คราฟท์เบียร์ไทยในวันที่ฟ้าครึ้ม : บทสัมภาษณ์แอดมินเพจ beercyclopedia สารานุกรมของคนชอบเบียร์

คราฟท์เบียร์ไทยในวันที่ฟ้าครึ้ม : บทสัมภาษณ์แอดมินเพจ beercyclopedia สารานุกรมของคนชอบเบียร์

20173101125305.png

บทสัมภาษณ์ณัทธร วงศ์ภูมิ หรือ คิว แอดมินเพจ beercyclopedia สารานุกรมของคนชอบเบียร์ ผู้ที่ชื่นชอบมาดื่มและรีวิวเบียร์ และเป็นคนแรกๆที่ร่วมพัฒนาคราฟท์เบียร์ไทย

ชวนสนทนาในวันที่วงการคราฟท์ไทยฟ้ายังครึ้ม มองปรากฎการณ์เพื่อก้าวต่อไปข้างหน้า

B : ทำไมถึงได้มาเป็นผู้รีวิวเบียร์

คิว : เมื่อก่อนก็ดื่มเบียร์ทั่วไป มีอยู่วันหนึ่งให้แฟนไปเลือกซื้อเบียร์อะไรก็ได้ แฟนหยิบเบียร์สัญชาติเยอรมันมาให้ ตอนนั้นก็ตกใจเบียร์ราคาร้อยกว่าบาท แต่พอดื่มแล้วคิดออก 2 ข้อ คือ ทำไมมีเบียร์รสชาติแบบนี้บนโลก และ เบียร์แบบนี้มันยังมีอะไรอีกบ้าง

ผมก็เริ่มเริ่มอยากลองตัวอื่นๆ ก็เริ่มไปเดินหาในห้าง ทีนี้ในห้างมันมีเบียร์แบบเบียร์นอกตอนนั้นผมเข้าใจว่ามีสักน่าจะสิบยี่ห้อใหญ่ๆในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ตอนนี้มันมีหลายร้อยยี่ห้อละ เมื่อก่อนมีสักสิบยี่ห้อ แต่ละขวดร้อยกว่าบาท แล้วตอนนั้นทำงานใหม่ๆเงินก็ไม่ค่อยมี จะไปซื้อเบียร์ร้อยกว่าบาทลองทุกขวดก็ไม่ใช่เรื่อง ก็เริ่มไปหาข้อมูลว่า เฮ้ยเราควรลองอันไหนก่อน อันไหนที่มันถูกจริตกับเรา ก็เริ่มไปหาข้อมูลใน Google ก็พบว่ามีฝรั่งเขารีวิวไว้เต็มเลย ซึ่งมันก็เป็นภาษาอังกฤษแล้วผมก็ไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษนะอย่างที่ผมบอกผมไม่เคยไปเรียนเมืองนอก ภาษาอังกฤษเมื่อก่อนก็คือผมไม่ได้เลย คือได้แต่ได้น้อยมาก ฟังเสร็จก็งงๆ

ปรากฎว่าผมไปเจอเพจคนไทยเพจหนึ่งชื่อ “พี่เอ็ดดี้” อันนี้เป็นเหมือนคนที่เปิดโลกกว้างสำหรับคนไทยสำหรับผมเลย ชื่อเพจชื่อ “ คนรักเบียร์” เป็นเว็บไซต์ตอนนั้นยังไม่มีเพจ เขาก็ทำรีวิวลง Youtube สนุกๆของเขา แต่ฟังเสร็จ เออ!ดีจังเลย เอออันนี้เรารู้ว่ามันเป็นประมาณนี้แหละ แต่ตอนนั้นก็ยังพี่เอ็ดดี้ก็ยังไม่ได้เก่ง เขาก็รีวิวความเป็นไทยของเขาสนุกๆ ผมก็ไปเจออีกเพจหนึ่ง ซึ่งเพจที่สองที่ผมเจอเนี่ยผมเรียกว่าเป็นเพจอาจารย์ของผมเลย เป็นอาจารย์คนแรกในวงการผมเลย คือชื่อเพจ “ดื่มเหล้าหมักเบียร์” อันนี้คืออาจารย์ผมแบบ ผมชอบเรียกเขาว่าโยดา เขาก็เริ่มรีวิวอันนี้เริ่มมีเขาเรียกว่าเริ่มมีขั้นมีตอน มีการบอกถึงสีกลิ่นรสที่มาที่ไป

