สุ้มเสียงต่อโครงการคลองผันน้ำเลี่ยงเมืองอุบลราชธานี

สุ้มเสียงต่อโครงการคลองผันน้ำเลี่ยงเมืองอุบลราชธานี

นับจากปี พ.ศ. 2562 จังหวัดอุบลราชธานี ได้ประสบปัญหาอุทกภัยจากอิทธิพลของภายุโพดุล และพายุคาจิกิ ทำให้ระดับในลำน้ำมูลเอ่อท่วมสูง ทำให้เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยในพื้นที่ได้รับความเสียหายอย่างมาก ทั้งบ้านเรือนที่พักอยู่อาศัยและทรัพย์สิน เป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นเป็นประจำเกือบทุกปี

กรมชลประทานได้มองเห็นจุดของปัญหา เข้ามาช่วยเหลือหาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมให้ไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องจากสภาพพื้นที่และระบบลำน้ำ มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับพื้นที่ ลุ่มน้ำข้างเคียงและระบบลุ่มน้ำหลักและการคาดการที่สามารถบูรณาการทั้งปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี

การออกแบบคลองน้ำเลี่ยงเมืองอุบลราชธานี แนวทางการผันน้ำเลี่ยงเมืองเพื่อการบรรเทาอุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าแนวทางผันน้ำโดยน้ำจากห้วยขะยุงร่วมกับแม่น้ำมูลมีความเหมาะสมสูงสุด โดยระบายน้ำใต้ 1,200 ลบ.ม/วินาที และระบายลงสู่แม่น้ำมูลผ่านทางห้วยกว้างรวมความยาวคลองผันน้ำ 96.896 กม.

ผลกระทบต่อโครงการสภาพส่วนมากเป็นนาข้าวและมีพืชไร่แทรกอยู่บ้างในบริเวณคลองผันน้ำตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ

การก่อสร้างและดำเนินโครงการก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญ ได้แก่ การเวนที่ดิน ทรัพย์สินที่ดิน ที่ได้รับผลกระทบ 8,819.99 ไร่

ผลประโยชน์จากพัฒนาโครงการ ลดพื้นที่น้ำท่วม ในเขตชุมชนและพื้นที่การเกษตร เพิ่มพื้นที่ชลประทานในช่วงฤดูแล้งตามแผนพัฒนาโครงการ มีเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำ

จากได้ลงพื้นที่ห้วยตองแวด เป็นลำน้ำของห้วยข้าวสารรับน้ำจากห้วยยอดและไหลไปตามห้วยตองแวดประมาณ 15 กิโลเมตรอ ก่อนจะไหลลงสู่ห้วยข้าวสาร โดยต้องทำการปรับปรุงลำน้ำให้ใความกว้างท้องคลอง 112 เมตร ลึก 9 เมตร สามารถลองรองรับปริมาณน้ำที่ผันมาได้และที่กม.41+593 ของคลองผันน้ำจะก่อสร้างอาคารรับน้ำเพื่อรับน้ำจากห้วยข้าวสารลงสู่คลองผันน้ำ

นางนวรินย์ คำบุญมา ‘’ที่ผ่านมายังไม่มีใครมาแจ้งอะไรเลย แม่คิดว่าน้ำต้องล้นขึ้นมาหมู่บ้านแน่นอน แม่คิดว่าถ้ามีจริงๆ ต้องเดือดร้อนแน่นอน แม่คงไปปรึกษารู้เรื่องที่ดีที่สุด กลัวทุกอย่างความลำบากที่จะมาหาครอบครัวจะลำบากมาก มันจะไม่เหมาะสม เพราะว่าแม่ไม่มีที่ดินที่อื่นที่จะย้ายไป

“ต้องการเงินก้อนที่จะเยียวยา ต้องไปซื้อที่ปลูกบ้านใหม่ ต้องให้เหมาะสมกับแม่ถึงจะย้ายได้ แม่กลัวความความลำบากถึงไม่อยากให้มีคลองเลย แม่อยากให้เป็นธรรมชาติแบบนี้ ต้องการแบบนี้ ธรรมชาติมากที่สุดแล้ว หากินง่าย”

https://youtu.be/wfrQlCuBIRQ

นางลำดวน ปูธะธรรม กล่าวว่า ถ้าอยากให้ทำไหม ‘’คือไม่อยากให้ทำ’’

รศ. ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ สาขาสังศาสตร์ คณะศิลปศาตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า ‘’โครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่เนื่องจากว่าเป็นโครงการที่ความมกว้างของคลอง กว่า 200 เมตร และยังผ่านอำเภอถือว่าใช้งบประมาณมหาศาล ส่วนตัวคิดว่าเป็นเป็นโครงการที่จะต้องศึกษาอย่างรอบคอบมีการประเมินผล กระทบอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะสร้างโดยเฉพาะการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบทางสังคม

ต้องเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบคำถาม ออกแบบวิธีการประเมินผล และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและการเยี่ยวยาผลกระทบ หากราษฎร์ ได้รับผลกระทบเชิงลบจากโครงการนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเวนคืนที่ดิน การเปลี่ยนแปลงระบบน้ำ การเปลี่ยนพืชพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงอาชีพของชาวบ้านที่อาศัยแถบแหล่งน้ำ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงอาหารของชาวบ้านที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปหลังจาก มีการสร้างโครงการคลองผันน้ำ’’

ผลกระทบต่อโครงการคลองผันน้ำ ห้วยตองแวด บ้านศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

จากการที่ได้สัมภาษณ์ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับการที่จะขุดคลองผันน้ำ อาจะเกิดน้ำท่วมไม่มีที่ทำมาหากิน เสียที่ดินที่นาธรรมชาติ  และทรัพย์สินต่างๆ คลองมีประโยชน์ต่องชาวบ้านมาก เพราะมีปลาไว้ทำอาหารและสร้างเป็นนอาชีพได้ เงินที่เยียวยาพอไหม ต้องพอที่จะไปสร้างที่อยุ่ใหม่ ในภาพรวมความคิดเห็นของชาวบ้านไม่อยากให้สร้างคลองผันน้ำ’’

ความคิดเห็นนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะศิลปะศาสตร์ สาขาพัฒนาสังคม ได้ลงพื้นที่ห้วยตองแวด  ‘’ไม่อยากให้สร้างเพราะน้ำอาจจะล้นออกจากคลองส่งผลกระทบต่อชุมชนหมู่บ้านระแวงนั้น  หอพัก และมหาลัยอุบลราชธานี   ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านและสิ่งแวดล้อม’’

author

เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง related posts

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