เช้าวันศุกร์ปลายเดือนมิถุนายน ช่วงต้นฝนภาคเหนือกับบรรยากาศเมืองนครเขลางค์รถ 4 ขาม้า 2 ล้อ แน่นอนว่าองศาเหนืออยู่กันที่เมืองลำปาง กับวงสนทนาขนาดกะทัดรัด ‘เปิดบ้าน แป๋งเมืองลำปาง’ โดย ทีมสื่อคนรุ่นใหม่ในพื้นที่จังหวัดลำปาง ชวนระดมความคิดคนรุ่นต่าง ๆ ของลำปางที่กำลังขับเคลื่อนเมืองในมิติต่าง ๆ และตั้งวงพูดคุยกันในประเด็น เมืองลำปางจะเป็นแบบไหนต่อไป
ปักหมุดสื่อสารโดยคนรุ่นใหม่ Lampang Journair https://www.csitereport.com/newsdetail?id=0000025178#news_slideshow
3 เวทีขนาดเล็ก ระดมความคิด สร้างจินตภาพงานสื่อสาร พร้อมทั้งกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเมืองลำปาง เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2565 ณ บ้านหลุยส์ ชุมชนท่ามะโอ เมืองลำปาง
“ลำลอง” ซึ่งแนวคิดที่ซ้อนอยู่ภายใต้ชื่อนี้คือต้องการเปิดเป็นพื้นที่ให้ ‘คนลำปาง’ ได้ ‘ลอง’ เห็นมุมมองใหม่ ๆ ทำอะไรใหม่ๆ ไปด้วยกัน นำเสนอเรื่องราวของเมือง คน กิจกรรมที่น่าสนใจในจังหวัด ผ่านมุมมองที่สนุกสนานและสร้างสรรค์
3 ประเด็นชวนคิดชวนคุยมีทั้งเรื่อง
- รถม้าลำปาง เป็นอะไรได้บ้างในอนาคต? โดยตัวแทนสารถีรถม้าลำปาง กลุ่มนุ้งซิ่นพากั๋นแอ่ว
- ภาพฝันอนาคตร่วม ลำปางจะเป็นพื้นที่แบบไหน? โดยตัวแทนชุมชนท่ามะโอ และพลเมืองลำปาง
- สื่อแบบไหนถึงจะเรียกว่าเหมาะ ? โดยตัวแทนสื่อมวลชน และอินฟูลเอนเซอร์ลำปาง
“หมดคนรุ่นนี้ ก็จะหาคนรุ่นใหม่มาสืบต่อนั้นยากมาก เพราะไปเป็นลูกจ้างได้เงินเดือนประจำ หรือค้าขายรายได้มันแน่นอนกว่า”
“ต้องมีใจรัก และรักม้า จึงจะขับรถม้าได้ และทำได้”
“รถม้า เป็นอย่างอื่นได้อีก เช่น ให้การเรียนรู้กับเด็กในโรงเรียน เด็กจะได้สัมผัสและใกล้ชิดกับม้า ได้รู้จักสัญลักษณ์ประจำจังหวัด สร้างการเรียนรู้จากของจริง”
“รถม้า ไม่ใช่แค่รถท่องเที่ยว จริง ๆ รับส่งคนทั่วไปได้ นัดหมายไปรับที่อาเขตก็ได้”
“จะทำให้รถม้าอยู่ได้ ให้คนรุ่นใหม่มาขับต้องมีแรงจูงใจ มีการสนับสนุนที่ต่อเนื่อง”
“รักม้ามาก เดียวนี้ยุคสมัยเปลี่ยน 3 รอบก็พออยู่ได้ ชั่วโมงละ 200-300฿ หากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเหมารอบนนานขึ้นเหมือนเราได้โบนัส”
คำพูดสำคัญ ๆ จากวงที่ 1 การพูดคุยถึง Story ความหลังของลุง ๆ คนขับรถม้า
เชื่อหรือไม่ว่ารวม ๆ อายุคุณลุงคนขับรถม้าแล้ว เกิน 100 ปี แล้วนะ
