จิตสำนึกของโครงสร้าง ดาลิด(จันฑาล) ในสังคมอินเดีย

จิตสำนึกของโครงสร้าง ดาลิด(จันฑาล) ในสังคมอินเดีย

จิตสำนึกของโครงสร้าง ดาลิด(จันฑาล) ในสังคมอินเดีย

     การเดินทางไปดูงานที่อินเดีย ระหว่างวันที่ี 22มิย-1กค.56  ได้พบ ได้รู้จัำกคุณ จ๋า cholnapa  ท่านเขียนบันทึกการเดินทางที่ได้เดินทางร่วมกับพวกเรา ไว้น่าสนใจมาก สะท้อนให้เห็นบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย หรือ บ้านเรา เรื่องชนชั้นมิได้หายไปจากสังคมไทยไม่ แต่รูปแบบ ของความเป็นชนชั้นอาจเปลี่ยนรูปแบบไป   กฏหมายที่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของสังคม ถูกละเลย คุณจ๋ามีมุมมอง ในการ มองสังคมอินเดียย้อนสู่ บ้านเราน่าสนใจยิ่งนัก  

จิตสำนึกของโครงสร้าง  
โดย Cholnapa Anukul

This image has an empty alt attribute; its file name is 9390_623211197688877_2007675358_n.jpg  This image has an empty alt attribute; its file name is 6006_623212007688796_155480425_n.jpg

      ดาลิต หรือ จัณฑาล เป็นคนนอกวรรณะ ถือเป็นกลุ่มคนระดับล่างสุดของระบบวรรณะตามศาสนาฮินดู คนจน ขอทาน คนไร้บ้าน ที่เราเห็นตามท้องถนนอินเดีย ส่วนใหญ่ก็คือดาลิต และถูกปฏิบัติไม่ต่างจากฝุ่นตีนของพระเจ้า เป็นต้นว่า ห้ามใช้ข้าวของหรือดื่มน้ำจากบ่อเดียวกับคนวรรณะอื่น เพราะจะทำให้เกิดเสนียดจัญไรแปดเปื้อน กระทั่งว่าหากไปเหยียบเงาเข้าก็ต้องทำพิธีสะเดาะเคราะห์ใหญ่โต เด็กดาลิตจึงไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ งานที่ได้ทำจึงเป็นเพียงกุลี และงานบางอย่างเช่นเก็บขี้ ก็เป็นงานที่กำหนดให้ดาลิตทำ จึงยากนักหนาที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตตนเองและเลื่อนสถานะทางสังคมของตนขึ้น มาได้ หากมีดาลิตแหกขนบก็จะถูกชุมชนของคนวรรณะสูงกว่าลงโทษอย่างรุนแรง จิตสำนึกของดาลิตผูกติดกับโครงสร้างที่กำหนดให้จำยอมเช่นนี้มายาวนานหลาย พันปี

This image has an empty alt attribute; its file name is 7951_623210314355632_1275138236_n.jpg This image has an empty alt attribute; its file name is 7746_623211034355560_531334131_n.jpg
ดร.อัมเบคการ์

           อัมเบดการ์ถือว่าเป็นดาลิตที่ได้รับโอกาสพิเศษ ครูผู้กรุณาให้เขายืมนามสกุลไปใช้ เด็กหัวดีผู้นี้มีโอกาสเรียนหนังสือและได้รับทุนมหาราชาไปเรียนที่อังกฤษ จนจบปริญญาเอกด้านกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และรัฐศาสตร์ แต่เมื่อเขากลับมาทำงานชดใช้ทุน ก็ยังได้รับการปฏิบัติในฐานะดาลิตเช่นเดิม แม้แต่ในแวดวงของอาจารย์มหาวิทยาลัย เขาจึงเริ่มทำงานต่อสู้เพื่อความเสมอภาคผ่านปัญหาที่ดาลิตถูกเลือกปฏิบัติใน สังคมอินเดีย จนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งจากดาลิตและจากนานาชาติ เมื่อก้าวเข้าสู่แวดวงการเมือง เป็นหัวหน้าพรรคแรงงานอิสระและเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกฎหมาย เขาก็มีส่วนสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญของอินเดียหลังจากได้รับเอกราชแล้ว แต่งานสำคัญที่สุดของเขาคือการปลดปล่อยดาลิตออกจากการกดขี่ทางสังคมและ วัฒนธรรม เขาประกาศเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูมาเป็นพุทธ และทำพิธีเปลี่ยนศาสนาพร้อมกับดาลิต ๖ แสนคนที่เมืองนาคปุระ และเรียกตนเองว่า “กลุ่มพุทธดาลิต” ถือเป็นการปลดแอกตนเองจากจิตสำนึกสยบยอมที่กดขี่มาหลายพันปีอย่างสิ้นเชิง ปัจจุบันมีประชากรกลุ่มพุทธดาลิตราว ๔๐ ล้านคน จากกลุ่มดาลิตราว ๔๕๐ ล้านคน

