ปลาหมอคางดำ สัตว์น้ำต่างถิ่น ตอนนี้อยู่ที่ไหน ?

ช่วงปีที่ผ่านมา สภาเกษตรกรจังหวัดสมุทรสาครได้รับเรื่องร้องเรียนจากเกษตรเกี่ยวกับการระบาดของปลาหมอคางดำที่กระทบต่อการประกอบอาชีพของเกษตรการผู้เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง วันที่ 19 สิงหาคม 2566 จึงลงพื้นที่สำรวจ เนื่องจากปลาหมอสีคางดำ (ชื่อตามเอกสารราชการของกรมประมง กันทั่วไปว่าปลาหมอคางดำ) เข้าไปในบ่อเลี้ยงและแย่งกินอาหาร ทำให้ไม่ได้รับผลผลิตหรือได้ผลผลิตน้อยลง และจะมีผลกระทบต่อสัตว์น้ำพื้นถิ่นที่จะมีจำนวนลดลงและหายไปในอนาคต  ทีมงานสำนักเครือข่ายฯ ไทยพีบีเอส ได้ทำแบบสำรวจการระบาดของปลาหมอคางดำ (ปลาหมอสีคางดำ) ในประเทศไทยโดยให้คนในพื้นที่ที่พบเจอปลาหมอคางดำในน่านน้ำใกล้บ้านปักหมุดรายงานเข้ามาใน C-Site พบว่า ตั้งแต่พื้นที่ระยอง จันทบุรี ชลบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ไปจนถึงราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พบปลาหมอคางดำเข้ามาบุกรุกในพื้นที่น่านน้ำใกล้บ้านใกล้ที่ทำกินเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณอ่าวไทยและอ่าวตัว ก  จากการสำรวจพื้นที่บริเวณอ่าวมหาชัยพบว่าประมงชายฝั่งพบปลาหมอคางดำเข้ามาในพื้นที่เยอะมาก ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และปลาท้องถิ่นจะค่อย ๆ สูญพันธุ์หากไม่มีการแก้ปัญหานี้ ชาวประมงเล่าว่า ปลาหมอคางดำระบาดหนักเต็มทุกพื้นที่ในทะเลรวมไปถึงพื้นที่ทำกิน ปลาหมอคางดำกินปลาที่เป็นปลาพื้นถิ่นเกลี้ยงหมด ไม่ว่าจะเป็นกุ้งหรือปลา ตัวเล็กตัวใหญ่ไม่เหลือเลย  ปกติล้อมอวนเพื่อจะจับปลากระบอกซึ่งเป็นปลาพื้นถิ่นที่เคยจับมาตลอด แต่ช่วงหลัง ๆ ปีที่ผ่านมา จับปลากระบอกได้น้อยลงแต่สิ่งที่ได้กลับมาแทนคือปลาหมอคางดำที่นับวันก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว นิค ชาวประมงพื้นบ้านอ่าวมหาชัย นอกเหนือจากการที่จับได้แต่ปลาหมอคางดำแล้ว ปลาหมอคางดำยังทำให้อวนของชาวประมงขาดรุ่ยเละเทะ เนื่องจากอวนของประมงพื้นที่มีความบางและไม่ได้เหนียวถ้าเทียบกับประมงเรือใหญ่ เนื่องจากประมงพื้นบ้านจับปลาในน่านน้ำใกล้ตัวเองเท่านั้นและอวนชนิดนี้มีความสามารถจับปลาได้เพียงตัวไม่ใหญ่มากเนื่องจากอวนชนิดนี้ชาวประมงเอาไว้จับปลากระบอกเท่านั้น แต่ปลาหมอคางดำมีตัวใหญ่  เกินกว่าขนาดของอวน เมื่อได้ปลาหมอคางดำติดอวนมาก็จะทำให้อวนชำรุด … Continue reading ปลาหมอคางดำ สัตว์น้ำต่างถิ่น ตอนนี้อยู่ที่ไหน ?