คุณลุงโกตี๋ บอกว่า ก่อนขับรถม้า ตนเองเคยเป็นช่างเชื่อมมาจากกรุงเทพมหานคร ด้วยความที่เราสนใจจึงมาวิ่งรถม้าด้วยกันกับเพื่อน อาชีพรถม้าเงินซื้อข้าวอาหารได้เหลือพอเก็บ จึงซื้ออุปกรณ์มาต่อรถม้าเอง เริ่มจากขี่เล่น หลังจากนั้นได้พัฒนาม้าจาดดอย เริ่มมาเป็นม้าแกรบ พัฒนาเป็นม้าใหญ่ ปัจจุบันเลยกลายเป็นอาชีพหลัก ปัจจุบันอายุ 80 ลูกหลานให้หยุดทำได้แล้ว แต่คนเคยทำงานอยู่บ้านเหงา ออกมาทำรถม้ายังได้เจอเพื่อนที่ขับรถม้าด้วยกัน ยังได้คุยเล่น แต่ก่อนเลี้ยงม้า 10 ตัว ปัจจุบันในสถานการณ์นี้เหลือม้าอยู่เพียง 3 ตัว
คุณลุงตู่ บอกว่า “ตอนนี้แกอายุ 70 ปี เป็นคนขับรถม้า ฝึกขับรถม้าตั้งแต่ยังเด็ก ในยุคก่อนส่งแม่ค้า 1 รอบโดยการวิ่งรถ เช่น วิ่งรถจากสบตุย 1 รอบ ได้เงินรอบ 10-20 บาท ตอนนั้นเงินเดือนไม่พอ เลยมาวิ่งรถม้าได้เงินเดือนมากกว่า ออกวิ่งวันละ 7-8 รอบ สมัยก่อนไม่ได้ใช้รถจึงคุ้ม ปัจจุบันมีลูกที่สืบทอดรถม้าต่อ ม้าปกติตัวหนึ่งราคาหลักแสน คนไม่ขายกันสักเท่าไหร่ ปัจจุบันต้นทุนต่อวัน 100 บาท ในการกินอาหารในแต่ละวัน
คุณลุงพนม บอกว่า มีรถม้า 1 คัน หากินกับรถม้ามายาวนาน แต่ก่อนรถม้ารับนักท่องเที่ยวมาก่อน รถม้ามีทะเบียนและมีประกัน มีกติกาที่คล้ายกับรถยนต์ เป็นไปได้ยากที่จะใช้รถม้าเป็นรถประจำทางเพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนทุกคนมีรถขับ
จากวงคุยเดินเรื่องจากคนขับรถม้ายุคบุกเบิกมาสู่คำถาม หากรถม้าจะยังคงอยู่ต่อ จะต้องเป็นอย่างไร ?
ยากที่จะให้เด็กยุคใหม่สานต่อเพราะยุคที่ต้องมีรายได้ประจำและหลายคนหวังความมั่นคงในอาชีพ เช่น ราชการ “รถม้าคือต้องรักมันจริง ๆ ต้องเลี้ยงตั้งแต่เด็ก ๆ เหมือนการเลี้ยงหมาเลี้ยงแมว ถ้าเรารักก็เลี้ยงได้หมด”
“ในอนาคตรถม้ายังคงต้องมีอยู่เพื่อเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ ปัญหาปัจจุบันอยู่ที่ต้นทุนการเลี้ยงม้า หากวันใดไม่มีเงินก็ให้กินหญ้า เราต้องยังคงวิถีไว้ วิถีที่ทำให้เกิดทุกอย่างในชีวิตปัจจุบัน”
แอดมินนุ่งซิ่นปากั่นแอ่ววิถีอัตลักษณ์ล้านนา
ตัวแทนลูกหลานรถม้า ครูเบ้า แอดมินนุ่งซิ่นปากั่นแอ่ววิถีอัตลักษณ์ล้านนา บอกว่า “ตั้งแต่เด็กพ่อเป็นคนขับรถม้า ทั้งการออกรถม้า ซ่อมรถม้า เราจะเห็นบรรยากาศทั้งหมดผ่านสายตาเรา ที่บ้านมีรถม้า 2 คัน เวลาไปโรงเรียนตอนเด็ก ๆ ก็ได้นั่งรถม้าไปโรงเรียน หลังจากเราไปโรงเรียน พ่อไปออกรอบ 1 รอบ วิ่งกลับมาโรงเรียนเอาค่าขนมเอาค่าขนมมาให้ที่โรงเรียน ส่วนคุณเราก็แม่นุ่งซิ่ง ไปขายของที่ตลาด นั่นคือความความทรงจำสมัยเด็ก
เลยมีโอกาสได้ลองไปนั่งคิดกับครูบั้ม ถ้าเราวิ่งเสาร์ละ 4 เที่ยว วิ่งไป 10 คัน เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในช่วงสถานการณ์โควิด และการนุ่งซิ่นเป็นที่จดจำ เป็นกุศโลบายหนึ่งในการดึงนักท่องเที่ยว วางแผนเส้นทางและจำนวนคน เป็นการออกแบบการท่องเที่ยงแบบใหม่ และเป็นการส่งเสริมนักท่องเที่ยวกลุ่มเล็ก ๆ ที่อยากจะท่องเที่ยวราคาไม่แพง เรามองว่าตัวเองยินดีที่จะสานต่อและใช้วิถีอัตลักษณ์ส่งต่อ
