ว่าที่เชฟฝึกหัด จากครัวอาชีวะช่วยโรงพยาบาลสนาม

ว่าที่เชฟฝึกหัด จากครัวอาชีวะช่วยโรงพยาบาลสนาม

ช่วง 1 ปีที่ผ่าน มีเด็กจบใหม่หลักแสนคน ที่จบแบบฝึกงานไม่ปกติ หรือาจไม่ได้ฝึกงาน ในสายสามัญอาจพอใช้วิชาอื่นแทนได้ แต่สำหรับสายอาชีวะ ประสบการณ์จริง ซึ่งจำเป็นหายไป

“ปัจจุบันมีช่องทางมากมาย ทั้งสื่อโซเชียลมีเดีย และมีบริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ เราสามารถนำตรงนี้ ไปใช้ต่อ ในชีวิตประจำวันได้ หากสถานการณ์โควิดยังไม่คลี่คลาย” น้อง น.ส.เพียงรวี ทัพพพันธ์ : นักศึกษา สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง บอกกับเราถึงสิ่งที่เค้ามองต่ออนาคตที่สายวิชาชีพ เธอบอกตัวเองอย่างนี้เพราะรู้สึกว่าเส้นทางอาชีพของเธอดูไม่แน่นอนไปเสียหมด

นักศึกษาสาวอาชีวะ ในช่วงนี้ที่เป็นช่วงฝึกงาน น้องกำลังศึกษาอยู่ชั้น ปวช.2 กำลังจะขึ้น 3 ฝึกงานช่วง 3-4 เดือน ในเทอม 1 / ถ้านักศึกษาชั้น ปวส. 2 ฝึกงานในเทอม 2 ซึ่งเป็นปีที่นักศึกษาด้านวิชาอาหารและโภชนาการ อาชีวศึกษาลำปาง ที่ทุกคนรอคอยเพราะจะได้ไปฝึกงานที่โรงแรม หรือสถานประกอบการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อฝึกประสบการณ์วิชาชีพในที่ ๆ สนใจ เป็นเวลานาน 4-5 เดือน แต่การระบาดของโควิด-19 ทำให้การฝึกงานต้องยกเลิกไป บ้างเป็นเพราะถูกปฏิเสธจากโรงแรมหรือรีสอร์ท สถานประกอบการต่าง ๆ ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากโรคระบาด บ้างถูกขอร้องจากครอบครัวให้งดการเดินทางเพราะไม่มั่นใจในสถานการณ์

ภาคธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโรคโควิด-19 การระบาดระลอกใหม่ ๆ ทำให้แผนการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นระยะ ๆ ขณะที่ภาครัฐบังคับใช้มาตรการห้ามทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องทำให้สถานประกอบการต้องปิดชั่วคราวหรือไม่ก็ปิดกิจการถาวร สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เพียงกระทบผู้ประกอบการ แรงงานในภาคท่องเที่ยว แต่ยังกระทบกับบรรดานักเรียน นักศึกษาด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่รักและใฝ่ฝันอยากจะประกอบอาชีพในธุรกิจท่องเที่ยวด้วย

ประชาชนไปต่อ // พามาดูวิธีให้น้อง ๆ ในสายพานอาชีพนี้ได้ไปต่อ “ภาควิชาอาหารและโภชนาการ วิทยาลัยอาชีวะศึกษา” ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดทั้งเรื่องการเรียน การฝึกงานและอนาคตในการทำงาน รวมถึงวิธีการปรับตัวของอาจารย์ผู้สอนในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เปิดเทอม 1 / 2564 ที่วิทยาลัยอาชีวะศึกษาลำปาง ที่มีการจัดการเรียนการสอน ในรูปแบบออนไลน์ 100 % ซึ่งในสายวิชาชีพดูเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร

เพราะไม่ได้มีวิชาทฤษฎีเพียงอย่างเดียว ขึ้นชื่อว่าสายอาชีพแล้วจะต้องมีคลาสเรียนที่เรียนแบบลงมือปฎิบัติจริง

