เปิดหลังเล่ม CHIA ฉบับคนอมก๋อย กว่าจะเป็นหลักฐานฟ้องศาลปกครองถอน EIA เหมืองถ่านหิน

ช่วงเย็นของวันที่ 3 เม.ย. 2565 ลานเสรีภาพหน้าตึกคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถูกเปลี่ยนให้เป็นเวทีสาธารณะขนาดย่อม เปิดให้เครือข่าย คนอมก๋อยและภาคี จัดเวทีในชื่อ “จุดแสงสว่างกลางหุบเขา กะเบอะดิน ดินแดนมหัศจรรย์” เพื่อเปิดตัวรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน ด้วยตัวแทนชาวบ้านมานำเสนอร่วมข้อค้นพบ และการเติมเต็มความเห็นจากภาคีที่เกี่ยวข้อง ดังปรากฏรายงานข่าวก่อนหน้านี้  ทีมสื่อพลเมือง ชวนไปมองสิ่งที่น่าสนใจ และเบื้องหลังกว่าจะมาเป็นรายงานศึกษาที่ชุมชนภูมิใจ และใช้เป็นหลักฐานสำคัญประกอบการยื่นฟ้องถอน EIA เหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย ของบริษัทที่ปรึกษาในวันที่ 4 เม.ย. 2565 เยาวชน–ชาวบ้านร่วมเก็บข้อมูล 2 ปีเศษ จนพบคำตอบของชุมชน ธนกฤต โต้งฟ้า ผู้ประสานงานภาคีเครือข่ายปกป้องอมก๋อยจากถ่านหิน ต้องบอกว่าชาวบ้านเขาไม่เคยเจอกับเหตุการณ์ หรือโครงการอะไรแบบนี้มาก่อน เขาก็ใช้จำนวนมวลชนเป็นหลักในการต่อสู้ รวมตัวหรือตั้งขบวนไปต่อต้าน แต่ส่วนสำคัญหนึ่งที่เราสามารถต่อสู้ในระบบได้คือการใช้ข้อมูลชุมชน จึงทำให้ชุมชนร่วมกับพี่เลี้ยงพยายามหาเครื่องมือที่ชุมชนจะเก็บข้อมูลเบื้องต้นของชุมชนได้ เพื่อเอาไว้ใช้สนับสนุนการเคลื่อนขบวน เพื่อคัดค้านเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย  ในช่วงแรกเป็นอะไรที่ท้าทายมาก ชาวบ้านไม่เคยเขียน ไม่เคยเก็บข้อมูลแบบนี้มาก่อน จึงทำให้กระบวนการออกแบบ และการลงมือเก็บข้อมูลใช้เวลาเกือบ 2 ปี พวกเราเริ่มต้นจากการอธิบาย concept ของการทำ CHIA ชวนเยาวชนรวมกลุ่มกัน แบ่งหน้าที่และบทบาทในการทำข้อมูลชุมชนร่วมกับพี่เลี้ยง ซึ่งพี่เลี้ยงจะเป็นให้คำแนะนำ วางแบบฟอร์มต่าง ๆ ร่วมกับน้อง ๆ แล้วไปเดินสำรวจบางที่ที่เขาไม่เคยไป ระหว่างมันก็ทำให้หลายคนรู้สึกว่าสิ่งที่เขาเจอ สิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่มันมีคุณค่า เขาสามารถบอกกับสาธารณะได้ว่าพื้นที่แห่งนี้ไม่ควรจะมีเหมืองเลย “กระบวนการเก็บข้อมูลชุมชน มันคู่ไปพร้อมกับเรียนรู้ พอทีมงานเก็บข้อมูลไปได้สักพัก เขาก็พยายามสื่อสารภายในชุมชนกันเอง ว่ามันมีเรื่องอะไรที่ไม่รู้มาก่อน กลายเป็นคุณค่าที่สามารถใช้อาวุธสำคัญในการต่อสู้กับข้อมูลของทางฝั่งบริษัท ซึ่งก็คือ EIA ซึ่งฝั่งของเราเรียกว่า CHIA” … Continue reading เปิดหลังเล่ม CHIA ฉบับคนอมก๋อย กว่าจะเป็นหลักฐานฟ้องศาลปกครองถอน EIA เหมืองถ่านหิน