ในเชิงการท่องเที่ยวเราคิดวิธีแบบนี้เพราะเรามีมุมมองรถม้าที่คนนอกมองกับคนบ้านเรามองแตกต่างกันออกไป เพราะคนนอกจะคิดว่าการนั่งรถม้าราคาสูง เราพยายามจะลบภาพแบบนั้นไป
ของที่ดีเรามีอยู่ในจังหวัดลำปางคือรถม้า เราจึงต้องพัฒนาเป็นจุดแรกที่เราควรจะทำ นำของที่มีนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์พาไปเที่ยวถ่ายรูปแต่ละจุดของเมือง
ส่วนเรื่องการสื่อสาร ตอนนี้ตนเองก็ทำการสื่อสารในกลุ่ม แอดมิน นุ่งซิ่นปากั่นแอ่ววิถีอัตลักษณ์ล้านนา เป็นกลุ่มส่วนตัว แต่มีสมาชิกถึง 794 คน เรียกได้ว่าเป็นสื่อหนึ่งในท้องถิ่นที่เราอยากจะสื่อสารกับคนบ้านเราและคนอื่น ๆ ภายนอก เราสื่อสารไปบ่อย ๆ ในเรื่องของตัวตนเราพร้อมทั้งสตอรี่เรื่องราวในพื้นที่ก็มรีคนสนใจที่อยากจะมาทดลองทำแบบเรามาลองเที่ยวแบบพี่เบ้า ก็มีคนมาจริง ๆ ครั้งหนึ่งเคยมีนักท่องเที่ยวท่านหนึ่งว่าอยากมาเที่ยวตามทริปพี่เบ้าคลิปนี้ เอาแบบตามคลิปแปะ ๆ เราก็ตอบตกลงว่าโอเคมาได้พี่เบ้าพาเที่ยว สิ่งที่เราเจอคือ กลายเป็นไม่ได้มา 1 คันรถยนต์ แต่มา 1 คันรถบัส ตกใจแต่เราก็เหมือนเป็นคนนำเที่ยวให้เขาไปซื้อของตามจุดต่าง ๆ ทำให้เกิดรายได้กระจายไปยังคนอื่น ๆ อีกด้วย เป็นหนึ่งสิ่งที่เรามองเห็นว่าการสื่อสารแบบนี้ก็สามารถทำให้เกิดการดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายได้อีกหนึ่งทางคือคนชอบแบบการมีประสบการณ์ร่วม
ส่วนการสื่อสารและทิศทางที่อยากจะสื่อสารเล่าเรื่อง คือ ถ้าพูดถึงลำปาง ก็จะนึกถึงรถม้าเป็นที่แน่ ๆ อยู่แล้ว เราจึงเริ่มจากการสื่อสารผ่านในกิจกรรมต่าง ๆ หรือการถ่ายเรื่องราวตนเองกับรถม้าสวย ๆ นั่งพาไปเที่ยว ยังทำการสื่อสารในเชิงประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมในการท่องเที่ยว เป็นจุดหนึ่งในการช่วยบ้านเราได้คือเพจต่าง ๆ ในจังหวัดลำปาง
หลังจากเราได้ลองรับฟังเสียงจากคนในพื้นที่แล้ว ได้ทดลองนั่งรถม้าระยะสั้น รอบชุมชนท่ามะโอ ที่ขับโดยลุง ๆ ที่ร่วมแชร์ความหลังประสบการณ์ และแม่ ๆ ป้า ๆ ที่ร่วมส่งเสริมสื่อสารให้รถม้าและการนุ่งซิ่นยังคงอยู่
เพราะเสน่ห์ของเมืองลำปางมีมากมาย ไม่ใช่เพียงวัดวา อาคาร ถนนคนเดิน แต่ยังมีวิถีชีวิตของคนลำปาง ร้านค้า การผลิตสินค้าท้องถิ่น คือ เรื่องราว ผู้คน และพื้นที่ ที่ควรได้รับการบอกเล่า และต่อยอด
คุยกันต่อถึง ลำปางจะเป็นพื้นที่แบบไหน ?
