พลเมืองจับตาสถานการณ์ วันอังคาร ที่ 7 ธ.ค. 2564

พลเมืองจับตาสถานการณ์ วันอังคาร ที่ 7 ธ.ค. 2564

“เราแค่มาทวงสัญญาจากรัฐบาล” คือเสียงของชาวบ้านเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น หลังจากที่เมื่อคืนที่ผ่านมา(6 ธ.ค.)ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมของพวกเขาที่หน้าทำเนียบรัฐบาล และจับกุมชาวบ้านจำนวน 36 คน

วันนี้ (7ธ.ค.64) เวลาประมาณ 10.00 น.ส.ไครียะห์ ระหมันยะ ร่วมกับเยาวชนชาวจะนะ ประมาณ7-8 คนได้เเถลงการณ์ พร้อมอ่านสาสน์ที่ถูกส่งมาจากเป็นพ่อ ซึ่งถูกควบคุมตัวเมื่อคืนที่ผ่านมา

ในสาส์นที่ส่งมาได้ระบุถึงข้อเสนอให้ชาวจะนะยุติการเรียกร้อง เพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดีเอาผิด เเต่ชาวบ้านยืนยันที่จะสู้ ในสาส์นที่ส่งมาได้ระบุถึงข้อเสนอให้ชาวจะนะยุติการเรียกร้อง เพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดีเอาผิด เเต่ชาวบ้านยืนยันที่จะสู้

ชาวบ้านเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เดินทางมาจาก อ.จะนะ จ.สงขลา ประมาณ 40 คน เป็นคนในพื้นที่ ซึ่งมีทั้งเยาวชน ผู้หญิงและเด็ก เดินทางไปถึงกรุงเทพเมื่อช่วงบ่ายวันจันทร์(6 ธ.ค.) ไปที่หน้าทำเนียบรัฐลบาลบเพื่อสมทบไคดียะห์ ระหมันยะ พร้อมอ่านแถลงการณ์ 2 ฉบับ ก่อนที่จะมีการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่รัฐในช่วงประมาณ 2 ทุม

พวกเขามาเพื่อทวงสัญญาเมื่อ 1 ปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 เพื่อเป็นทางออกในการ แก้ไขปัญหาโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ผ่านมาแล้วหนึ่งปีแต่ยังไม่มีความคืบหน้า พร้อมกันนี้เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ได้อ่านแถลงการณ์เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ฉบับที่ 1 ซึ่งข้อเรียกร้องสำคัญ 3 ประการคือ1. รัฐบาลจะตรวจสอบกระบวนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ถึงความไม่ปกติของโครงการทั้งหมด2. รัฐบาลจะจัดให้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงยุทธศาสตร์ หรือ S.E.A. แบบมีส่วนร่วม ที่จะมีคณะศึกษาอันเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เพื่อให้รัฐบาลมีเหตุผลทางวิชาการประกอบการตัดสินใจเดินหน้าหรือยุติโครงการต่อไป 3. ต้องยุติการดำเนินทุกอย่างไว้ก่อน จนกว่าจะศึกษา S.E.A แล้วเสร็จทั้งนี้ ข้อเสนอทั้ง 3 ข้อ ดังกล่าว จะต้องออกเป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรี หรือเป็นมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น.สำหรับโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ มาจากมติจากคณะรัฐมนตรี 7 พฤษภาคม 2562 ขยายผลโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ซึ่งจะลงทุนโดยภาคเอกชนเป็นโครงการขนาดใหญ่ ใช้เนื้อที่กว่า 16,700 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล คือ ต.สะกอม ต.ตลิ่งชัน และต.นาทับซึ่งหากโครงการเกิดขึ้น จะเป็นการเปลี่ยนสีผังเมืองของพื้นที่ 3 ตำบล จากพื้นที่สีเขียว ซึ่งกำหนดเป็นพื้นที่ประเภทชนบทและเกษตรกรรม ให้เป็นพื้นที่สีม่วง เพื่อให้เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมตาม พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2562 ซึ่งชาวบ้านมองว่าไม่สอดคล้องบริบทการเกษตรและประมง ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญของพื้นที่ ซึ่งช่วงที่ผ่านมาเป็นที่รองรับอาชีพให้คนที่กลับจากบ้าน และแหล่งอาหารขนาดใหญ่ให้กับคนเปราะบางในเมืองใหญ่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19