ถึงอย่างไรแล้ว เด็ก ๆ ต้องไปต่อ จุดหนึ่ง คือ ที่วิทยาลัยอาชีวะศึกษาลำปาง น้องนักศึกษาและคุณครูนำวิชาที่เรียน เชื่อมความรู้ นำไปสู่การลงมือทำจริง ให้นักศึกษาสามารถฝึกประสบการณ์ตรงที่เรียนด้านโภชนาการ ผ่านการลงมือปรุงอาหารช่วยโรงพยาบาลสนาม ฝึกงานไปด้วย เป็นอาสาไปด้วย ผ่านครัวของวิทยาลัย

อาหารที่เราเห็นอยู่นี้ ไม่ใช่เชฟโรงแรม 5 ดาว หรือร้านอาหารที่ไหน แต่เป็นฝีมือของน้อง  ๆ นักศึกษา สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ และสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง ใช้เวลาช่วงโควิดในคลาสเรียนตอนนี้ ปรับรูปแบบการฝึกประสบาการณ์วิชาชีพ ใช้พื้นที่ในวิทยาลัย ซึ่งมีโรงอาหารที่มีอุปกรณ์ทำครัว พร้อมสำหรับทำอาหาร รังสรรค์เมนูที่แยกระหว่าง เมนูของบุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาลสนาม และผู้ป่วย

ครู มรรษณา  จัดดี : ครูสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง บอกกับทีมงานนักข่าวพลเมืองว่า ปวช.2 กำลังจะขึ้น 3 ฝึกงานช่วง 3-4 เดือน ในเทอม 1 / ถ้า ปวส. 2 ฝึกเทอม 2 ซึ่ง ทั้งสองมีเด็กรวมรวมแล้ว 50 คน

กระบวนการถ้าฝึกงานแบบปกติ คือ ตัวน้องน้องเองที่เรียนในแต่ละสาขาสนใจที่จะไปสถานประกอบการไหน ให้ติดต่อไปยังสถานประกอบการนั้น แล้วทำเรื่องทางโรงเรียนก็จะส่งใบอนุมัติในการยื่นขอฝึกงาน แต่ในช่วงโควิดถ้าไปไม่ได้ก็จะให้ฝึกผ่านออนไลน์ ซึ่งฝึกออนไลน์บางทีเราเห็นผ่านกันแค่หน้าจอ เป็นเรื่องที่ยากมากว่าเขาทำออกมาแล้วเป็นแบบไหน มีการให้วนเข้ามาฝึกในโรงเรียนบ้าง

2 ปีที่ผ่านมาในช่วงแรกน้องน้องก็ได้ไปฝึกที่อื่น ๆ จังหวัดใกล้เคียงอยู่แต่พอสถานการณ์ โควิดละลอกสองรุนแรงขึ้นก็มีความพยายามปรับให้ฝึกในลำปาง เพราะระบาดรอบล่าสุดก็ยังไม่ให้ฝึกแต่ว่าให้ฝึกในออนไลน์ ผนวกกับการเรียนแบบออนไลน์ ถ้าเป็นทฤษฎีก็จะเรียนทฤษฎีไปแต่ถ้าปฏิบัติก็จะให้ทำคลิป ส่งมาหรือใช้โปรแกรมซูมเปิดกล้องขณะทำ ซึ่งจุดตรงนี้แหละที่ครูมองว่า ดึงเอาสถานการณ์ตอนนี้ที่โรงพยาบาลสนามหรือสถานที่อื่นยังต้องได้รับการทำอาหารส่งเข้าไปเลยให้น้องน้องมาฝึกตรงนี้ เวียนกันเข้ามาทำฝึกงานซึ่งตอนนี้ก็ทดลองทำ จุดประสงค์ที่ฝึกตรงนี้ก่อน ถ้าเป็นเด็ก ปวส. ในเทอมสอง หากสถานประกอบการเปิดตามปกติน้อง ๆ ก็จะได้เข้าไปฝึกและมีทักษะไปต่อ 

