สผ. เริ่มแล้ว เปิดรับฟังความเห็น  ‘กำแพงกันคลื่น’ต้องทำ EIA

สผ. เริ่มแล้ว เปิดรับฟังความเห็น  ‘กำแพงกันคลื่น’ต้องทำ EIA

ภาพมุมสูง ชายหาดม่วงงาม ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

สำนักงานนโยบายเเละเเผนทรัพยากรธรรมชาติฯ (สผ.) ประกาศรับฟังความคิดเห็นประชาชน ประกอบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อมหรือหลักเกณฑ์ วิธีการเเละเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม (ฉบับที่…) พ.ศ. …”ให้กำเเพงกันคลื่นติดชายฝั่งทะเลทุกขนาดต้องทำ EIA โดยกำหนดเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นระหว่างวันที่ 10-25 มกราคม 2566 ผ่านทางเว็บไซต์ สำนักงานนโยบายเเละเเผนฯ

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม (ฉบับที่…) พ.ศ. …

ถ้าย้อนกลับไปในอดีต กำแพงกันคลื่นก็จัดในกลุุ่มที่ต้องทำ EIA แต่แล้วปี 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กำแพงและกองหินกันคลื่น ความยาวตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป เป็นโครงสร้างแข็งที่ได้รับการยกเว้น ด้วยเหตุผลว่าเป็นปัญหาเร่งด่วน และต้องการความคล่องตัวในการทำงาน จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้กำแพงกันคลื่นผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดมาตลอดเกือบ 10 ปี

ภาพจาก beachlover.net ตำแหน่งกำแพงกันคลื่นริมชายฝั่งทะเล (สืบค้นเมื่อกันยายน 2565)

ทางด้าน Beach Lover และภาคีเครือข่ายประชาชนทวงคืนหาดทราย ได้รวบรวมข้อมูลการใช้งบประมาณในการป้องกันชายฝั่ง พบว่าหลังการเพิกถอนกำแพงกันคลื่นจากมีมติคณะรัฐมนตรี ให้ไม่ต้องทำ EIA  เมื่อปี 2556 ก็พบความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ มีโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นเกิดขึ้น 125 โครงการทั่วทุกชายหาดในประเทศไทย งบประมาณในช่วงปี 2558-2566 อยู่ที่ 8,400 ล้านบาท

ภาพ วันที่ 6 ธ.ค. 2565 กิจกรรม “ชายหาดไทยกำลังหายไป เพราะรัฐสร้างกำแพงกันคลื่น?” 

โดยก่อนหน้านี้ กลุ่ม Beach for life และเครือข่ายประชาชนทวงคืนชายหาด 94 องค์กร ทั่วภาคใต้และภาคตะวันออก ที่ปักหลักชุมนุมเรียกร้องให้กำแพงกันคลื่นทุกขนาด ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล 3 ข้อเรียกร้องสำคัญ ได้แก่

(1) ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีให้อำนาจกรมโยธาธิการฯป้องกันชายฝั่ง

(2) โครงการกำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA และ

(3) ฟื้นฟูชายหาดที่เสียหายจากกำแพงกันคลื่น หลังจากปักหลักชุมนุมเรียกร้อง

ภาพ วันที่ 6 ธ.ค. 2565 กิจกรรม “ชายหาดไทยกำลังหายไป เพราะรัฐสร้างกำแพงกันคลื่น?” 

และ รัฐบาลได้ยอมรับข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ ไปเมื่อวันที่ ( 22 ธันวาคม 2565)  นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาศึกษาการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย มีผู้แทนจากกลุ่ม Beach for life และเครือข่ายประชาชนทวงคืนชายหาด นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการพิจารณาตามข้อเรียกร้อง ก่อนเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

อธิวัฒน์ เส้งคุ่ย ทนายความจากเครือข่ายศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พูดคุยผ่านเพจBeach for life ระบุว่า หลังปี2556 ได้มีการประกาศเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องจัดทำรายงาน EIAเป็นเวลากว่า10 ปี ที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าการไม่ทำ EIA ทำให้ชายหาดได้รับผลกระทบ ที่ผ่านมาพบการระบาดของกำแพงกันคลื่น มากถึง 125 โครงการ  ซึ่งมีมูลค่าการก่อสร้าง 8,400 ล้านบาท และที่ผ่านมาเมื่อถอดออกแล้ว สำนักงานนโยบายเเละเเผนทรัพยากรธรรมชาติฯ (ศผ.) ก็ไม่มีแผนหรือมาตรการในการรองรับ

และพบว่าผลกระทบที่เกิดจากกำแพงกันคลื่น ในทางวิชาการก็ชัดเจนว่าไปรบกวนการไหลเวียนของชายหาดมีความเป็นพลวัต เมื่อโครงสร้างแข็งที่อยู่ริมชายหาดหรือบนชาดหาดมีผลต่อการไหลเวียนของทราย ข้อมูลวิชาการระบุชัดถึงผลกระทบของกำเเพงกันคลื่น จะก่อให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงตามมา โดยเฉพาะบริเวณด้านท้ายน้ำช่วงสิ้นสุดโครงสร้างกำแพงกันคลื่น เกิดการกัดเซาะทำให้ต้องสร้างกำแพงกันคลื่นไปเรื่อยๆ นอกจะไม่สามารถป้องกันการกัดเซาะแล้ว ไม่คุ้มค่าต่องบประมาณที่ทุ่มลงไป 

ที่ผ่านมาเมื่อเกิดผลกระทบไม่มีกระบวนการอย่างจิงจัง อีกทั้งไม่มีการประเมิน ไม่มาตรการที่จะเข้ามาเยียวยาฟื้นฟู เเละไม่มีหลักค่ำประกันใดๆ 

อธิวัฒน์ กล่าวต่ออีกว่า  สำหรับร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม ครั้งนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยน แปลงครั้งยิ่งใหญ่ และร่างประกาศนี้โดยหลักการไม่ต่างกัน คือ กำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA  จากเดิมมีการกำหนดขนาดความยาวตั้งแต่ 200 เมตร ขึ้นไปต้องทำEIA  แต่ร่างประกาศครั้งนี้ที่กำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นคือ “กำแพงกันคลื่นทุกขนาด” ต้องทำ EIA เพราะไม่ว่าขนาดไหนก็แล้วแต่ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และที่เพิ่มมาอีกส่วน มีการเพิ่มบทนิยามในเรื่องโครงการกำแพงกันคลื่นต้องผ่านกระบวนการตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ที่ระบุไว้

โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับร่างประกาศ ที่กำแพงกันคลื่นกลับมาทำ EIA มีความเชื่อมั่นในการร่างประกาศครั้งนี้จะเป็นแนวโน้มที่ดี มีโอกาสสูงในการประกาศกระทรวงที่จะเอากำแพงกันคลื่นมาทำEIA ถ้าประเมินตามกรอบระยะเวลา ภายในเดือนมีนาคมนี้เราจะเห็นประกาศออกมา เราเชื่อมั่นเพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนจะรักษาชายหาด เป็นทรัพยากรที่เป็นมรดกร่วมกันและเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ที่จะไปใช้ประโยชน์ชายหาด

พร้อมกล่าวทิ้งท้ายว่า เราต้องร่วมกันแสดงความเห็น เพราะชายหาดเป็นพื้นที่สำหรับทุกคน  สามารถร่วมเเสดงความคิดเห็นในร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ให้กำเเพงกันคลื่นกลับมาทำ EIA สามารถกดลิงค์นี้ได้เลย เว็บไซต์ กองประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (กปผ.) https://eiathailand.onep.go.th/

author

เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง related posts

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