การสร้างเนื้อหาและโอกาสหากมีการเปิดพื้นที่การสื่อสาร สนใจเนื้อหาแบบไหนและร่วมสื่อสารได้อย่างไร เพื่อทดลองให้พื้นที่ได้สื่อสารเรื่องราวออกมา
“พี่ช้าง” ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล เจ้าของแบรนด์ Papacraft (ปาป้าคราฟ) สำหรับเมืองลำปาง เรามาเมืองนี้เพราะอยากเริ่มทำแบรนด์ ตอนแรกที่มาเมืองลำปางเห็นเลยว่าเมืองนี้ไม่สามารถเป็นเมืองที่สร้างรายได้ได้ เริ่มศึกษาและรู้จักกับเมืองสร้างสรรค์ เริ่มทำการสำรวจเมือง และมองว่าหากจะให้มันเติบโต จะไม่ใช่การเติบโตเมืองแบบมิติใหม่ แต่ให้เกิดรากเหง้า มิติการรักษารากเหง้า ถ้าเรารักษารากเหง้าได้มันจะเป็นต้นทุนให้เราได้เริ่มอะไรบางอย่าง เช่น กลุ่มคนรุ่นใหม่ท่ามะโอ ที่กำลังทำอยู่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างเมืองและสร้างอาชีพ สร้างความเป็นตัวตนของเมือง จะเก้าไปช้าหรือเร็ว อยู่ที่แต่ละคนที่อยู่ในบทบาทของใคร ทำอย่างจริงจังและหนักแน่นเพื่อเมืองของเรา
การเปิดหรือมีพื้นที่ใหม่ พื้นที่สร้างสรรค์ คือ การสร้างโอกาส สร้างพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ และคนทุกวัย ถือเป็นแนวหนึ่งที่ช่วยสร้างสรรค์ให้เมืองลำปางมีความน่าสนใจ เช่น การมีขึ้นของ “กองคร้าฟต์” เกิดจากความอึกอัดว่างานดีไซน์ งานคราฟต์ในพื้นที่จังหวัดลำปาง ไม่มีพื้นที่ให้เราเลยหรอในการแสดงผลงาน พอมีโอกาสเราทำการรวมกลุ่มทำกองคร้าฟต์ขึ้น และมันพิสูจน์ให้เห็นว่า หากเราจัดโซนตั้งพื้นที่สวย ๆ และสร้างพื้นที่ให้คนมาแชร์ผลงานร่วมกันแบบนี้ได้กระตุ้นให้ในพื้นที่เกิดการคิดต่อรวมถึงหน่วยงานด้วย
ซึ่งกองคร้าฟต์นอกจากการรวมกลุ่มแล้ว แบรนด์ธุรกิจสามารถคอลแลปส์กัน จนเกิดกลายเป็น Community ซึ่งสนุกสนานกว่าการเอาธุรกิจเป็นหลัก สิ่งที่สำคัญคือภาพที่นักท่องเที่ยวเห็นสิ่งเหล่านี้ว่ามันมีเสน่ห์และเขาจะเดินเข้ามาเอง
พี่ออมสิน เจ้าของเพจ Happy Lampung เพจเล่าเรื่องดี ๆ ของคนลำปางกล่าวว่า มีหนังอยู่เรื่องหนึ่ง คน ๆ หนึ่งติดอยู่บนเกาะต้องเลี้ยงตัวเองให้ได้ คล้าย ๆ กับเราที่ต้องหาตัวเองให้เจอกว่าเราอยากจะทำอะไรเลี้ยงชีพ ไม่ว่าลำปางจะเป็นอะไรตอนนี้ คือ เราหวังถึงสิ่งที่ลำปางจะต้องมุ่งหน้าไป คือเราจะเป็นเมืองน่าอยู่และเมืองท่องเที่ยว ที่สามารถทำให้ประชากรอยู่ได้มีรายได้จริง
ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะต้องบิ้วท์อารมณ์โดยการใช้การสื่อสารเข้ามาช่วย ต้องมีความสุขได้โดยรายได้ ซึ่งต้องมีแพลตฟอร์มกลาง สร้างสื่อขึ้นมาเพราะปัจจุบันทำซ้ำซ้อนกันเยอะ ดีไซน์ไปตามธรรมชาติแต่ยึดอยู่เรื่องหนึ่งคือการมีส่วนร่วม มีคนไปตามเรื่องเมืองเล่า Story คนในแต่ละมุมในแต่ละพื้นที่ของลำปาง สื่ออื่น ๆ เข้ามาถ่ายทอดเรื่องราว เป็นการทำสื่อดึงเรื่องธรรมชาติของคน ต้องมีการจัดตั้งและจัดทำและคนเข้ามาทำงานและรับผิดชอบสม่ำเสมอ เอาเรื่องเหล่านี้มาเล่าแต่ไม่ได้มาควบคุม
แอดมิน กลุ่ม นุ่งซิ่นปากั่นแอ่ววิถีอัตลักษณ์ล้านนา เกษียณอายุมา ไม่อยากนอนอยู่บ้าน เริ่มจากการเล่าเรื่องผ่านตัวเองก่อน สร้างตัวตนตัวเองก่อนเล่าสตอรี่ในเมืองลำปาง สร้างตัวตนอันดับแรก เราต้องติดแฮชแทค สวัสดีตอนเช้าในกลุ่มของตนเองให้มีปฎิสัมพันธ์ การพูดคุยในสื่อเล็ก ๆ ของเรากลุ่มเป้าหมาย ตอนแรกที่ทำรู้สึกโดดเดี่ยวมาก มี 2 ครอบครัวและคนในพื้นที่ไม่ได้ให้การตอบรับที่ดี แต่โชคดีที่ได้คนดังมาเที่ยว ได้สื่อลำปาง มากระเตื่องในการช่วยจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว และสื่อมาทำรถม้าลำปางได้กลับมาเกิด และมาทำความเข้าใจในการนั้งรถม้าเที่ยว เรื่องการทำการสื่อสารให้คนเข้าใจลบภาพรถม้าแพง และอยากให้ร่วมสนับสนุนสื่อโนแนม
ชุมชนท่ามะโอ ลำปาง ชุมชนย่านเมืองเก่า ที่มีทีมคอยดูแลส่งเสริมการท่องเที่ยว จัดกิจกรรมดนตรีที่บ้านหลุยส์ และออกโปรดักส์ของดีในชุมชน
เที่ยวลำปาง นั่งรถม้า กับ บ้านม้าท่าน้ำ Lampang Travel By Barn Ma Tha Nam บ้านของครูบั้ม ช่างตีเกือกม้าของลำปาง ที่ชวนคนมาทำกิจกรรมที่บ้าน เช่น อาบน้ำให้ม้า พานั่งรถม้าชมเมืองลำปาง แถมยังมีสินค้างานคราฟต์จากน้องม้า เช่น ตาข่ายดักฝันจากเกือกม้า ปิ่นปักผมจากแผงคอม้า ใครมาลำปางแล้วอยากทำกิจกรรม แถมยังได้ซื้อสินค้าของฝากจากน้องม้า
ลำลอง เพจที่กำลังก่อร่าง สร้างโดยทีมสื่อรุ่นใหม่ของลำปาง ที่ตั้งใจให้ ‘ลำลอง’ เป็นพื้นที่ให้ ‘คนลำปาง’ ได้ ‘ลอง’ เห็นมุมมองใหม่ๆ ทำอะไรใหม่ๆ ไปด้วยกัน นำเสนอเรื่องราวของเมือง คน กิจกรรมที่น่าสนใจในจังหวัด ผ่านมุมมองที่สนุกสนานและสร้างสรรค์
Lampang Journair น้องใหม่ในบ้านลำปาง ที่คอยเล่าเรื่องราว ที่เราพบเจอในทุกวัน ผ่านมุมมองของคนที่เพิ่งย้ายเข้ามาอยู่
เมื่อไม่มีคนทำอย่างต่อเนื่อง ล้อมวงมองต่อ จะทำงาน-สื่อสารกันต่ออย่างไร ?
