการ มิหนำซ้ำยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ที่จะมารับรองงบประมาณ ปี 2558 เพื่อส่งต่อไปยังวุฒิสภาเลยครับ
ไทยจะ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเข้าร่วมกับการเป็นสมาชิก AEC ในทุกด้าน ทั้งด้านการศึกษา และด้านอื่น ๆ ทั้งหมด ประเทศไทยเคยเป็นผู้นำของกลุ่มประเทศใน อาเซียน มาก่อนแต่ตอนนี้ไม่แน่ใจนักว่าจะยังเป็นอยู่หรือไม่เพราะทุกประเทศเขาก้าวไป ข้างหน้าส่วนประเทศไทยเรากลับยืนอยู่กับที หรืออาจเรียกได้ว่าถอยหลังเข้าคลองก็ได้เพราะคนอื่นเขาไปข้างหน้ากันหมดแล้ว ส่วนประเทศไทยเรายังทะเลาะกันไม่เลิก ผมจึงอยากจะขอวิงวอนให้ทุกฝ่ายหยุดทะเลาะกัน หันหน้าเข้าหากันเจรจากัน เลิก เอาดีใส่ตัว เอาชั่วให้เพื่อน หยุดสร้างภาพ หยุดทำร้าย และทำลายประเทศเสียทีเถิด หากไม่หยุดจะมีกลุ่มประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการทะเลาะแบบไม่เลิกจะรวมตัว กันก้าวออกมาต่อต้านการไม่หยุดการชุมนุม ของกลุ่มการมเองต่าง ๆ น๊ะครับ
ปรีชา ตรีสุวรรณ
อดีตกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร
ผู้ชำนาญการค้า การลงทุนในต่างประเทศ