           หลังจากรัฐธรรมนูญใหม่ และเปลี่ยนศาสนาใหม่ ประชากรกลุ่มพุทธดาลิตในอินเดียได้รับการศึกษามากขึ้น จากที่เคยได้เรียนถึงระดับประถมในยุคของอัมเบดการ์ ปัจจุบัน มีดาลิตเรียนจบเป็นวิศวกร เป็นแพทย์ เป็นคนทำงานเพื่อสังคม ฯลฯ มากขึ้น อย่างไรก็ดี ความรุนแรงต่อคนดาลิตยังดำรงอยู่ คนดาลิตยังถูกทำร้าย ผู้หญิงยังถูกข่มขืน เหตุอาชญากรรมในอินเดียจำนวนมากเกิดขึ้นด้วยเหตุผลเพื่อรักษากฎระเบียบของ สังคมและชุมชนเดิม ดังเช่น ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ครอบครัวพุทธดาลิต ๕ คนในรัฐมหาราชตะถูกฆ่า เพราะลูกสาวอยากเรียนหนังสือ เมื่อถามว่าชาวดาลิตรู้สึกอย่างไรกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น เพื่อนชาวดาลิตท่านหนึ่งตอบว่า พวกเราเข้าใจ

This image has an empty alt attribute; its file name is 1043945_623211087688888_629189899_n.jpg

           คนพุทธดาลิตนับถืออัมเบดการ์มาก บ้านทุกหลังจะมีภาพของเขาแขวนอยู่คู่กับภาพของพระพุทธเจ้า โดยถือเป็นแรงบันดาลใจในฐานะผู้ที่แสดงให้เห็นว่าดาลิตสามารถสร้างการ เปลี่ยนแปลงได้ เพราะมนุษย์ย่อมเกิดมาเสมอภาคเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ โดยนัยยะนี้ แม้คานธีจะได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งอินเดีย ในฐานะผู้ปลดปล่อยแผ่นดินอินเดียให้เป็นอิสระ แต่อัมเบดการ์ได้รับการยกย่องจากดาลิตทั้งหมด ในฐานะผู้ปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระ

           ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของชาวพุทธดาลิตถือเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง เพราะอัมเบดการ์เสียชีวิตหลังจากพิธีเปลี่ยนศาสนาไม่กี่วัน กลุ่มพุทธดาลิตซึ่งรวมตัวและยึดโยงเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่นั้นถือศีลและภาวนา แบบชาวพุทธ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ลูกหลานเรียนหนังสือ จัดตั้งโรงเรียนผู้นำ และมีจิตสำนึกร่วมกันที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนเข้าถึงอิสรภาพ ไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยวรรณะที่ถือกำเนิด หรือศาสนาที่นับถือ ปัจจุบันมีพรรคการเมือง ๓–๔ พรรคเป็นของคนดาลิต หนึ่งในนั้นใหญ่เป็นอันดับ ๔ ของพรรคการเมืองในอินเดีย และเคยมีคนดาลิตก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีมาแล้ว คือ นารายานัน – การเปลี่ยนแปลงของผู้คนที่ถูกกำหนดให้เป็นฝุ่นตีนล่างสุดในสังคมมาหลายพันปี มาสู่ความเป็นเสรีชนผู้มีอำนาจตัดสินใจในชีวิตของตนเอง ในนามของพลเมืองของรัฐ นี้อาจจะถือได้ว่าเป็นความมหัศจรรย์อย่างยิ่ง

