ประวัติ ศาสตร์ทางการเมืองไทยในด้านปฏิวัติ รัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองและ กบฏ จะต้องมีการเพิ่มหน้าใหม่ขึ้นอีกหนึ่งมาแน่นอนที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการจบด้วยวิธีใดก็ตาม เพราะการชุมนุมครั้งนี้นั้นก่อสร้างเรื่องราวต่าง ๆ ไว้มากมายทุกด้าน แต่ยังหาเรื่องดีไม่ค่อยได้เลยสักนิด เป็นเพียงการชุมนุมเรียกร้องในสิ่งที่ไม่สามารถเป็นไปได้ด้วยการยึดสถานที่ ราชการ ยึดสถานีโทรทัศน์ ทรัพย์สินของทางราชการสูญหายไปจำนวนมากโดยไม่มีใครที่จะรับผิดชอบเพราะบาง สิ่งบางอย่างไม่สามารถจะจัดหามาทดแทนได้เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถเรียกได้ ว่าเป็นประวัติศาสตร์วัตถุล่าสุดผู้นำการชุมนุมยังบุกเข้าไปใช้ตึกสันติ ไมตรีเป็นฐานที่ตั้งและเป็นสำนักงานของตนเอง ซึ่งเป็นการที่ไม่สมควรอย่างยิ่งและไม่เป็นไปตามคำสั่งของศาลแพ่งที่บอกว่า เป็นการกระทำที่ไม่รุนแรง สงบ สันติ ซึ่งเป็นการขัดกับความรู้สึกของประชาชนจำนวนหนึ่งเลยละครับ มิได้เป็นผู้ชำนาญการด้านกฎหมายแต่ก็เห็นประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยพอใจการคำ สั่งนี้เท่าไรนัก
หัน มามองว่าประวัติศาสตร์ทางการเมืองในด้านการยึดอำนาจนั้นมีกี่ครั้งและมีอะไร บ้างผมขอนำมาเรียนให้ทราบดังนั้นคือ การกบฏจำนวน12 ครั้ง,การปฏิวัติ 1 ครั้งและการกระทำการรัฐประหารจำนวน8 ครั้งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนรัฐบาลหรือคณะผู้ ปกครองหรือการเปลี่ยนกติกาการปกครองหรือรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกประเทศปกติรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศย่อม กำหนดวิธีการเปลี่ยนแปลงไว้ เช่น ให้มีการเลือกตั้งทั่วไปทุก 4 ปี หรือ 5 ปี หรือเลือกประธานาธิบดีทุก 4 ปี หรือ 6 ปี
เพื่อให้โอกาสประชาชนติด สินใจว่าจะให้บุคคลใดหรือกลุ่มพรรคการเมืองใดได้เป็นผู้ปกครอง และกำหนดวิธีการเปลี่ยนแปลงหลักการหรือสาระของรัฐธรรมนูญหรือแม้กระทั่ง สร้างรัฐธรรมนูญใหม่แทนฉบับเดิมการเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการดังกล่าวข้างต้น ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยสันติวิธี และเป็นวิถีการที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างไรก็ตามทีการเปลี่ยนแปลงอีกวิธี หนึ่งที่ถือว่าเป็นวิธีการรุนแรงและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย นั่นก็คือการใช้กำลังเข้าข่มขู่ เช่น ใช้กองกำลังติดอาวุธเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลเดิมไล่คณะรัฐมนตรีออกไปและตั้ง คณะรัฐมนตรีใหม่ โดยกลุ่มของคนที่ยึดอำนาจเข้ามาแทนที่หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมแล้วร่าง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ปรีชา ตรีสุวรรณ
อดีตกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร
ผู้ชำนาญการค้า การลงทุนในต่างประเทศ