ลำปาง ซิตี้เป็นตัวอย่างที่ดีของเพจการสื่อสาร ต้องมีคนรับผิดชอบสม่ำเสมอ ก็จะสามารถดึงเนื้อหาคอนแท็นของพี่เป้า เข้ามาสื่อสารต่อร่วมได้ และไปในทิศทางเดียวกัน เพราะฉะนั้นในอนาคตควรมีแพลตฟอร์มกลางในการทำประเด็นต่าง ๆ
การกระจายข่าวได้แต่อย่าลืมเรื่องการกรองเนื้อหาและที่มาของข้อมูล เราจะใช้สำนักข่าวลำปาง สื่อแบบคุยกับคนในพื้นที่เป็นกระบอกเสียงไปทั่วเมืองลำปาง เป้าหมายของเราคืออะไร เราเสนอภาพและวิถีของลำปาง รวมไปถึงวิถีของชาวบ้าน ในการสร้างพื้นที่การสื่อสารตรงนี้ขึ้นมา ลักษณะคนที่เป็น ไอคอนของลำปางที่เห็นวิถีและอัตลักษณ์
รถม้าถือเป็นสื่อเชื่อมโยงคนต่างประเทศ สื่อและการถ่ายทอด ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการนั่งรถม้า เช่น วิถีของคนขับรถม้า การถ่ายทอดการสื่อสารของคนขับรถม้าเขายังทำไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และเวลาของเขาคือหาเช้ากินค่ำ ตอนนี้คนขับรถม้ามีอยู่ 50 กว่าคน หากคนกลุ่มนี้พักผ่อนแล้วใครจะมาสานต่อ อยากให้สื่อค่อย ๆ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และสานต่อ ให้คนรุ่นหลัง เช่น การทำการ์ตูน animation เรื่องราวสนุก ๆ ให้คนได้เพลิดเพลิน สื่อสามารถเชื่อมโยงให้เยาวชน เกิดการเรียนรู้ให้เด็ก ๆ ได้ เช่นเด็ก ๆ เทศบาลเมืองลำปางหลาย ๆ โรงเรียนให้เขาได้มาเรียนรู้ตรงนี้ผ่านสื่อและพื้นที่การเรียนรู้
เราต้องก้าวไป แต่ก้าวไปอย่างไรให้มันยั่งยืน ตอนนี้โอกาสให้ทำทริปท่องเที่ยวพาเดินเที่ยว พานั่งรถรางไปรับเที่ยวตามรายทางต่าง ๆ ใช้วิธีการเดิน ปลายทาง คือ บ้านหลุยส์ และสามารถเรียนรู้ต้นไม้ในเมืองได้ เชื่อมโยงการเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ มองไอเดียตัวอย่างที่ญี่ปุ่นเป็นอุทยาน พาเด็ก ๆ ไปเรียนรู้ ให้คนมาเรียนรู้วิถีเดิมที่มีอยู่แล้ว ทำอย่างไรให้สิ่งนี้ยั่งยืน แฝงไปด้วยการเรียนรู้ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เพื่อนสื่อ “ลำปาง” แบบไหนที่จะเรียกว่าเหมาะ
พันธมิตรคนรุ่นใหม่ และพลเมืองลำปาง กำลังริเริ่มก่อรูปการทำงาน โดยมีกลุ่มคนลำปางรุ่นใหม่กลับบ้าน (กลุ่มตั้งเก๊า) ชวนคิดชวนคุย ซึ่งประกอบไปด้วย
- ไวท์ เพจไวไว สตอรี่ รองประธานนักธุรกิจรุ่นใหม่ รองประธานกอการค้า
- ดีเจดิว จาก ลำปางชาแนล
- ลุงโบ จาก นายกสมาคมนักจัดรายการวิทยุ ลุงโบปาแอ่ว
- บัวตอง จาก เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุตำรวจ
- พี่แร็ค จาก ลานนาโพสต์ ที่ปรับตัวจากสื่อสิ่งพิมพ์ มาเป็นทางออนไลน์จากยุคที่สื่อเปลี่ยนไป
- พี่เอ็ม ตัวแทนจากสำนักเครือข่ายสื่อและการมีส่วนร่วมสาธารณะ ไทยพีบีเอส
- เนย รัชชา จาก ตะลอนตะหลอด : ชาติพันธุ์ลำปาง – แพร่
- ครูบั้ม จาก สมาคมรถม้า จ.ลำปาง
ชวนคุย ชวนคิดต่อ ในเรื่องการสื่อสารหน้างานของแต่ละคนที่มีข้อดีที่เราทำ ข้อจำกัด ในพื้นที่เพจของแต่ละคน
