Pinto Metro ผ่านระบบรถไฟฟ้า

Pinto Metro ผ่านระบบรถไฟฟ้า

metro

                                                                                                                   เรื่อง: ยรรยง บุญ-หลง (yanyong@alum.berkeley.edu)

ผมและเพื่อนๆ ทาง Facebook กำลังระดมความคิดเรื่องระบบการแชร์ ‘ปิ่นโต’ ผ่านเครื่อข่ายรถไฟฟ้าเพื่อลดกล่องโฟมและถุงพลาสติก จึงขออนุญาตแชร์ไอเดียที่ยังไม่สมบูรณ์ เพื่อขอคำแนะนำจากผู้อ่านครับ…

แนวคิด Pinto Metro เป็นเรื่องของการจัดการระบบเครือข่าย เป็น platform ชนิดหนึ่ง

คนที่จะใช้บริการนี้ต้องสมัครสมาชิก เช่นเดียวกับการขอจองรถ Uber บนสมาร์ทโฟน สมาชิกสามารถเติมเงินมัดจำในบัตร Rabbit หรือบัตร MRT

สมาชิกสามารถหยิบปิ่นโตได้ทันที (Instant Food) ตามสถานีรถไฟฟ้า… เมื่อกินเสร็จ ก็เอาไปวางคืนไว้ที่สถานีรถไฟฟ้าสถานีไหนก็ได้ (เหมือนกับระบบ car share)

เสร็จแล้วจะมีบริษัทเก็บเอาไปล้างตอนกลางคืน ข้อดีของการล้างปิ่นโตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยคือ เราสามารถรวบรวมเศษอาหารจำนวนมาก ไปอัดแห้งเพื่อขายเป็น ‘อาหารสัตว์’ ได้

มีงานวิจัยเรื่อง ‘เศษอาหาร’ ที่เสนอว่าเศษอาหารเหลือในประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว (ใน 1 ปี) สามารถเลี้ยงคนได้ถึง 2,000 ล้านคน

http://www.op.mahidol.ac.th/oppe/img/mu_eco/
12%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%203.2%20no%20food%20waste.pdf

metro3

ในวันๆ หนึ่ง ควรมีไม่เกิน 2 เมนู โดยเอาร้านชื่อดังที่เข้าถึงได้ยากในวันทำงาน (อย่างเป็ดย่างที่เยาวราช หรือแผงส้มตำหน้าสยาม ฯลฯ) แต่ร้านดังกล่าวควรตั้งอยู่ใกล้รถไฟฟ้าสถานีนั้นๆ

พอสิ้นเดือน สมาชิกสามารถตรวจข้อมูล (Big Data) ดูได้ว่าพวกเขากินอะไรไปบ้าง และมีพลังงาน ‘แคลอรี่’ เท่าไรต่อมื้อ (ลบกับการเดินไปทำงานจากสถานีรถไฟฟ้าอย่างน้อย 5-10 นาที)

เมนูปิ่นโต สามารถดูได้จาก app ว่าพรุ่งนี้จะมาจากร้านชื่อดังร้านไหน

ทาง สำนักงานกรุงเทพมหานคร น่าจะทดลองดูแถวย่านธุรกิจก่อน โดยเฉพาะอาหารเช้าและเย็น ที่ต้องการความเร่งรีบสูง อาจเริ่มทดลองในย่านสีลม อโศก สยาม ชิดลม เอกมัย ฯลฯ ที่มีสำนักงานจำนวนมาก

ต้องออกแบบปิ่นโตให้ดูเท่ๆ (จากเป็นลักษณะ Bento Box แบนๆ) ที่น่าพกพาไปทำงาน เป็นแฟชั่นในรูปแบบหนึ่งสำหรับคนรุ่นใหม่แทนกระเป๋าแบรนด์เนม

มีเพื่อนเสนอให้ใช้บริษัทออกแบบชื่อดังอย่าง Porsche Design Studio มาออกแบบรูปลักษณ์ของปิ่นโตให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ โดยแต่ละปิ่นโตจะมีบาร์โค๊ตไว้สแกนกับบัตรเวลาคืน

metro2

ขนาดของปิ่นโตแต่ละอันต้องเท่ากันหมด เพื่อความง่ายต่อการถอดและประกอบใหม่

เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง application บนโทรศัพท์มือถือจะสามารถให้สมาชิกบัตร Rabbit หรือ MRT จองปิ่นโตได้ล่วงหน้า 1 ชั่วโมงก่อนมาหยิบ

ความคิดเห็นบางส่วนจาก facebook: 

“Eat food not plastic!” อาจารย์ฝรั่งท่านหนึ่งเตือน

Pattaranan Takkanon “ทำแบบเก็บพับได้ ล้างแค่สะบัดๆ น้ำ แล้วมีถุงใส่ไม่เลอะ ออกแบบให้พกได้เพื่อไปคืนที่สถานีพอไหมคะ มีระบบเตือนกับตั๋วรถไฟฟ้าเลยว่ากำลังจะเข้าสถานีแล้วใน card บันทึกไว้ว่าซื้ออาหารเมื่อเช้า ได้คืนปิ่นโตรึยัง”

