จากแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงให้ก่อตั้งธนาคารข้าวชุมชน เพื่อหวังเพื่อแก้ปัญหาให้ชาวบ้านในชนบทไม่ขาดแคลนข้าวไว้บริโภคนั้น ชุมชนบ้านยางกะเดา จังหวัดอุบลฯได้ยึดปฏิบัติไว้ ส่งผลให้ชาวบ้านนั้นมีความอยู่ในจนปัจจุบัน
นี่เป็นแนวคิดของนายอำคา บุญเสริม ประธานโครงการธนาคารข้าวชุมชนบ้านยางกะเดา อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ที่เชื่อมั่นว่าธนาคารข้าวชุมชนจะแก้ปัญหาได้มากกว่าภัยแล้ง
ธนาคารข้าวเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงดำริให้ก่อตั้งธนาคารข้าวตั้งแต่ปี สองพันห้าร้อยสิบเก้า เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าวไม่พอบริโภคของประชาชนในพื้นที่ชนบทที่เสี่ยงต่อปัญหาภัยแล้ง และได้พระราชทานแนวทางดำเนินงานไว้อย่างละเอียดชัดเจน ให้มีคณะกรรมการควบคุม ที่คัดเลือกจากประชาชนในหมู่บ้าน เป็นผู้เก็บรักษา และพิจารณาจำนวนข้าวที่จะให้ยืมและรับข้าวคืน ตลอดจนจัดทำบัญชีทำการของธนาคารข้าวอย่างรอบคอบ หากปฏิบัติตามหลักการที่วางไว้ จำนวนข้าวที่หมุนเวียนในธนาคารจะไม่มีวันหมด แต่จะค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้น และจะมีข้าวสำหรับบริโภคตลอดไปจนถึงลูกหลาน ซึ่งบ้านยางกะเดา ได้ยึดแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
บ้านยางกะเดา ส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำนา แต่หากปีไหนเกิดปัญหาภัยแล้งหรือน้ำท่วม ก็ทำให้ชาวบ้าน มีข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภค ทำให้ต้องหาซื้อข้าวที่มีราคาแพงจากท้องตลาด ซึ่งการมีธนาคารข้าวก็จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้
การดำเนินงานธนาคารข้าวชุมชนบ้านยางกะเดา ถึงจะดำเนินการมาได้ไม่นาน และยังไม่มีหน่วยงานรัฐสนับสนุนทางด้านงบประมาณมากนัก แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ให้ความเชื่อมั่นกับคณะกรรมการ ดั่งโครงการต่างๆที่ผ่านมาสามารถบริหารจัดการได้อย่างดีเยี่ยม จนทำให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รู้สึกประทับใจชุมชนนี้อย่างมาก พร้อมแนะนำให้ดำเนินการขยายผลทำธนาคารพืชผลทางการเกษตรอื่นๆต่อไป///////
//////ภานุภพ ยุตกิจ ทีมข่าวภูมิภาค รายงาน//
สามารถติดตามเนื้อหาข่าวอื่นได้ที่ https://www.facebook.com/ศูนย์ข่าวช่องเม็ก