เร่งแก้ไขด่วน! รถบรรทุกทำทรายเกลื่อนถนน ชาวบ้านร้องปัญหาอุบัติเหตุถี่

เร่งแก้ไขด่วน! รถบรรทุกทำทรายเกลื่อนถนน ชาวบ้านร้องปัญหาอุบัติเหตุถี่

ผลกระทบจากรถบรรทุกขนดิน – ทราย ร่วงหล่นตามท้องถนน คือปัญหาเรื้อรังของชาวบ้านที่อยู่อาศัยริมเส้นทาง ถนน 3412 บางบาล – ผักไห่ ใน อ.บางบาล และ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่แบกรับกันมานานตั้งแต่ช่วงหลังน้ำที่ท่วม เดือนตุลาคม 2564 จนถึงเดือนมกราคม 2565  ที่ผ่านมา ชาวบ้านรวมตัวร้องเรียนกับผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ต.บางหลวงโดด อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ถึงผลกระทบจากทรายที่ร่วงบนท้องถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุกับแรงงาน และผู้ปกครองที่รับส่งนักเรียนบริเวณนั้นบ่อยครั้ง

แยกมิยาซากิ ถ. 3412 บางบาล – ผักไห่ ใน อ.บางบาล และ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา

นายสามารถ ทองงาน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 เล่าว่า ที่ผ่านมา ชุมชนพยายามช่วยกันแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชนมาโดยตลอด ทั้งการปรับภูมิทัศน์ริมถนน ติดตั้ง แก้ไข และซ่อมแซมป้ายเตือน ป้ายบอกทางและป้ายสัญญาณต่าง ๆ มีการระดมทุนกันติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณสี่แยกทั้งสองฝั่งคลองบางหลวง รวมทั้งประสานงานกรมทางหลวงฯ มาขยายไหล่ทาง ปรับปรุงผิวถนน และทำจุดกลับรถใต้สะพาน เพื่อแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชน

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 กล่าวด้วยว่า ความพยามของชาวบ้านทำให้อุบัติเหตุในชุมชนลดลงไปได้มากในปีที่ผ่านมา แต่ปัญหายังไม่หมดไป จุดนี้อยากเรียกร้องผู้เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหา

ถนน 3412 บางบาล – ผักไห่ ใน อ.บางบาล และ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา

ล่าสุด เมื่อช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 กลุ่มชาวบ้านร่วมตัวกันทำประชาคม โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) ตำรวจ ฝ่ายปกครอง มาพูดคุยกันที่อาคารอเนกประสงค์ หมู่ 3 ต.ทางช้าง อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ ตอนนี้ปรับปรุงแก้ไขเบื้องต้น โดยการวางแบริเออร์ในทางเอก

ทั้งนี้ ในส่วนของชาวบ้านมีข้อเสนอ 8 ข้อให้กับบริษัทบ่อดิน – ทราย 8 ข้อ คือ 1. ก่อนออกรถตรวจเช็ครอให้ทรายแห้งก่อน แล้วค่อยให้รถออกทางเดินทางจากบ่อทรายได้ เพราะทรายเปียกไหลลงพื้นถนน 2. รถบรรทุก ทุกคันต้องคลุมผ้าใบระหว่างเคลื่อนย้ายดิน – ทราย

3. รถทุกคันต้องไม่บรรทุกน้ำหนักเกินข้อกฎหมายกำหนด 4. รถบรรทุกที่ขับผ่านบริเวณเขตชุมชนต้องชะลอความเร็ว 5. รถบรรทุกทุกคันจะต้องไม่มีการดัดแปลงสภาพ ถ้ากรณียางบังโคลนของรถยื่นออกเกินตัวรถ จะต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน 6.ต้องมีการช่วงเวลาในการขับของรถบรรทุก และงดใช้เสียงแตรในบริเวณเขตชุมชน เพื่อลดมลพิษทางเสียง โดยเฉพาะเวลากลางคืน

7. เจ้าหนาที่ตำรวจ ขนส่ง และอบต. จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งคัด และ 8. จัดเจ้าหน้าที่มาทำความสะอาดชุมชน หรือใช้รถกวาดถนน เพื่อความปลอดภัยของคนในชุมชน

ในมุมมองของชาวบ้าน ผลกระทบจากรถบรรทุกดิน-ทรายที่วิ่งผ่านชุมชนวันละหลายสิบเที่ยวทำให้ถนนพัง เกิดมลพิษทางเสียง และฝุ่นละอองที่ฝุ้งกระจายทำคนในชุมชนเจ็บป่วยภูมิแพ้ หอบหืด และทรายที่หล่นบนพื้นถนนทำให้เกิดอุบัติเหตุในชุมชนบ่อยครั้ง

นอกจากนี้กลุ่มชาวบ้าน ได้มีข้อเสนอให้ตำรวจในแต่ละท้องถิ่นมาช่วยดูแล ในการตั้งด่านตรวจจับรถบรรทุกที่ขับผ่านในแต่ละเส้นทาง ในส่วนของท้องถิ่นก็มีการติดตั้งแบริเออร์ตามจุดต่าง ๆ และกล้องวงจรติดบางจุด เพื่อหวังว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุภายในชุมชน ซึ่งต้องมีการติดตามผลกันต่อไป

ทั้งนี้ จ.พระนครศรีอยุธยา มีธุระกิจการขุดบ่อดิน-ทรายจำนวน 50 บ่อ ใน 16 ตำบล รวมพื้นที่ 135.3 ตารางกิโลเมตร รวมกันทั้งบ่อเก่าและใหม่ ซึ่งต้องใช้ถนน 3412 บางบาล – ผักไห่ร่วมกับการสัญจรของคนในชุมชน ในการขนส่งดิน-ทรายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

https://www.csitereport.com/newsdetail?id=0000022211

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