“คนลำปางมี การสื่อออนไลน์ที่นิยมใช้กันอยู่แล้วอย่างเพจ Lampang City แต่เนื้อหาในนั้นมีหลากหลายมาก หลายครั้งที่ประเด็นที่น่าสนใจ ควรลงลึก ติดตาม เพื่อไม่ให้ถูกกลืนหายไป”
- พี่แร็ค Lannapost ลานนาโพสต์ ข่าวลำปาง ปรับจากสื่อสิ่งพิมพ์ มาเป็นทางออนไลน์จากยุคที่สื่อเปลี่ยนไป กล่าวว่า เป้าของเราไม่ได้เป็นเรื่องอาชญากรรม ประเด็นหลักของเราเป็นเรื่องเศรษฐกิจการเมือง ไม่ได้เป็นประเด็นสีสัน ข่าวที่ไม่ได้เป็นสปอตไลต์เราจึงควรต้องทำ เพราะเราลงไปแล้ว ให้เกิดการแก้ปัญหา / เช่นประเด็นแม่เมาะ การอพยพเกิดขึ้นแต่เอกสารสิทธิ์ในที่ดินยังไม่ได้ เราก็ต้องตามต่อ ในยุคที่มีหลายแพลตฟอร์ม เราก็ต้องแตกประเด็นออกไปในรูปแบบต่าง ๆ ใน 1 Content / อุปสรรคยังเป็นการบริหาร ทุกอย่างมีต้นทุนแม้ภูมิทัศน์สื่อจะเปลี่ยนไป แน่ ๆ คือต้องมีใจ
- บัวตอง เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุตำรวจ กล่าวว่า ย้อนไปปี 2548 ทำงานกับราชการวิทยุเป็นเรื่องความมั่นคงในยุคนั้น ปัญหาของวิทยุคือเรื่องเศรษฐกิจ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใช้วิธีการ แค่มีอินเตอร์เน็ตฟังได้ทั้วโลก เพราะฉะนั้นวิทยุไม่ได้ด้อยกว่าช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ วิทยุเชื่อมเพจเฟสบุ๊ก และอื่น ๆ วิทยุปรับปรุงตัวเองและควบคู่กันไป / เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของคนบะเก่า บางเรื่องไม่มีในอินเตอร์เน็ต / แฟนรายการที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ให้ฟังเช่นรายการท่องเที่ยวพาไปเที่ยวแบบเล่าเรื่อง
- ดีเจดิว กล่าวว่า วิทยุเหมือนห้องเรียนต่างอากาศ ทุกคนมีองค์ความรู้อยู่แล้ว กับผู้สูงอายุเป็นเพื่อนเขา รายการไหนที่มีนักวิทยุจัดสด ๆ ก็จะมีการโทรเข้ามา ที่ผ่านมาหลายคนเข้าใจว่าวิทยุตาย ซึ่งไม่จริง ทุกอย่างที่เราสื่อสารเราเอาคาแรคเตอร์เข้าไป วิทยุมีข่าวที่เอาจากสื่อต่าง ๆ มา ต้องมาดู เช่น เรื่องจริงเป็นอย่างไร บ้านหลุยส์เป็นอย่างไร เล่าแนวสนุกสนาน เสน่ห์ของการจัดรายการ
- ไวท์ เพจไวไว สตอรี่ รองประธานนักธุรกิจรุ่นใหม่ รองประธานหอการค้าลำปาง กล่าวว่า มุมสื่อสมัครเล่นออนไลน์ เราทำรีวิวต่าง ๆ ให้เหมือนเราเป็นเพื่อนที่เข้ามาดู เช่น เขาส่องกะจก พระอาทิตย์กำลังตกดิน มีการพูดคุยเอ็นเกจในเพจ สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ในลำปางไม่มีคนรู้เกิดการเอ็นเกจ / มองเรื่องในอนาคตว่าอยากรวมเพจท่องเที่ยว รีวิวของลำปาง ทาง ททท.เองอยากช่วยประชาสัมพันธ์ มารวมกัน มีศูนย์การสำหรับสื่อจริงจังและสื่อสมัครเล่นมารวมกัน
- เนย กล่าวว่า เริ่มจากการเป็นนักท่องเที่ยว มาทำความเข้าใจกับคนนพื้นที่ เช่น ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งบนพื้นราบ และพื้นที่สูง ทำรีวิวท่องเที่ยวและมาสื่อสารกลางในพื้นที่กลางจังหวัดลำปางทำให้มีคนสนใจและอยากตามเรามา ทำให้เพื่อนที่ของเรามันโตขึ้นเรื่อย ๆ อาศัยประเด็นการท่องเที่ยวอย่างเดียวไปต่อไม่ได้ เช่น บ้านกลาง พื้นที่กะเหรี่ยงมีปัญหาระหว่างรัฐ พื้นที่ทำกิน หยิบประเด็นตรงนั้นมาสื่อสาร สิ่งที่แลกกับให้พื้นที่เราโตขึ้นคือแรงใจ หลัง ๆ ต้องมีการปรับมูทแอนด์โทนบ้าง คือต้องมีเรื่องจริงจังผสมกับเรื่องราวท้องถิ่นที่น่าสนใจ เราทำคนเดียวได้ไม่ทั้งหมดต้องแชร์ประเด็นกับสื่ออื่น ๆ ไปด้วย โจทย์ต่อไปอยากให้สื่อในลำปางมีประเด็นสาธารณะออกในพื้นที่มากขึ้น
“ยังขาดตัวเชื่อม หรือแพลตฟอร์มในการสื่อสารกันระหว่างสื่อมวลชน เพื่อประสานความร่วมมือในการสร้างการสื่อสารให้มีอิมแพค”
หลังจากฟังหลายคนยังมี GAP ที่ยังคงเป็น community ไปเฉพาะกลุ่ม เพราะฉะนั้นเราควรจะมี hub หรือเซ็นเตอร์ตรงกลาง ?
“หนึ่งประเด็นสื่อสาร / หนึ่งกิจกรรมร่วม น่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่จะเริ่มชักชวนกลุ่มสื่อมวลชน และอินฟูลเอนเซอร์มาร่วมทำงาน โดยอาจเลือกประเด็นร้อน ประเด็นที่สาธารณะสนใจ เช่น ประเด็นโครงการสนามบิน ประเด็นคุณภาพน้ำวัง หรือจะใช้ประเด็น Soft Power ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่มากก็ได้ เพราะคนลำปางสนใจกันเยอะ”
พี่สามารถ ตัวแทนจากโครงการ Spark U : ปลุกใจเมือง ทำงานวิจัยเรื่องเมืองน่าอยู่และเมืองสร้างสรรค์ เรื่องที่ในวงพูดกันขึ้นมาคือวาระของจังหวัด ทั้งเรื่องดีและเรื่องที่อยากให้แก้ไขปัญหา เห็นด้วยว่าน่าทดลองเลือกสักหนึ่งเรื่องที่น่าเป็นประเด็นสื่อสาร ลองดูว่าคนลำปางตอบรับกับการสื่อสาร และคนฉุดคิด สื่อนั้นและสร้างการเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน อยากชวนหลังจากเวทีนี้ ในมุมมองของสื่อมีแรงเคลื่อนในพื้นที่กำลังเคลื่อนเรื่องอะไร ที่สามารถนำออกมาเสนอให้คนลำปางได้อย่างไร ?
“ปลุกฟื้นเศรษฐกิจของลำปางด้วย Soft power เล่าเรื่องแต่ละประเด็นที่เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ครอบคลุมทุกประเด็นที่อยากจะเล่าได้ เช่น ปลุกแม่น้ำวังลำปางที่แย่กว่านี้ในปี เป็นต้น”
หลังจากนี้สิ่งที่สำคัญของพวกเขาคือ การทำงานร่วมกัน เพราะลำปางไม่ได้ขาดคนเก่ง คนเก่งมีเยอะ มีเรื่องราวที่น่าสนใจเยอะ เหลือแค่การร้อยเรียง เป็นโอกาสหนึ่งที่เราจะ “ลำลอง” ทดลองสิ่งที่พวกเขาอยากทำ สิ่งที่สำคัญคือการทำงานร่วมกันคือคนในพื้นที่
(ตามภาพจากซ้ายไปขวา) : บาส,ก้าว,พริม,กิ๊ฟ,ฟาง,โม, เลย์, เคน, เบญและเนย นี่คือหน้าตาของคนรุ่นใหม่ ที่อาสาเข้ามาเป็นทีมเชื่อมประสาน เป็นนักสื่อสารสร้างสรรค์ และริเริ่มกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในปีนี้ยาวไปจนถึงกลางปีหน้า ฝากติดตามเป็นกำลังใจให้ทีมเมืองลำปางด้วยนะคะ