ขบวนคัดค้านเหมืองแร่ถ่านหิน : สู้ด้วยข้อมูลชุมชน ชัยชนะของคนอมก๋อย

เมื่อ 30 กว่า ปีที่แล้ว มีกลุ่มคนนอกเข้ามาในชุมชน และขู่พวกเราให้ยอมขายที่ดิน ถ้าไม่ยอมขายก็จะโดนยึด ที่ดินฟรีๆ เราก็เลยต้องยอมขายให้เขา คำบอกเล่าจากผู้เฒ่าคนหนึ่งในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านกะเบอะดิน คำกล่าวข้างต้นคือเหตุการณ์เมื่อ 35 ปีที่แล้ว ที่ชาวบ้านถูกขู่และถูกบังคับให้ขายที่ดินของตัวเองอย่างไม่เต็มใจ โดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างบนที่ดินแห่งนี้ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งต้นน้ำ  ผืนป่าจิตวิญญาณของบรรพบุรุษ เป็นพื้นที่เพาะปลูก และเป็นแหล่งทรัพยากรที่ชุมชนพึ่งพาตามวิถีวัฒนธรรมชนเผ่ากะเหรี่ยงที่สืบทอดกันมาเป็นร้อยปี กระทั่งเวลาผ่านไปกว่า 20 ปี ในปี พ.ศ. 2562 ชุมชนจึงได้รู้ว่าพื้นที่ทำกินและผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้จะกลายเป็นพื้นที่ตั้งของโครงการเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย ใบปิดประกาศการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ของหน่วยงานรัฐ เป็นจุดเริ่มต้นให้ชุมชนต้องลุกขึ้นมาคัดค้านแสดงจุดยืนไม่เอาเหมืองแร่ถ่านหิน โดยการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีทั้งเยาวชน ผู้หญิง และผู้เฒ่า เริ่มจากการทำความเข้าใจขั้นตอนต่าง ๆในการทำเหมืองแร่ และศึกษาเนื้อหา กระบวนการต่างๆทั้งหมดของการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ (EIA) ที่ข้อมูลทั้งหมดล้วนมาจากการจัดทำของบริษัทที่ปรึกษาที่ได้รับการว่าจ้างจากเจ้าของโครงการ และพบว่าเนื้อหาต่างๆนั้นไม่ได้ตรงกับข้อเท็จจริงในพื้นที่เลยแม้แต่น้อย และที่สำคัญตลอดระยะเวลาการศึกษาทำรายงานอีไอเอของบริษัทนั้น ชุมชนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมเลยแม้แต่ขั้นตอนเดียว เพื่อให้เสียงของชุมชนซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่ากลุ่มเล็กๆถูกเปล่งออกไปสู่สาธารณะอย่างมีพลังและสร้างผลกระทบต่อสังคมได้อย่างแท้จริง ชุมชนจึงได้มีการขับเคลื่อนขบวนต่อสู้ในหลายรูปแบบ ทั้งการยื่นหนังสือ การเจรจา สร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการต่อสู้จากชุมชนอื่น  เพื่อออกมาคัดค้านโครงการเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย ร่วมกับคนอมก๋อยและภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมอย่างเข้มแข็ง แต่การต่อสู้ทั้งหมดจะไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีเหตุผล ชัดเจนและตรงไปตรงมาหากไม่มีข้อมูล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการมาสนับสนุนขบวนต่อสู้  จึงนำมาสู่กระบวนการจัดทำข้อมูลชุมชนโดยการทำรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน หรือ … Continue reading ขบวนคัดค้านเหมืองแร่ถ่านหิน : สู้ด้วยข้อมูลชุมชน ชัยชนะของคนอมก๋อย