พลเมืองจับตาสถานการณ์ 17 พ.ย. 2564

พลเมืองจับตาสถานการณ์ 17 พ.ย. 2564

พลเมืองจับตาสถานการณ์ทั่วไทยเคลื่อนต่อตั้งคำถามเยียวยาผลกระทบจากน้ำท่วม แม้ได้ไม่คุ้มเสีย แต่ก็ควรต้องได้ทุกคน และจับตาแนวทางจัดการฝุ่นควันเหนือ เน้นแก้ปัญหาปากท้องก่อน

สถานการณ์เครือข่ายพลเมือง

– งานยี่เป็ง เชียงใหม่ในช่วงเย็นนี้ 5 โมงเย็นเป็นต้นไป #เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ จัดงาน #ต๋ามผางปะตี้ดส่องฟ้าฮักษาเมือง เปลี่ยนจัดฟ้อนเป็น #ฟ้อนทิพย์ฟ้อนเทียน ออนไลน์ ปีนี้เน้นมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมและกระจายจุดจัดกิจกรรมเพื่อลดความแออัด หรือบางตำบลมีการงดจัดกิจกรรม ส่วนจังหวัดอื่น ๆ จัดภายใต้มาตรการทางสาธารณสุข

ภาพจาก : เพจเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่

– “ที่ดินต้องเป็นของผู้ถือคันไถ กฎหมายต้องเป็นธรรม” ทวงคืนที่ดินราษฎร 47 ปี รำลึกถึงสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ “จากคุณูปการการต่อสู้ สู่เสรีภาพในการจัดการที่ดินใหม่” ล้มล้างการผูกขาด การจัดการที่ดินไทย ศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายนนี้ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ณ สวนอัญญา เชียงใหม่

– ฝุ่นควันภาคเหนือ ทีม Thai PBS ลงพื้นที่ อ.ลี้ จ.ลำพูน ประชุมร่วมหน่วยงานในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นควัน (จุดนี้เป็นพื้นที่ไฟไหม้สูง ประมาณสองแสนกว่าไร่) ซึ่งจะมีกำหนดการจัดกิจกรรมในวันที่ 10-11 ธ.ค. 64 ซึ่งจะมีทีมหมอจาก รพ.ธรรมศาสตร์ เข้าพื้นที่เพื่อตรวจสุขภาพชาวบ้าน และร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องการปากท้องของชุมชน ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงวิถีอาชีพ (การทำไร่ข้าวโพด, การเลี้ยงวัวในป่า) รวมถึงการแก้ปัญหาเรื่องสิทธิถือครองที่ดิน ซึ่งเป็นปัญหาเดิมของชุมชนอยู่ก่อนแล้ว เพราะมองว่าการแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้จะช่วยลดปัญหาฝุ่นควันในพื้นที่ได้ และชาวบ้านเข้าใจถึงการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นควันมากขึ้น มีทีม Thai PBS ลงไปจัดกิจกรรมในพื้นที่ด้วย (ALTV, เวทีสาธารณะ, อบรมนักสื่อสาร เพื่อสามารถสื่อสารเรื่องราวของพวกเขาเองได้) นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมการทำงานระหว่างสภาลมหายใจในจังหวัดตอนเหนือตอนบน และเหนือตอนล่าง เพื่อจัดคุยให้เห็นทิศทางการขยับต่อในการแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นควันร่วมกัน

– อีสานตามเรื่องการเยียวยาพื้นที่เกษตรหลังน้ำท่วม ทีมอยู่ดีมีแฮงลงพื้นที่บ้านโนนหนองลาด อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เก็บข้อมูลการเยียวยามาด้วยรัฐจ่ายค่าชดเชยน้ำท่วมได้ไร่ละ 1,340 บาท ไม่เกิน 30 ไร่ ยกตัวอย่างชาวนารายหนึ่งทำนา 50 ไร่ ลงทุนไร่ละ 3,000 บาท = 150,000 บาท แต่ได้เงินชดเชยน้ำท่วม 1,340×30 =40,200 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าชาวนาต้องขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ก่อนเกิดภัยพิบัติ และมีขั้นตอนตรวจสอบสิทธิ

– กป.อพช อีสาน ประสานร่วมกับทีมเพื่อนคนไร้บ้านขอนแก่น สนใจอยากทำวงเสวนาออนไลน์ เรื่องปัญหารถไฟ ชวนตัวเเทนคนทำงานหรือตัวเเทนชุมชน จาก 4 จังหวัด (โคราช+ขอนเเก่น+อุดรฯ+หนองคาย) ที่อยู่ในเเนวอพยพรื้อย้ายจากรถไฟความเร็วสูง วางแผนอาจวงเสวนาหารือในช่วงอาทิตย์หน้า

– วันพฤหัสบดี 18 พ.ย.  / วงคุยรับฟังความคิดเห็นสถานการณ์ “การมีส่วนร่วมพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน” เครือข่ายลุ่มน้ำโขงและหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งประมง  นักวิชาการ พระ ไทยพีบีเอสไปเป็นทีมเทคนิคและร่วมแลกเปลี่ยนในวง

– โรคลัมปีสกิน เริ่มระบาดอีกรอบในภาคเหนือ ในเชียงใหม่ สะเมิง และเขตพื้นที่สูง เป็นวัวที่เลี้ยงในป่าของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ ด้านปศุสัตว์มีการมาตรการแก้ปัญหาด้วยการกระจายวัคซีนให้กับกลุ่มเลี้ยงวัวที่ไม่ยังไม่มีการระบาด