Poom Siraprapasiri  “ส่วนตัวผมเองมีปิ่นโตขนาดเล็กตราหัวม้าลาย มีฝาปิดแต่ละ compartment เหมือน tupperware ก่อนจะซ้อนกันเหมือนปิ่นโตทั่วไป ต้องเป็นอาหารที่ค่อนข้างแห้ง และต้องตั้งให้ตรงเวลา ใส่กระเป๋าจักรยาน ถ้ามีระบบฝาเกลียวก็มั่นใจได้มากขึ้นว่าของเหลวจะไม่รั่วออกมา”

Lee Chen  “การถือภาชนะใส่อาหารไปไหนมาไหน (นำไป-ส่งกลับ) อาจต้องทำให้เป็นเรื่องที่นิยมของคนยุคใหม่ เพราะของที่ถือจะเยอะ การถือของเพิ่ม จะทำให้เกิดการปฏิเสธ คนรอบตัวที่ถือมาทานเอง คือทานแค่เช้าแล้วทิ้งถุง ไม่ต้องถือกลับ และบางส่วนมีกล่องมา แต่ทานเสร็จก็ลืมไว้ที่ทำงาน หรือตั้งใจเก็บไว้ที่ทำงานเพราะไม่สะดวกถือกลับบ้านค่ะ”

นิพัทธ์พงษ์ ชวนชื่น  “ประเด็นสำคัญๆ ที่ควรมีคือ ปิ่นโตสวย กิ๊บเก๋ ภาพลักษณ์คนถือ คนที่ร่วมกิจกรรมรับปิ่นโตเช้าไปทาน (+ได้โชว์ปิ่นโต) ถูกบอกผ่านสื่อซ้ำๆ ว่าเท่ ดูดี และ ‘ไม่เชย’

ผมลองฟุ้งต่อฮะ ฮ่าๆๆ

สินค้า – ปิ่นโตอาหารเช้า เพื่อสุขภาพ อาหารเช้าสำคัญมากต่อคนทำงาน อาหารดีๆ ตอนเช้าทำให้ทำงานได้ดีทั้งวัน (รับส่ง ง่ายๆ ที่ทางออก BTS ใกล้สำนักงานของท่าน)

กลุ่มเป้าหมาย – เหล่าผู้บริหารระดับต้น ++ หรือ Expat (ที่ใช้รถไฟฟ้าไปทำงาน อยู่คอนโดฯ ไม่ทำอาหารทานเอง รักสุขภาพ – น่าจะเป็นกลุ่มแรกๆที่ศึกษาพฤติกรรมเขา แม้แต่ร้องขอให้มีการทำกลุ่มน้อยๆ แต่เกิดเป็นข่าว เพื่อทำสินค้าปิ่นโตเพื่อสุขภาพรับ-ส่ง ที่ BTS ปลายทาง ณ จุดลงรถ มาเจาะกลุ่มนี้ อาจมีน้อย แต่ถ้ากลุ่มนี้นิยม สื่อตีข่าว สร้างภาพลักษณ์ กลุ่มอื่นจะอยากทำบ้าง ) – ทำการสอบถามความต้องการกลุ่มนี้ …

ได้ประสบการณ์การทานอาหารเพื่อสุขภาพที่มีการคำนวณแคลลอรี่ให้ และ ประสบการณ์การสั่งปิ่นโต ลูกค้าต้องเลือกได้ล่วงหน้า ผ่าน application เลือกรายการ และชำระเงินล่วงหน้าออนไลน์ได้สะดวก การรับ คืน ทำที่ BTS ณ จุดทำงาน (ต้องให้รับสะดวก เดินออกจาก gate มารับ เอาขึ้นไปทาน เย็นก็เอามา drop คืน ) โดยสินค้าต้องมีราคาแพงนะจ๊ะ // ในปิ่นโตอาจจะรองใบตองไว้หรือกระดาษห่ออาหารแบบย่อยสลาย ซึ่งจะทำให้ปิ่นโตดูสะอาด +มั่นใจขึ้นในความสะอาด (ที่น่าจะต้องสลับไปมา) +ต้องทำให้รับรู้กระบวนการล้างปิ่นโต ว่าสะอาดนะ ฆ่าเชื้อโน่นนี่นั่น เว่อร์นิด ๆ ก็ต้องทำ)

หากมีการระดมความคิดกันอย่างจริงจังโดยภาครัฐและเอกชน เราจะสามารถเข้าถึงอาหารร้อนๆ จากร้านชื่อดังได้ทุกเวลา… โดยไม่ต้องฝ่ารถติดไปนั่งต่อคิวข้างทาง

author

เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง related posts

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