สถานการณ์โควิด-19

  • ภาคเหนือสถานการณ์เริ่มดีขึ้น จ.เชียงใหม่ ยังคงเร่งตรวจเชิงรุก ระดมฉีดวัคซีน จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงแต่ยังต้องเฝ้าระวัง  (95 ราย เสียชีวิต 2 ราย ) เปิดให้ขายแอลกอฮอล์ในร้านอาหารใน 5 อำเภอนำร่อง
  • อีสาน สถานการณ์โควิด-19 เริ่มดีขึ้น ตัวเลขลดลง อย่างที่ จ.อุบลราชธานี แต่แม้ว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะดีขึ้น แต่ก็ยังต้องป้องกันบริเวณด่านชายแดน โดย ผู้ว่าฯอุบลฯกำชับเพิ่มเข้มข้นในการตรวจตราป้องกันการลักลอบเข้าเมือง สกัดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ทุกทิศทาง /ขอนแก่นตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงเช่นกัน 
  • ใต้ ตอนนี้ 4 จังหวัดชายแดนใต้ สถานการณ์ดีขึ้น พบผู้ติดเชื้อราย นครศรีธรรมราช ัวเลขเพิ่มขึ้น อยู่ที่ประมาณ 300 กว่าในแต่ละวัน การฉีดวัคซีนยังไม่ถึง 50% ถ้ามีการระบาดเพิ่มของโอไมครอน อาจจะทำให้จังหวัดที่ระบาดอยู่ตอนนี้หนักขึ้น ซึ่งจะส่งผลกับคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนสูง

ฝุ่นควัน

ภาคเหนือมีการเปิดเพจ สถานีฝุ่น Dust Station สื่อชาวเหนือสู้มลพิษอากาศ เพื่อรายงานสภาพอากาศของเชียงใหม่และภาคเหนือ โดยทีมสภาลมหายใจ

จับตารถไฟจีน-ลาว

การสร้างรถไฟ จีน-ลาว รถไฟไม่ได้ถูกสร้างเพื่อคน แต่เป็นการสร้างเพื่อส่งสินค้า (ซึ่งจีนพูดชัดเจนอยู่แล้วตั้งแต่ตอนจะสร้าง) แล้วเป็นการสร้างเพื่อโกยทรัพยากรระหว่างทางไปจีน และนำผลผลิตจากจีนมากระจายตามประเทศระหว่างทาง เป็นการสร้างเพื่อขยายอิทธิพลของจีน ผลกระทบกับคนเล็กคนน้อยในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนใต้ ตอนนี้ในยังไม่ชัดเรื่องผลกระทบ แต่เรารู้ว่ามันจะเกิดผลกระทบกบคนตัวเล็กตัวน้อยแน่นอน เพราะถ้ามีการขนส่งสิ้นค้าเข้ามา มันก็จะเอื้อประโยชน์ให้ทุนใหญ่ และจีนที่จะมีอำนาจในสนามทางธุรกิจ ตอนนี้ในลาวยังไม่มีการเคลื่อนไหวอะไร เพราะทุกคนกำลังตื่นเต้นกับการมีรถไฟใหม่ และเปิดประเทศ ซึ่งหากเกิดการวิจารณ์ หรือมีการรวมแสดงความคิดเห็น ลาวเองก็จะมองว่า ขัดขวางการพัฒนาของลาว ไม่อยากให้ประเทศลาวเจริญ  หากจะตามประเด็นอิทธิพลจีน ก็มีกลุ่มที่ตามศึกษาอิทธิพลจีน และ BRI ซึ่งก็มีทั้งขั้วที่สนับสนุน และขั้วที่เห็นต่าง 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