– ภาคใต้ / Beach For Life เปิดเชิญชวนให้ร่วมลงชื่อสนับสนุนให้มีการนำเอาโครงการประเภทกำเเพงกันคลื่นทุกขนาด เป็นโครงการที่ต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม(EIA) มองว่าสาเหตุเกิดจากการที่รัฐมองว่า หากต้องทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA และรับฟังความเห็นประชาชน ต่อโครงการก่อสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันตลิ่งริมทะเล  จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนได้ทันท่วงที จึงทำให้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพิกถอนการทำ EIA ออกจากโครงการกำแพงกันคลื่นริมชายฝั่งที่มีความยาว 200 เมตร ขึ้นไป 

– กลุ่ม Trash Mission Thai Mueang ลงเก็บขยะบริเวณทางเข้าเขาหน้ายักษ์ อุทยานแห่งชาติเขาลำปี จ.พังงา เนื่องจากจุดนี้จะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวจำนวนมากในฤดูท่องเที่ยว และเป็นการต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งล่าสุดพบขยะที่มีลักษณะเป็นเม็ดพลาสติกจำนวนหนึ่ง (คล้ายกับที่ฝั่งภูเก็ตเจอ) ซึ่งก่อนหน้านี้ช่วงปลายเดือนมิถุนายน บริเวณหาดท้ายเหมือง เคยพบก้อนน้ำมันลักษณะเดียวกันกับที่ภูเก็ตเจอ และพบในช่วงเวลาเดียวกัน (หลังเหตุการณ์ไฟไหม้เรือบรรทุกสินค้าที่ชายฝั่งศรีลังกา)

หมุด C-Site : พบเม็ดพลาสติกหาดท้ายเหมือง จ.พังงา

สถานการณ์น้ำ

– น้ำท่วมภาคใต้ / ดีขึ้นแล้ว ฝนตกน้อยลง พื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช จ.สุราษฎร์ธานี จ.ชุมชน ตอนนี้อยู่ระหว่างฟื้นฟู และในพื้นที่ลุ่มต่ำยังมีน้ำท่วมขังบางจุด ซึ่งชุมชนริมน้ำก็ยังคงเฝ้าระวัง และเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา

– วงเสวนาเพจอยู่ดีมีแฮง พูดถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านโดยเฉพาะเกษตรกร ตอนนี้ขยับไปเน้นเรื่องการเยียวยาผลผลิตด้านการเกษตร การฟื้นฟู รวมถึงการหาทางออกเรื่องการบริหารจัดการน้ำตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำ

โควิด-19

ภาคใต้ / จังหวัดยะลา นราธิวาส ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง ส่วนจังหวัดสงขลา และปัตตานีตัวเลขคงที่ มีจังหวัดตรัง ที่ต้องจับตาเพิ่มเติมเนื่องจากยังพบการระบาดในโรงงาน มีแผนปรับเกณฑ์พื้นที่สีแดงเข้ม ซึ่งตอนนี้จังหวัดภาคใต้ที่พบผู้ติดเชื้อต่อวันมากกว่า 100 คน จะได้รับการจัดสรรวัคซีนเพิ่มขึ้น และมีการปรับสูตรการฉีดเป็นซิโนแวค + ไฟเซอร์

เชียงใหม่ / ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในจำนวนสูง (339 ราย เสียชีวิต 5 ราย) มีมาตรการเคาะประตูบ้าน ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งคนไทยและแรงงานเพื่อนบ้าน ตั้งเป้าแก้ปัญหาให้ได้ภายในวันที่ 1 ธ.ค. และฉีดวัคซีนให้กับทุกคนในพื้นที่ เครือข่า   ยยังคงลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนน้ำดื่ม อาหารและของใช้จำเป็นให้กับคนที่กักตัวในชุมชนและโรงพยาบาลสนาม เรือนจำ เช่น ในอำเภอฝาง สันทราย เพื่อดูแลกัน นอกจากนี้มีการวางมาตรการตรวจเชิงรุกในหลายโรงเรียน โดยอาจจะเป็นทุก 1-2 สัปดาห์ เพื่อความปลอดภัยของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง

-ขอนแก่น โคราช อุบลราชธานี เริ่มมีการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ส่วนทางมหาวิทยาลัยในอีสานมีการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มนักศึกษา

– ทีมเส้นด้าย และทีม OXY Fight COVID ขยับพื้นที่การทำงานไปต่อในเชียงใหม่ ติดตามเรื่องของการกักตัวทีบ้าน และ ICU รพ.สนาม

– ประเด็นโควิดที่ต้องจับตา คือในช่วงที่มีการเลือกตั้ง อบต. อาจจะต้องจับตาเรื่องการระบาดอีกรอบ และรีเช็คความพร้อมชุมชนในการรับมือหากเกิดการระบาดอีกรอบ พื้นที่ไหนยังมีศูนย์กักตัวชุมชน (CI) อีกบ้าง หรือพื้นที่ไหนปิดไปแล้วบ้าง และตอนนี้มีความพร้อมในการรับมือกับโควิดระลอกใหม่ในชุมชนมากแค่ไหน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