แต่การที่มาเปิดเพจจริงๆเนี่ย ณ วันแรก หรือแม้กระทั่ง ณ วันนี้ เราไม่ได้อยากจะเป็นคนดัง คือไม่เคยคิดว่าตัวเองจะเป็นคนดังไม่ได้อยากเป็นเน็ตไอดอล ทุกวันนี้เขาเรียกกันเน็ตไอดอลใช่ไหมครับ? ไม่เคยคิดเลยผมเปิดเพจมาเพราะผมต้องการแค่ให้มีคนสัก 20 คน มาคุยกับผม ผมแฮปปี้ละ คือเมื่อก่อนมันคือเรื่องแบบนี้มันไม่มีใครคุยด้วย คือแค่ผมโพสต์รูปไปแล้วมีคนมา เออผมเคยกันตัวนี้เหมือนกันชอบไม่ชอบแค่นั้นวันนั้น มี 20 คนในเพจผมผมแฮปปี้ละ แค่อยากหาเพื่อนคุยด้วยว่ากินแล้วชอบไม่ชอบ แต่พอไปปุ๊บเราก็เริ่มไปสนุกมันก็ยาว

B : จนถึงทุกวันนี้มีอยู่ถึง 20,000 ไลค์?

คิว  : ครับ

20173101133534.jpg
(ภาพจาก 
Beercyclopedia สารานุกรมของคนชอบเบียร์)
 

B : การรีวิวเบียร์มันส่งผลต่อปรากฎการณ์ของการดื่มเบียร์ทางเลือกมากขึ้นหรือเปล่าครับ?

คิว : เออ….ผมตอบว่ามันสร้างกระแสนั้นไหม ผมตอบว่าผมไม่ทราบจริงครับ คือ ผมก็โพสต์ลงในที่ๆเป็น Public ใครจะดูก็ได้ ในปีแรกๆเนี่ย ในปีแรกๆผมจะไม่เคยเจอคนที่เดินมาคุยด้วยเลย หมายถึงเวลาไปตามร้านตามงานน่ะครับ ก็จะมีคนแค่เข้ามาคอมเมนต์ มาคุยผ่านแบบผ่านเพจแค่นั้น แต่พอเริ่มเข้าปีที่สองผมเริ่มไปนั่งร้านเบียร์แล้วผมเริ่มเจอคนที่เข้ามาคุยกับผม แล้วเขาบอกว่า เออเนี่ยดูเพจแล้วก็ไปซื้อกินตามรีวิวตามสนุกดีเห็นด้วยไม่เห็นด้วย คือผมไม่เคยปักหมุดว่าผมคือคนที่คือทุกคนต้องกินแล้วรู้สึกเหมือนผม ผมไม่เคยคิดแบบนั้นแม้ทุกวันนี้

วันหนึ่งมีคนเดินมาคุยกับผมว่า เมื่อวันก่อนดูรีวิวกินเสร็จไม่รู้สึกเหมือนกันเลย ผมก็จะแฮปปี้ เพราะผมรู้สึกว่าเมื่อมันเป็นสินค้าที่มันเป็นทางเลือก เขาก็ควรมีสิทธิ์เลือกในสิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบ ถามว่ามันเป็นปรากฎการณ์ให้คน อย่างเดียวที่ผมรู้สึกมันทำได้ดีคือ มันทำให้คนกล้าลองมากขึ้น คือผมเชื่อเลยว่าคลิปผมเนี่ย ทำให้คนกล้าลองเบียร์ทางเลือกมากขึ้นแค่นั้นเองครับ

20173101131142.png

B : 4-5 ปีมานี้ เห็นภาพอะไรมากขึ้นในอุตสาหกรรมเบียร์ทางเลือกแบบนี้ครับ

คิว : ภาพแรกที่ผมเห็นเลย ผมเห็นคนที่เดินเข้ามาหาทางเลือกให้ตัวเองมากขึ้น กว่าลองมากขึ้น หาของใหม่ๆให้กับชีวิตมากขึ้น ข้อถัดมาเลยเนี่ยสิ่งที่มันเปลี่ยนแปลงไปคือ ภาพรวมของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นทั้งธุรกิจนำเข้าเองก็ตามหรือธุรกิจภาพรวมเบียร์ก็ตาม มันโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มันโตขึ้นแบบ ผมใช้คำว่ายิ่งกว่าก้าวกระโดดครับ โตขึ้นเร็วมาก โอเค หลายคนอาจจะเข้ามาเพราะมันเป็นเทรนด์ มันกินแล้วมันเท่ห์ แต่ผมเชื่อว่าแน่นอนแหละมันก็ต้องมีคนที่เข้ามาแล้วรักมันจริงๆชอบมันจริงๆก็น่าจะมี

