แพทย์ยืนยันแร่ใยหินเป็นสารก่อมะเร็ง เตือนใช้บัตรทองไม่ครอบคลุมโรคมะเร็งจากแร่ใยหิน

แพทย์ยืนยันแร่ใยหินเป็นสารก่อมะเร็ง เตือนใช้บัตรทองไม่ครอบคลุมโรคมะเร็งจากแร่ใยหิน

20140612142149.jpg

สช. กระตุกกระทรวงอุตสาหกรรมขีดเส้นตายแผนยกเลิกแร่ใยหิน แพทย์ยืนยันเป็นสารก่อมะเร็ง หวั่นพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น เตือนใช้บัตรทองไม่ครอบคลุมโรคมะเร็งจากแร่ใยหิน

งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ภายใต้ชื่องานว่า ‘เร่งเอเชียขจัดภัยใยหิน: หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และสังคม’ ที่โรงแรมเอเชีย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 โดย ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รอง อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเปิดงานว่า ปัญหาแร่ใยหินเป็นประเด็นที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องเชื่อมโยงองค์ความรู้จากหลายสาขา ทั้งวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสังคมและนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องของ ภาครัฐ รวมถึงการกำหนดนโยบายการจัดการแร่ใยหินของประเทศไทย

ช่วงหนึ่งมีการเสวนาในหัวข้อถอดบทเรียนการจัดการแร่ในยินในประเทศไทย เครือข่ายนักวิชาการด้านการแพทย์จากหลายองค์กรได้มีการเรียกร้องให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามยุทธศาสตร์สังคมไทยไร้แร่ใยหิน โดยนางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รอง เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า ที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเมื่อปี 2553 มีมติให้ยกเลิกแร่ใยหินเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 โดยวางกรอบยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยหยุดการนำเข้า การผลิต และจำหน่ายแร่ใยหิน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินภายในปี 2555 แต่ปัจจุบันผ่านมาแล้ว 2 ปียังไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุผลได้ เนื่องจากแต่ละกระทรวงไม่ได้ปฏิบัติตามมติ ครม. โดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะต้องยื่นแผนในการยุติการนำเข้าแร่ใยหิน รวมถึงต้องกำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการให้ชัดเจน

นางอรพรรณ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพ ไม่เพียงเกี่ยวข้องกับกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่ครอบคุลมถึงทุกหน่วยงานที่มีบทบาทในการดูแลควบคุมวัตถุอันตรายซึ่งต้อง คำนึงถึงสุขภาพของประชาชนเป็นหลัก รวมถึงต้องหามาตรการในการป้องกันปัญหาตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

“ตอนนี้เรามีแต่เสียงของผู้ใช้แรงงาน ผู้บริโภค กับเสียงของกระทรวงสาธารณสุขที่ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกแร่ใยหิน แต่ยังไม่มีเสียงสนับสนุนจากกระทรวงอุตสาหกรรม ฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนจะต้องออกมาช่วยกันทำให้สังคมไทยปลอดแร่ ใยหิน” รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าว

นางอรพรรณ กล่าวด้วยว่า ความท้าทายในการเคลื่อนไหวรณรงค์ให้มีการยกเลิกการใช้แร่ใยหินในประเทศไทย โดยเร็วที่สุดคือ ต้องผลักดันให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเชิงนโยบายกำหนดกรอบระยะเวลาและเป้าหมาย ที่ชัดเจน เพื่อให้เป็นไปตามมติ ครม.

ศ.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer: IARC) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ระบุว่าแร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ทั้งมะเร็งกล่องเสียง มะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด และมะเร็งรังไข่ โดยมีหลักฐานยืนยันทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ มีความเป็นกลาง และปราศจากผลประโยชน์

ศ.นพ.พรชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยได้มีการประชุมประจำปีที่โรง พยาบาลศิริราชและร่วมกันอภิปรายถึงอันตรายของแร่ใยหินมาโดยตลอด ซึ่งได้ข้อสรุปว่าประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องประกาศเลิกใช้แร่ใยหินโดยทันที เพราะมีหลักฐานต่างๆ ยืนยันเพียงพอแล้ว

รศ.นพ.กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ในประเทศไทยมีการรายงานจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดต่ำกว่าความเป็น จริงมาก ดังนั้น ระบบฐานข้อมูลทางการแพทย์ต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนหลังถึงประวัติการสัมผัสแร่ใยหินของผู้ป่วยได้

“แม้ว่ารายงานตัวเลขผู้ป่วยจะต่ำกว่าความเป็นจริง แต่ในอนาคตหากมีการจัดทำฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบมากขึ้น เชื่อว่าแนวโน้มในอนาคตจะตรวจพบผู้ป่วยโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดในประเทศไทยอีก จำนวนมาก”

ศ.นพ.สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ที่ประชุมขององค์กรด้านการแพทย์ 4 องค์กร เมื่อเดือนตุลาคม 2556 พบว่าสาเหตุที่ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคจากเหตุแร่ใยหินจำนวนน้อยราย เนื่องจากขาดความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ระหว่างแพทย์ทรวงอก รังสีวิทยา พยาธิวิทยา ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงขาดฐานข้อมูลผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสแร่ใยหิน ทำให้ยากลำบากในการวินิจฉัยโรค

ทั้งนี้ ศ.นพ.สุรศักดิ์ ระบุว่า ผู้ป่วยด้วยโรคเหตุจากแร่ใยหินจะไม่ได้รับการคุ้มครองในระบบหลักประกัน สุขภาพ หรือบัตรทอง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเอง ดังนั้น ภาครัฐจึงควรมีมาตรการรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วยการยุติการใช้แร่ใยหินทุกประเภท

ที่มา : noasbestos.org

20140612142205.jpg20140612142218.jpg

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