           จะเห็นได้ว่า แม้รัฐธรรมนูญที่มอบความเสมอภาคให้กับผู้คนจะเป็นเครื่องเอื้ออำนวยในการ สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง แต่หากปราศจากผู้คนที่มีการเปลี่ยนแปลงทางจิตสำนึกอย่างลึกซึ้งเข้มข้นแล้ว ความเสมอภาคย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ และการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ก็คงไม่อาจสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการให้แต้มต่อทางการศึกษา/อาชีพ/สุขภาพกับกลุ่มประชากรดาลิต เพื่อยกระดับความเสมอภาคขึ้นม

  This image has an empty alt attribute; its file name is 1005864_623209894355674_1580427163_n.jpg

           การสร้างจิตสำนึกอันตระหนักรับรู้ต่อโครงสร้างที่กดทับผู้คนนั้นอาจจะเรียก ได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างการเปลี่ยนแปลงก็ว่าได้ การที่กฎหมายในประเทศไทยหลายฉบับแทบไม่มีผลในการบังคับใช้ เพราะไม่สอดคล้องกับจิตสำนึกและความตระหนักรับรู้ของผู้คน เป็นต้นว่า มาตรา ๔๐ ของกฎหมายประกันสังคม กฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ก็ในเมื่อผู้คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นหาบเร่แผงลอย คนขับมอเตอร์ไซค์และรถรับจ้าง ฯลฯ ยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตนเองเป็นแรงงานนอกระบบ และถูกเลือกปฏิบัติในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพและทางสังคมอื่นๆ โดยเข้าใจไปว่ามันเป็นเรื่องปรกติอยู่แล้วที่ตนเองไม่ใช่ข้าราชการ ไม่มีเงินเดือน ก็ไม่มีประกันสุขภาพ ฯลฯ เหมือนคนอื่นเขา การสร้างจิตสำนึกของความเป็นแรงงานนอกระบบจึงสำคัญไม่แพ้การออกกฎหมาย เป็นงานที่ยากเย็นหนักหนากว่าด้วยซ้ำ แต่ถือเป็นการลงทุนที่สร้างผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างได้อย่าง ยั่งยืน

           ยิ่งคนอยู่ในระดับล่างสุดของโครงสร้างสังคมมากเท่าไหร่ การสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับจิตสำนึกก็ดูเหมือนต้องใช้แรงและกำลังมากขึ้น ลองนึกถึงสถานการณ์ของเกษตรกรในระบบพันธสัญญาที่ตกอยู่ในภาวะเป็นหนี้ การจะลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในระบบพันธสัญญาที่ดำรงอยู่นั้นจึง เป็นเรื่องยาก แรงงานข้ามชาติที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงจากการคุกคามของผู้รักษากฎหมาย ก็ยากที่จะแสดงตนขึ้นมารักษาสิทธิแรงงานและสิทธิทางสุขภาพของตนได้ ฯลฯ การทำงานผู้คนเหล่านี้จึงต้องมีความละเอียดอ่อนและลงลึกเข้าไปในระดับจิตใต้ สำนึก โดยคนทำงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงจำต้องมีทักษะในการจัดกระบวนการเพื่อ เสริมสร้างพลังอำนาจของผู้คนเหล่านี้ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในที่สุด

This image has an empty alt attribute; its file name is 988534_623209367689060_1915447960_n.jpg This image has an empty alt attribute; its file name is 1044072_623209657689031_2131033207_n.jpg

           นี้ไม่ได้หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกจำเป็นต่อชนชั้นล่างหรือกลุ่มคนที่เสียเปรียบแต่ฝ่าย เดียว การเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกยังจำเป็นต่อคนทุกกลุ่มในสังคม เนื่องจากจิตสำนึกร่วมหรืออุดมการณ์ร่วมกันของผู้คนในสังคมนั้น ก็คือการคัดกรองและกำหนดคุณค่าของสังคมร่วมกัน ทั้งเรื่องความเป็นธรรม การไม่เลือกปฏิบัติ การมีธรรมาภิบาลที่ดี การมีความกรุณาอันไม่มีที่ประมาณ เป็นต้น

           เมื่อการเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกเกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจกและระดับจิตสำนึกร่วม ของสังคม นั่นคือ ความตระหนักรู้ในตัวในตนแบบเดี่ยว-เดี่ยว และความตระหนักรู้ในฐานะเป็นคนในโครงสร้าง นั้นแหละ การเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างถึงรากถึงโคนจึงจะเกิดขึ้นได้

ที่มา
https://www.facebook.com/notes/cholnapa-anukul/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B8%81

author

เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง related posts

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