อัมสเตอร์ดัม, 1 สิงหาคม 2557 – เรืออาร์กติก ซันไรส์ออกเดินทางจากท่าเรือเมืองเมอร์มังสก์ มุ่งหน้ากลับอัมสเตอร์ดัมแล้ว หลังจากถูกยึดไว้อย่างผิดกฎหมายนานมากกว่า 300 วัน จากการประท้วงอย่างสันติวิธีต่อต้านการขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติก
เรือตัดน้ำแข็งอาร์กติก ซันไรส์ถูกยึดไว้ตั้งแต่นักรณรงค์ปกป้องอาร์กติก 30 คน ถูกจับเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2556 โดยเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2557 คณะกรรมาธิการสืบสวนของรัสเซียได้แจ้งต่อกรีนพีซสากลว่า การยึดเรืออาร์กติก ซันไรส์นั้นถือเป็นโมฆะ โดยลูกเรือของกรีนพีซซึ่งนำโดยกัปตันแดเนียล ริซซอตติ ได้รับอนุญาตให้ขึ้นไปบนเรือได้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ซึ่งกัปตันใช้เวลา 3 สัปดาห์ในการซ่อมแซมเพื่อให้แข็งแรงพอที่จะออกทะเล หลังจากได้พบความผิดปกติบนเรือ
“เมื่อกัปตันและลูกเรือขึ้นไปบนเรืออาร์กติก ซันไรส์ ก็พบกับสภาพที่ย่ำแย่เพราะเรือไม่ได้บำรุงรักษามานานสิบเดือน ทั้งระบบนำทาง สื่อสารและความปลอดภัย ไม่ถูกรื้อถอนก็ถูกทำลาย” ไฟซา อูละห์เซน เจ้าหน้าที่รณรงค์ปกป้องอาร์กติก กรีนพีซสากลกล่าว “เรืออาร์กติก ซันไรส์กำลังมุ่งหน้าสู่อัมสเตอร์ดัม เพื่อการซ่อมแซมขนานใหญ่ ก่อนจะกลับมารณรงค์เพื่อปกป้องอาร์กติกจากการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเชลล์และก๊าซพรอม”
คาดว่าเรืออาร์กติก ซันไรส์น่าจะเดินทางถึงกรุงอัมสเตอร์ดัมในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ซึ่งนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมของกรีนพีซและผู้สนับสนุนพร้อมกับสมาชิกที่เคลื่อนไหวเพื่อปกป้องอาร์กติกทั้ง 30 คน จะร่วมต้อนรับเรือ ก่อนที่เรือจะเข้าสู่การกระบวนการประเมินสภาพเพื่อซ่อมแซมส่วนที่จำเป็น คณะกรรมาธิการสืบสวนสอบสวนของรัสเซียเพิ่งแจ้งต่อกรีนพีซว่าได้ขยายการสอบสวนคดีนักรณรงค์ปกป้องอาร์กติกทั้ง 30 คน ออกไปเป็นวันที่ 24 กันยายน 2557 เนื่องจากข้อกล่าวหาในคดีอาชญากรรมที่แจ้งต่อนักรณรงค์ปกป้องอาร์กติกทั้ง 30 คน ได้ตกไปแล้ว
“การเทียบท่าและยึดเรืออาร์กติก ซันไรส์ไว้อย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งการสืบสวนการรณรงค์ของนักรณรงค์ปกป้องอาร์กติกทั้ง 30 คน เป็นความพยายามที่ต้องการข่มขู่และระงับข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติก แต่มันทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น” อูละห์เซน ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกที่ร่วมเคลื่อนไหวปกป้องอาร์กติกทั้ง 30 คน และเคยถูกจองจำในรัสเซีย กล่าว “ผู้คนหลายล้านคนได้แสดงออกถึงการต่อต้านการคุมขังอย่างผิดกฎหมายที่กระทำต่อนักรณรงค์ปกป้องอาร์กติกทั้ง 30 คน ผู้คนหลายล้านคนเหล่านี้ทราบดีกว่า โลกกำลังร้อนขึ้นและน้ำแข็งในอาร์กติกกำลังละลาย และพวกเขาจะต่อต้านอย่างสันติต่อความพยายามขุดเจาะน้ำมันเพิ่มในอาร์กติกทั้งในรัสเซียและทั่วโลก”
