ประเทศไทยที่ ผ่านมานั้นมีการกระทำการ ปฏิวัติ กบฏ และ รัฐประหาร รวมกันหลายครั้ง มีการแยกเอาไว้ดังนี้ คือ การปฏิวัติ 1 ครั้ง กบฏ 12 ครั้งและการทำการรัฐประหาร 8 ครั้ง
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไม่ว่า จะเป็นการเปลี่ยนรัฐบาลหรือคณะผู้ปกครองหรือการเปลี่ยนกติกาการปกครองหรือ รัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกประเทศ
โดยปกติรัฐธรรมนูญ ของแต่ละประเทศย่อมกำหนดวิธีการเปลี่ยนแปลงไว้ เช่น ให้มีการเลือกตั้งทั่วไปทุก 4 ปี หรือ 5 ปี หรือเลือกประธานาธิบดีทุก 4 ปี หรือ 6 ปีเพื่อให้โอกาสประชาชนติดสินใจว่าจะให้บุคคลใดหรือกลุ่มพรรคการเมืองใดได้ เป็นผู้ปกครอง และกำหนดวิธีการเปลี่ยนแปลงหลักการหรือสาระของรัฐธรรมนูญหรือแม้กระทั่ง สร้างรัฐธรรมนูญใหม่แทนฉบับเดิมการเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการดังกล่าวนี้ถือ ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยสันติวิธี และเป็นวิถีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย
อย่าง ไรก็ตามทีการเปลี่ยนแปลงอีกวิธีหนึ่งที่ถือว่าเป็นวิธีการรุนแรงและไม่ถูก ต้องตามกฎหมาย นั่นก็คือการใช้กำลังเข้าข่มขู่ เช่น ใช้กองกำลังติดอาวุธเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลเดิมไล่คณะรัฐมนตรีออกไปและตั้ง คณะรัฐมนตรีใหม่ โดยกลุ่มของคนที่ยึดอำนาจเข้ามาแทนที่หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมแล้วร่าง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่วางกฎและกติกาตามที่กลุ่มผู้มีอำนาจปรารถนา โดยปกติคณะหรือกลุ่มบุคคลที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีนี้จะต้องมีกอง กำลังติดอาวุธเข้าปฏิบัติการ มิฉะนั้นแล้วก็ยากที่จะสำเร็จ และถึงมีกำลังก็ไม่อาจไม่สำเร็จเสมอไป เพราะมีองค์ประกอบการสนับสนุนหรือต่อต้านจากประชาชนเข้ามาเป็นปัจจัยประกอบ ด้วย
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองก็คือว่า การเปลี่ยนรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศมักไม่เป็นไปตามกติกาหรือระเบียบแบบแผน โดยสันติวิธี ตรงกันข้ามมักเกิดการแย่งชิงอำนาจด้วยการใช้กำลังอยู่เนือง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปของการจลาจลกบฏ ปฏิวัติหรือรัฐประหารความหมายของคำเหล่านี้เหมือนกันในแง่ที่ว่าเป็นการใช้ กำลังอาวุธยึดอำนาจทางการเมืองแต่มีความหมายต่าง กันในด้านผลของการใช้กำลังความรุนแรงนั้นหากทำการไม่สำเร็จจะถูกเรียกว่า กบฏ จลาจล (rebellion)
สถานการณ์ในปัจจุบันของประเทศไทยนั้น ทุกคนต่างก็ยังไม่แน่ใจว่าจะจบลงอย่างไร ไม่ทราบว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะ ฝ่ายใดจะเป็นผู้แพ้ แต่ที่แน่นอนที่สุดครับ ประเทศไทยนั้นเสียหายไปแล้วอย่างมากมายจนเหลือที่จะคณานับ ทั้งชื่อเสียง เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองป่นปี้ย่อยยับไปหมดแล้ว ทักอย่างไม่เป็นไปตามระบบระเบียบใด ๆ จะเอาแต่ใจและความต้องการ ฝ่ายผู้ชุมนุมก็ต้องการเรียกร้องให้มีการแต่งตั้งนายกคนกลาง พยายามที่จะสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ ให้สมเหตุผลเพื่อที่จะชี้นำให้มีหารยึดอำนาจจากฝ่ายรัฐบาลโดยจะมีผู้แอบอยู่ เบื้องหลังหรือไม่นั้นผมไม่ทราบคิดกันดูแล้วกันครับ
แต่ที่แน่นอนที่ สุดในความคิดของผมนั้นคือ การที่มีความพยายามที่จะมีนายกคนกลางนั้นผมของฟันธงว่าในขณะนี้ไม่มีใครกล้า ที่จะมาเป็นนายกคนกลางแน่ ๆ ครับเพราะหากขึ้นมาแล้วคงต้องถูกการต่อต้านอย่างหนักแน่นอนที่สุด ถ้าจะมีก็คงเป็นพวกที่อยากจนลืมคิด ไม่มีสติแล้วจะบริหารประเทศไทยได้อย่างไร ส่วนการทำการปฏิวัติ นั้นผมก็ขอฟันธงลงไปว่าไมมีใครกล้าทำหลอกครับ อย่ายั่วยุท่าน ผบ.ทบ.ท่านเลย ท่านกำลังจะพ้นหน้าที่ของท่านอีกเพียงไม่กี่เดือนแล้วท่านจะเอามือมาซุกหีบ ทำไม หากจะมีก็เป็นนายทหารที่อยากเป็น ผบ.ทบ.อยากมีอำนาจจนลืมคิดถึงอนาคตประเทศ สิ้นคิด แล้วจะมานำพาประเทศได้อย่างไร ผมจึงขอบอกว่า ไม่มีนายกคนกลางและการปฏิวัติแน่นอนนอกจาก การทำการรัฐประหารจากองค์การอิสระเท่านั้น แต่ไม่น่าจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ แน่นอนครับ
ปรีชา ตรีสุวรรณ
อดีตกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร
ผู้ชำนาญการค้า การลงทุนในต่างประเทศ