แพะกับวิถีมุสลิม
สำหรับชาวมุสลิมแล้วแพะเป็นสัตว์ที่คุ้นเคยมากโดยเฉพาะในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส แพะมีความสัมพันธ์กับชาวมุสลิมในมิติทางศาสนา อิสลามผ่านพิธีกรรมต่างๆ
ดลวาหาบ มะแอ เกษตรกรเลี้ยงแพะจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า แพะเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แพะเป็นสัตว์ที่จำเป็นต้องบริโภค เพราะใช่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนาเช่น การทำกรุบ่าน การงานบุญต่างๆ
การกรุบ่านคือการพลีสัตว์เพื่อเป็นทานแบ่งปันอาหารแก่คนยากไร้และญาติพี่น้องส่วนการทำอะกีเกาะฮฺ จะเชือดแพะหลังมีการคลอดทารกก่อน7วัน มุสลิมมีความสัมพันธ์เชิงศาสนากับแพะ
นอกจากนี้แล้ว อุสมาน ราษฎรนิยม อาจารย์ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ.ปัตตานี บอกกับเราอีกว่า เดิมที่ถ้ามุสลิมจะขอบคุณพระผู้เป็นเจ้า ก็จะใช่แพะสำหรับเป็นอาหาร โดยภาพรวมมุสลิมจะชอบเนื้อแพะ เพราะเนื้อแพะอุดมไปด้วยโปรตีนและอร่อย
จากการค้นคว้าข้อมูลในงานวิจัย เรื่องการเลี้ยงแพะตามวิถีมุสลิม : แนวทางสู่ความสำเร็จโดยคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อธิบายว่าการเลี้ยงแพะตามวิถีมุสลิม นั้นสำหรับการเลี้ยงจะต้องคำนึงถึงมีพื้น ซึ่งต้องมีเหมาะสม ผู้เลี้ยงมีน้ำและอาหารที่พียงพอต่อความต้องการของจำนวนแพะ และห้ามใช้สารปฏิชีวนะในการเลี้ยง เพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยหลักการเลี้ยงเช่นนี้คำนึงถึงแพะและผู้บริโภคเป็นหลัก
การเลี้ยงแพะตามแบบวิถีมุสลิม ดำรงอยู่ภายใต้ความเชื่อและหลักศาสนา ที่สะท้อนการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาระหว่างคนและสัตว์ แม้ผลสุดท้ายของการเลี้ยงคือการใช้ประโยชน์ แต่ระหว่างทางคือการให้ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างเอื้อประโยชน์
สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม: งานวิจัยการเลี้ยงแพะตามวิถีมุสลิม: แนวทางสู่ความสำเร็จ จากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ลิงค์: http://research.yru.ac.th/ejournal/index.php/journal/article/view/72/91