ภาพเรืออาร์กติก ซันไรส์ขณะเดินทางออกจากท่าเรือเมืองเมอร์มังสก์
ภาพสภาพเรือขณะลูกเรืออนุญาตให้ขึ้นเรือและเริ่มทำความสะอาดและซ่อมแซม
สำหรับเรืออาร์กติก ซันไรส์เป็นเรือที่ใช้ในการรณรงค์ที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน ปริราซโลมนาย่าของบริษัทก๊าซพรอม เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2556 นักปีนสองคนพยายามแขวนป้ายขนาดเล็ก มีข้อความว่า “Save The Arctic” ที่ด้านข้างของแท่นขุดเจาะ ก่อนที่หน่วยจู่โจมของรัสเซียยิงปืนลงน้ำ ในบริเวณใกล้ตัวของนักปีน เพื่อเป็นการเตือนและบังคับให้คลายเชือก
อีกหนึ่งวันถัดมา เรืออาร์กติก ซันไรส์ถูกลากไปยังเมืองเมอร์มังสก์ นักรณรงค์ปกป้องอาร์กติก 28 คน และสื่อมวลชนอิสระอีก 2 คน ถูกจับด้วยข้อหาการกระทำการอันเป็นเป็นโจรสลัด ก่อนเพิ่มด้วยข้อหากระทำการอันเป็นอันธพาล นักรณรงค์ปกป้องอาร์กติกทั้ง 30 คน ถูกปล่อยตัวเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 ผู้ที่มิได้ถือสัญชาติรัสเซีย 26 คน เดินทางออกนอกประเทศในช่วงวันที่ 27 ธันวาคม 2556 ด้วยเหตุผลของมติเห็นชอบในกฎหมายนิรโทษกรรมของสภาดูม่าของรัสเซีย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2557 กรีนพีซสากลได้รับแจ้งว่า คณะกรรมาธิการสืบสวนสอบสวนของรัสเซียจะขยายการสอบสวนกรณีนักรณรงค์ปกป้องอาร์กติกทั้ง 30 คนไปถึงวันที่ 24 กันยายน 2557 เนื่องจากคดีอาชญากรรมที่แจ้งต่อนักรณรงค์ปกป้องอาร์กติกทั้ง 30 คน เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วเป็นอันตกไป
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 ศาลยุติธรรมนานาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเลได้สั่งให้รัสเซีย ปล่อยเรือ “โดยทันที” หลังจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ยอมรับเงื่อนไขวางเงินประกันมูลค่า 3 ล้าน 6 แสนยูโร และมีการวางเงินไปแล้วเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2556
เมื่อเดือนมีนาคม นักรณรงค์ปกป้องอาร์กติกทั้ง 30 คน ได้ยื่นคดีของแต่ละคนไปยังศาลยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่ละคนเรียกร้อง “เพียงค่าชดเชย” จากรัสเซีย และที่สำคัญ ถ้อยแถลงจากศาลอิสระระบุว่า การจับกุมในน่านน้ำสากลของหน่วยจู่โจมรัสเซียและการคุมขังตามลำดับนั้นล้วนผิดกฎหมาย
ศาลยุโรปมีสิทธิ์ที่จะยับยั้งรัสเซียเพื่อเป็นการลงโทษต่อความเคลือบแคลงที่นักรณรงค์ปกป้องอาร์กติกทั้ง 30 คนได้เผชิญมาเป็นเวลาหลายเดือนในรัสเซีย ขณะที่ถูกจองจำ พวกเขาต้องอยู่กับความกลัวว่าอาจติดคุกหลายปีจากคดีอาชญากรรมที่พวกเขาไม่ได้ก่อ ศาลยุโรปยังมีขอบเขตอำนาจในการตัดสินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยนชนที่กระทำโดยรัฐบาลรัสเซีย ในหลายกรณีที่พบว่ารัฐบาลรัสเซียมีแนวโน้มละเมิดและถูกสั่งให้จ่ายค่าชดเชยแก่เหยื่อ ท้ายที่สุดแล้ว กรณีที่เกิดขึ้นนี้ ก็เพื่อให้แน่ใจว่า รัสเซียได้ยึดตามมาตรฐานของพันธสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน