อยู่ดีมีแฮง : กองบุญข้าวปันสุข แก้ไขความจนด้วยงานวิจัย

อยู่ดีมีแฮง : กองบุญข้าวปันสุข แก้ไขความจนด้วยงานวิจัย

“ลำบากถ้าหากว่าเราไม่มีข้าวกิน เพราะกินอะไรเข้าไปก็ไม่รู้สึกสบายท้องนะถ้าไม่ได้กินข้าว ถ้าเรามีข้าวยุ้งฉาง แม้ว่าจะเผชิญความทุกข์ยากและลำบากแค่ไหนเราก็ไม่กังวล”  

นี่เป็นคำบอกเล่าจากพ่อสุพล ศรีภูธร ชาวบ้านหนองทับม้า อ.เสนาคนิคม จ.อำนาจเจริญ ที่ให้ความสำคัญของการมีข้าวไว้เป็นอันดับต้น ๆ สำหรับความมั่นคงในการดำรงชีวิต ซึ่งแกเป็นใน 40 คน ที่เข้ามาขอกู้ยืมข้าวจากกองบุญข้าวปันสุข เพราะข้าวที่มีอยู่ในยุ้งฉางไม่พอกินให้พ้นฤดูกาลได้

“ถ้าจะไปหายืมจากญาติพี่น้อง เราก็เกรงใจเขา แต่เราก็ถ้าซื้อข้าวสารมา กิโลกรัมหนึ่งก็ 30 บาทแล้ว หูงทีสองทีก็หมดแล้ว การที่มีกองบุญข้าวปันสุขนี้ช่วยพวกเราที่มีข้าวน้อยได้เยอะมากเลย”

กว่าจะได้เกี่ยวข้าว ก็เป็นเดือนพฤศจิกายน มันก็ทิ้งช่วงไปหลายเดือน บางครั้งข้าวของชาวบ้านก็ไม่พอกิน เราก็เปิดโอกาสให้ชาวบ้านมากู้ยืมข้าวเพื่อเอาไปกิน โดยเราก็จะตั้งเป็นกองบุญข้าวไว้

จังหวัดอำนาจเจริญ มีผลสำรวจจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งข้อมูลระบุว่ามีคนจนจำนวนมาก และอ.เสนาคนิคมก็เป็นหนึ่งในนั้น ทางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ก็ลงมาเก็บข้อมูลความยากจน  ซึ่งมีรายชื่อระบุมา 42 ครัวเรือน เมื่อสำรวจข้อมูลต่าง ๆ แล้ว พบว่า 1.ชาวบ้านไม่มีที่ทำกิน นี่เป็นปัญหาใหญ่ 2.ข้าวไม่พอกิน ได้กินไป 2-3 เดือนก็หมด บ้างคนไม่มีที่นา ก็คือไม่มีข้าวกินเลย นั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ของการนำข้อมูลจากงานวิจัยมาร่วมกันหาทางออกของปัญหาความจน

“ก็เลยมาคุยกันว่าเราจะทำอย่างไร จะมาช่วยคนกลุ่มนี้อย่างไร เราก็เลยเรียกประชุม ทั้งกรรมการหมู่บ้าน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมาคุยกัน”

นายยุทธนา บัวศรี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11บ้านหนองทับม้า ตำบลเสนาคนิคม อำเภอเสนาคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวถึงวิธีเริ่มต้นทำงาน

“เราเคยมีประเพณีเกี่ยวกับการกู้ยืมข้าว ก็มารื้อฟื้น คุยกันอยู่หลายเวที คุยกันอยู่หลายครั้ง จึงตกผลึกกันว่า จะรื้อฟื้นฉากข้าวนี้กลับมา แต่เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็นกองบุญข้าวปันสุข ซึ่งในกองบุญข้าวปันสุข” ซึ่งอาจารย์วินิช บุตรี ยังเล่าให้เราฟังต่ออีกว่า

“เขาก็จะแบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่มีข้าว ที่มีความสามารถเอามาใส่ มาฝาก มาเติมได้ บริจาคได้ และเขาก็ไม่จำเป็นต้องยืม แต่ก็จะมีข้าวมาฝากออมไว้ เป็นการทำบุญช่วยคนอื่น อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ข้าวไม่กิน อันนี้ก็สามารถมากู้จากที่นี่ไปกินและก็ส่งคืนได้”

การก่อตั้งกองบุญข้าวขึ้นมาไม่เพียงแต่ช่วงรื้อฟื้นวัฒนธรรมเดิมให้กลับคืนมา แต่ยังเกิดผลให้คนที่ข้าวไม่พอกิน ไม่มีไร่นาได้มากู้ยืมด้วย ซึ่งในรอบแรกเปิดสิทธิ์ให้ 40 คนแรกที่มีความต้องการข้าวมากที่ก่อน ซึ่งพ่อสุพล ศรีภูธร และแม่คำดี บุญสร้าง ก็เป็นหนึ่งในนั้น

“ประมาณ 200 กว่ากิโลกรัม เพราะว่ามัน 8 กระสอบที่ผมกู้มา เพราะว่ามันไม่มีอยู่มีกิน เรามันกลุ่มเป้าหมายที่ 1 เขาเลยให้กู้ก่อน เขาเห็นความสำคัญเราก่อนเลยให้ก่อนกลุ่มอื่นเลย”

“ดีคะ สำหรับคนที่มีไม่พอกิน ได้มากู้มายืมก็ถือว่าดีมากคะ เพราะเราเองก็มีที่นาน้อย ฝนแล้ง น้ำท่วมที ก็ไม่พอที่จะกินแล้ว”

การตั้งกองบุญข้าวปันสุขไม่เพียงแต่เปิดพื้นที่ให้คนที่ขาดแคลนมากู้ยืมข้าวเท่านั้น แต่มันยังเป็นพื้นที่แบ่งปันสำหรับคนมีข้าวเยอะ คนที่อยากร่วมบุญกับคนในชุมชนด้วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ ที่ให้คนในหมู่บ้านได้มาดูแลคนบ้านเดียวกัน และนอกจากนั้นยังได้ตั้งกองทุนข้าวโดยใช้งบสนับสนุนกิจกรรมมาซื้อหุ้นโรงสี และรับผลตอบแทนเป็นข้าว ซึ่งพี่แสบ สิริศักดิ์ ทองแก้ว ประธานกลุ่มโรงสีข้าวก็มองว่า

“ถ้าวันหนึ่งไม่มีข้าวมาบริจาค คนนั้นก็ไม่มี คนนี้ก็ไม่มี แล้วเราจะเอาข้าวมาจากที่ไหน และเราก็มีโรงสีข้าวชุมชนของเราอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจุดรับซื้อข้าวจากสมาชิกทั้งหมดไว้อยู่แล้ว ซึ่งเราเป็นตัวแทนของชุมชนในการรับซื้อ ดังนั้นก็ไม่ต้องออกไปซื้อข้าวจากพ่อค้า ให้มาซื้อจากโรงสีของชุมชนแทน เพื่อเอาไปช่วยเหลือกัน”

และให้ทางกองบุญข้าวซื้อหุ้นของโรงสีข้าวจำนวน 8 หมื่นบาท และจ่ายผลตอบแทนเป็นข้าว ซึ่งอาจารย์ธวัช มองว่านี้เป็นครึ่งแรกที่เกิดขึ้น และผลกำไรตรงนั้น มาแจกจ่ายกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้ง 43 คนนี้ด้วย

“เป็นครั้งแรกที่โรงสี นั้นรับกองบุญข้าวเป็นนิติบุคคลเข้าไปถือหุ้น พอถือหุ้นแล้วมันก็ยิ่งเสริมความมั่นใจว่าคนที่ไม่มีข้าวกินเขาจะมีดอกผล มาซื้อข้าวให้เขากินได้ตลอดทั้งปี”

ซึ่งงานวิจัยที่ทางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนำทีมลงไปช่วยชาวบ้านคนหารากของปัญหาและทางออกที่ชาวบ้านต้องการแล้ว การทำงานวิจัยเรื่องนี้ยังจะเป็นฐานข้อทมูลที่ทุกหน่วยจะได้นำไปใช้ต่ออย่างตรงกับบริบทของชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญมากที่สุด

“งานวิจัยนี่มันช่วยให้คนเข้าใจความจนรอบด้านมากที่สุด เพราะว่าคนในท้องถิ่นทุกภาคส่วนได้มีโอกาสนิยามความจนร่วมกัน เราไม่อาจจะพูดถึงการพัฒนาแบบเสื้อโหลหรือเหมารวมได้ มันต้องถูกพิจารณาบนเงือนไขและบริบทของแต่ละที่”

การที่เราได้ชุดข้อมูลขึ้นมาอันหนึ่งนี้มันสำคัญมาก ต่อการขับเคลื่อนทั้งองคาพยพ ความคาดหวังของงานวิจัยคือว่าให้ทั้งจังหวัดใช้ข้อมูลงานวิจัยชุดเดียวกันในการที่จะแก้ไขปัญหาความยากจน เพราะว่าที่ผ่านมา ข้อมูลมันผ่านมาจากกระทรวง ทบวง กรม แต่ละกระทรวงก็จะใช้ฐานข้อมูลไม่เหมือนกัน และไม่มีการผสานกันแบบนี้.

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