เด็ก ๆ ที่เข้ามาฝึกมีจำนวน 50 คน จะเวียนเข้ามาทำ ทดลองทำกันมาตั้งแต่ต้นเดือนที่แล้วคือเดือนสิงหาคม รวมแล้ว 2 เดือน / 4 ครั้งคะ / อาทิตย์ละ 1 ครั้งที่เข้ามาเวียนกันฝึก ซึ่งก่อนหน้านี้ ส่งไป รพ. ลำปาง / รพ. ค่ายสุรศักมนตรี / รพ. เวชารัก ปัจจุบันที่เดียวคือ ศูนย์ฉีดวัคซีนจังหวัดลำปาง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง  แล้วกระจายโดยทีมบุคลากรแพทย์

เมื่อทำเสร็จ ก็ไปส่งต่อยังโรงพยาบาลสนาม อาหารที่ทำก็มีทั้งอาหารปรุงสุข และเมนูสุขภาพพร้อมดูแลผู้ป่วย น้ำสมุนไพร จำนวน 300 ชุด

ส่วนด้านการวัดผลถ้าเป็นการเรียนออนไลน์จะวัดผลจากการเปิดกล้องปฏิบัติแคปหน้าจอส่ง ในส่วนของการลงมาปฏิบัติในห้องครัว เหมือนเป็นการฝึกประสบการณ์อาชีพเขาในช่วงโควิด สุดท้ายแล้ว น้อง ๆ ต้องกลับไปฝึกที่สถานประกอบการ รอการกลับไปฝึกได้

น.ส.เพียงรวี ทัพพพันธ์ : นักศึกษา สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ  บอกว่า “หลายคนเพื่อน ๆ เรามีความหวัง หวังว่าในปีที่เราจะไปฝึกประสบการณ์เราจะได้ ไปที่อื่น ลงใต้ ไปพัทยา บางคนอยากฝึกที่ต่างประเทศ​ เป็นความใฝ่ฝันของหลาย ๆ คน พอถึงเวลาแล้วมันไปไม่ได้จริง ๆ ทุกคนก็คือไปไม่ถูกเลย” เพียงรวี บรรยายความรู้สึก เธอบอกด้วยว่าโควิด “พราก” ประสบการณ์การฝึกงานของเธอไป อาจส่งผลระยะยาวต่อชีวิตการทำงานของเธอก็เป็นได้  “เธอกลัวไม่แข็งแรงด้านประสบการณ์” เธอกล่าว “ก่อนหน้านี้พยายามหาที่ฝึกงานแล้ว แต่หายากจริง ๆ ช่วงนี้เขาก็ไม่ค่อยรับคนกัน พอหาไม่ได้ก็เลยคิดว่าลองเล่นโซเชียลสิ่งทำเราชอบดู เรามองว่า ถึงยังไม่ได้ไปสายพานงานด้านที่เราเรียนจบ แต่เรายังพอมีแนวทางอาชีพทำไปก่อนหากจบไป” ตรงนี้ยังเป็นโอกาส เราทำตรงนี้ไปก่อน ฝึกในโรงเรียนส่งให้กับคนในโรงพยาบาบาลสนาม เพียงรวี  ยังคงรู้สึกกังวลกับอนาคตของตัวเอง และยังต้องเริ่มคิดหาทางนำความรู้ที่ได้เรียนมาต่อยอดไปทำงานในสายอื่น ๆ ที่พอทำได้

การเรียนรู้ของเด็ก ๆ และเยาวชนคงไม่ใช่แค่ในห้องเรียนอีกต่อไปไม่ว่าจะวัยไหนเรียนสายอะไร นี่คงไม่ใช่เพียงแค่การปรับตัว แต่ยังให้เขาเหล่านี้ที่เรียนในสายวิชาชาชีพของเขา ซึ่งต่อให้น้อง ๆ ไม่ได้ไปสู่สายพานอาชีพ แต่เขายังประกอบการเองได้ ซึ่งเป็นอีกรูปแบบการเรียนรู้การฝึกประสบการณ์วิชาชีพแบบใหม่เพื่อให้น้อง ๆ ได้ไปต่อ

แม้เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของวิทยาลัยอาชีวลำปาง น้อง ๆ กลุ่มนี้ เรียนในครัวด้วย และเรียนออนไลน์ผสมด้วย แต่อย่างไรหลายคนที่ยังไม่จบ ยังคงมีความหวังว่าเทอมหน้าจะได้ไปฝึกงานกันจริง

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