ชีวิตที่ถูกลืม ผู้ต้องกักชาวอุยกูร์

ชีวิตที่ถูกลืม ผู้ต้องกักชาวอุยกูร์

เหตุการณ์การหลบหนีของชาวอุยกูร์ที่หนองคายเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/718837 ก่อนที่ประนามชาวอุยกูร์ที่หนีออกจาก ตม.หนองคาย 10 คน ว่าทำไมชาวอุยกูร์กลุ่มนี้ถึงสำนึกถึงบุญคุณที่ประเทศไทยได้ให้การดุแล ทำไมไม่อยู่อย่างเรียบร้อย ไม่ต้องสร้างปัญหาอย่างที่เกิดขึ้น แต่จะมีประโยชน์มากกว่าาหากจะย้อนกลับไปดูก่อนว่าทำไมพวกถึงถูกจับ ถูกกัก และต้องพยายามหนีในวันนี้

ชาวอุยกูร์กลุ่มนี้โดนจับและถูกกักขังมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2557 ก็มากกว่า 2 ปีแล้ว และการถูกควบคุมในห้องขังของ ตรวจคนเข้าเมืองที่ไม่ได้ออกแบบมาเป็นสถานที่ควบคุมอย่างเช่นเรือนจำ ไม่ได้มีการแยกพื้นที่ใดๆ ชีวิตของพวกเขาแต่ละวันในสองปีที่ผ่านมาต้องกิน ขี้ อาบน้ำ พักผ่อนอยู่เพียงภายในห้องกักเท่านั้น มันจึงเป็นชีวิตที่ลำบากมากกว่าการมีชีวิตอยู่ภายในเรือนจำ 

นอกเหนือไปจากสภาพของการถูกกักทีแย่กว่าเรือนจำแล้ว พวกเขาไม่รู้เวลาจะต้องถูกกักต่อไปอีกเมื่อไหร่ เป็นการถูกกักโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน  ถ้าพวกเขาไม่พยายามหนี ก็คงตายไปอย่างช้าๆ ภายในห้องกัก ซึ่ก็คงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

แล้วก็โปรดอย่าลืมว่ารัฐบาลทหารของเรานี่แหล่ะที่ได้ตัดสินใจที่จะส่งผู้หญิงและเด็กไปตุรกี ขณะที่ส่งกลุ่มผู้ชายไปประเทศจีน ซึ่งการพรากลูก เมีย จากสามี พ่อ ได้ทำร้ายจิตใจของพวกมากพออยู่แล้ว

รัฐบาลและสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองควรจะต้องรายงานข้อมูลต่อสาธารณะเพื่อให้มีการตรวจสอบ มีคนต่างด้าวที่รอกการผลักดันแต่ไม่สามารถผลักดันถูกควบคุมอยู่ภายในห้องกัก ตม.จำนวนกี่คน แต่ละคนจะมีกระบวนการอย่างไรในการผลักดันออกนอกประเทศ หากมีคนต่างด้าวที่ไม่สามารถผลักดันได้ภายในเวลาที่กำหนดก็จำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการดูแลที่นอกเหนือจากการกักขังควบคุม  

ถ้ารัฐบาลไม่มีนโยบายอะไรที่ชัดเจนกว่ากักขังเขาไปเรื่อยๆ โดยไม่มีกำหนด การมีชีวิตอยู่ของพวกเขา มันก็อาจจะทรมานมากกว่าความตายก็ได้

ไม่มีใครควรถูกกักขังอย่างไม่มีกำหนด 


ลำดับเหตุการณ์กรณีผู้อพยพเชื้อสายอุยกูร์เตอร์ก

มีนาคม 2557 
กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 6 สงขลา พบผู้อพยพชาวอุยกูร์ อ้างว่ามีเชื้อสายเตอร์ก ในพื้นที่ หมู่ที่ 10 ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จึงได้นำตัวคนต่างด้าวทั้งหมดมาที่ บก.ตม.6 และประสานงานกับสถานฑูตตุรกีประจำประเทศไทยเพื่อให้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ จำนวน 259 คน เป็น
– ชาย จำนวน 105 คน 
– หญิง จำนวน 54 คน กำลังตั้งครรภ์ 9 คน อายุครรภ์ประมาณ 8-9 เดือน 
– เด็กประมาณ 100 คน

เมษายน 2557 
มีจำนวนชาวอุยกูร์ที่จับกุมเพิ่มได้อีกหลายจังหวัดชายแดนภาคตะวันออก จำนวนทั้งหมดรวม 355 คน เป็น
– ผู้ชาย จำนวน 167 คน
– เด็กและผู้หญิง จำนวน 188 คน

พฤษภาคม 2557 
หญิงชาวอุยกูร์ที่ตั้งครรภ์คลอดบุตรในระหว่างการถูกควบคุมตัวจำนวน 9 คน
ตุลาคม 2557 
เด็กชายชาวอุยกูร์ ชื่ออับดุลเลาะห์ อายุ 3 ถูกส่งจากอาคารควบคุม ด่านตรวจคนเข้าเมืองปาดังเบซาร์ ไปที่โรงพยาบาลปาดังเบซาร์ ด้วยอาการป่วยเป็นไข้สูง ตัวร้อนและอาเจียน ต่อมาถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลหาดใหญ่ ในวันที่ 28 ตุลาคมโรงพยาบาลหาดใหญ่ตรวจพบว่าเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ธันวาคม 2557 
วันที่ 22 เด็กชายอับดุลเลาะห์ เสียชีวิตที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

มกราคม 2558 
มีความพยายามหลบหนีทั้งจากผู้หญิงในบ้านเด็กและครอบครัว จังหวัดสงขลา และผู้ชายที่อยู่ในอาคารควบคุม ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสงขลาหลายครั้ง จำนวนหนึ่งสามารถหลบหนีได้ บางส่วนถูกจับกลับมา และถูกแยกควบคุมในหลายแห่ง

กรกฎาคม 2558 
วันที่ 1 รัฐบาลไทยส่งเด็ก และผู้หญิงชาวอุยกูร์จำนวน 173 คน ไปประเทศตุรกี
วันที่ 8 รัฐบาลไทยชาวอุยกูร์ 109 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย จำหนวนไม่มาเป็นผู้หญิงกลับประเทศจีน โดยยังคงเหลือชายชาวอุยกูร์ประมาณ 50 คน ที่ยังถูกควบคุมในประเทศไทย

author

เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง related posts

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