B : คิดว่ามันผลักดัน มันจะผลักดันเข้าไปสู่การสามารถแก้กฎหมายได้ไหม หรือว่าสามารถที่จะให้หลายคนอยากที่จะใช้คำว่าปลดแอกทางตรงได้จากกระแสที่เป็นอยู่ตอนนี้

คิว : ผมว่าถ้าใช้คำว่าเอากระแสแล้วมาปลดแอก ผมไม่อยากใช้กระแสมาปลดแอก มันเหมือนแบบ….การใช้กระแสทำอะไรบางอย่าง ผมว่าไม่ใช่ทั้งหมด ผมอยากให้คนที่มีอำนาจ หรือคนที่พยายามจะผลักดันเรื่องพวกนี้ ใช้ความรู้ใช้ความรักมาทำให้กลายเป็นเรื่องถูกต้องดีกว่า คือกระแสมันมาแล้วก็ไปมันต่างกันนะสำหรับผม แต่ถ้าคนที่มองเห็นว่ามันโอเค เฮ้ย!เรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่

ข้อแรกมันไม่ได้ทำร้ายใคร เพราะอะไร ผมมองว่าเบียร์เนี่ยมันไม่ใช่เครื่องดื่มผิดกฎหมายเพราะมันมีคนทำถูกกฎหมายได้ นั่นหมายความว่าคนอื่นก็ควรจะมีโอกาสทำได้ถูกกฎหมายได้เช่นกันต้องบอกอย่างนี้ก่อนนะครับ มันมีคนทำให้ถูกกฎหมายได้ในประเทศนี้ คือเบียร์ไม่ใช่ยาบ้า เบียร์ไม่ใช่ยาเสพติด เบียร์ไม่ใช่ธุรกิจผิดกฎหมาย เพราะมีคนทำถูกกฎหมายได้ ดังนั้นมันควรมีคนอื่นทำถูกกฎหมายได้เช่นกัน

แต่ถูกกฎหมายแบบไหนก็คงต้องมานั่งคุยกันด้วยความรู้ด้วยความสามารถ มานั่งคุยกันว่าเปิดโอกาสให้เราได้มีโอกาสคุยกับคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ผมไม่รู้ว่าเราต้องคุยกับใคร อาจจะไม่ต้องคุยถึงนายกก็ได้ อาจจะแค่แกน่าจะมอบหมายใครสักคนหนึ่งมา ผมคิดภาพของผมคนเดียวเองนะ แบบง่ายๆของผมคนเดียวเองนะ

ถ้าผู้รับผิดชอบเห็นว่ามันจะเปิดโอกาสให้ตั้งคณะกรรมการหรือให้กระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง เซ็ตขึ้นมาว่า โอเค…เรียกกลุ่มคนที่ทำเรื่องพวกนี้ตัวแทน 10 คน เข้าไปนั่งหารือกันว่า โอเค ถ้าคุณอยากทำถูกกฎหมายน่ะ คุณทำเท่าไร แบบไหนคือความพอดี คุยกัน ต่อรองกัน หาข้อสรุปตรงกลางด้วยกัน รวมไปถึงการเสียภาษีอย่างถูกต้อง อยากเสียแบบไหน จ่ายแบบไหน ควบคุมคุณภาพกันยังไง แล้วหลังจากนั้นน่ะมันจะค่อยๆดำเนินไปสู่ทางออกที่ดีกว่า

20173101132850.jpg
(ภาพจาก 
Beercyclopedia สารานุกรมของคนชอบเบียร์)
 

คือคนทุกคนในตอนนี้นะครับ ในสื่อในกระแสทุกคนบอกต้องเสรี ผมบอกเลยผมศึกษามาทั้งแบบในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในยุโรป ในอเมริกา หรือในเอเชียอย่างญี่ปุ่น คือคำว่าเสรีมันไม่ใช่ใครทำก็ได้ ไม่ใช่ครับ

ผมบอกเลยว่ามันมีแค่กรอบเล็กกับกรอบใหญ่กรอบแคบกับกรอบกว้าง ของประเทศเรามันคือกรอบแคบมากกรอบเล็กจิ๊ดเดียว ญี่ปุ่นเขาก็ขยายกรอบให้ อเมริกาก็กรอบใหญ่ขึ้นอีก คือยังไงมันต้องมีกรอบครับ มันต้องมีการควบคุม เพราะมันเป็นของที่เราบริโภคเข้าร่างกาย ไม่ใช่ใครจะมาทำอะไรประหลาดๆก็ได้

  มันต้องมีการคุยกันอย่างถูกต้อง อันนั้นคือสิ่งที่พวกผมคาดหวัง ไม่ใช่พวกผม คือตัวผมคาดหวังว่ามันควรจะเป็น อันนี้ผมไม่ได้พูดให้ใครเลย ผมพูดให้ตัวเองคนเดียว คือผมคาดหวังว่ามันควรมีกรอบแหละควรจะขยายกรอบให้เรามานั่งคุยกัน คือ ณ วันนี้ผมเชื่อว่าผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองวันนี้ มันมีคนริ่มต้องการเลือก ทำยังไงละให้ทางเลือกนั้นเป็นที่ยินดีทั้งสองฝ่าย ถูกไหมครับ บ้านเมืองก็ไม่เสียหาย

ผมไม่ได้แบบว่า เฮ้ย!ทุกคนจะทำเบียร์ได้หมด ใครทำก็ได้ ทำกินเท่าไรก็ได้ ทำตอนไหนก็ได้ ผมว่าไม่ได้ครับ เหมือนกฎหมายห้ามซื้อขายเบียร์ในเวลา ยกตัวอย่าง ผมว่ามันเป็นเรื่องโอเคนะ คือกินในเวลาที่เหมาะสม คือเราจะบอกว่า  ญี่ปุ่นกินตอนไหนก็ได้ ก็มันคือความรับผิดชอบในระดับคนญี่ปุ่น เราต้องยอมรับว่าคนไทยความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมไม่ได้ดีขนาดนั้น ถูกต้องปะครับ

B : แต่ประเด็นคือตอนนี้คือกรอบมันแคบมาก?

คิว : แคบมากครับ

20173101131804.png

B : แล้วกรอบที่แคบเนี่ยถ้ายังไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนคุณคิวมองว่าในอนาคตมันจะเป็นแบบไหน จะมีการต้มแบบผิดกฎหมายขึ้นไหมหรือว่าสุดท้ายแล้วภาพอุตสาหกรรมนี้ก็จะไม่ได้เติบโต ถ้ากรอบยังเป็นอยู่อย่างนี้อีกไม่ปรับเปลี่ยนอะไร

คิว : ผมมองว่า ณ วันนี้ชนวนมันติดแล้ว คือถ้าไม่ปรับเปลี่ยนเลย ผมเชื่อว่าอีกหน่อยคนก็จะพยายามทำมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วผมจะบอกเลยว่าโดยลักษณะของคนยิ่งอะไรที่มันหลบๆซ่อนๆอะไรที่มันดูท้าทาย คนมันจะยิ่งมีอะไรแบบตื่นเต้นแล้วอยากทำ แต่ถ้าเปิดหน่อย ให้มันมีระเบียบแบบแผนมากขึ้น มีการควบคุมเรื่องคุณภาพ มีการจ่ายภาษี คุณอยากทำคุณไปขึ้นทะเบียน ผมไม่รู้นะในความคิดเร็วๆแบบนี้นะครับ ไปขึ้นทะเบียนคุยเรื่องคุณภาพกันว่าทำออกมาแล้วผ่านไม่ผ่าน แล้วถึงเวลาคุณผ่านใน quality ที่ดี ก็จ่ายภาษีไปตามเรื่องตามราว ผมเชื่อว่ามันจะดีกว่าที่ปิดนะครับ

B : อย่างเรื่องของคุณภาพตอนนี้เป็นเรื่องที่หลายคนไม่มั่นใจในคราฟท์ไทย คุณคิวบอกว่ามันมีแค่ 5% ที่มีคุณภาพ คราฟท์ไทยจะพัฒนาไปสู่ความน่าเชื่อถือได้อย่างไร

คิว : การพัฒนาตัวโปรดักส์มันป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลามหาศาล คือต้องเข้าใจอย่างงี้ก่อนว่าคนที่ทำเบียร์ปัจจุบันนี้ทำโฮมบรูวเนี่ย คือบางทีเค้าทำเบียร์ที่มันมันไม่ได้คุณภาพออกมาเนี่ยครับ

บางเจ้าโอเครู้ว่ามันไม่ได้แต่ก็อยากจะขายแต่บางคนเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเบียร์เขาไม่ได้คุณภาพ เขาก็เลยทำออกมาแล้วก็อยากให้คนลองมันต่างกันนะครับคือรู้ว่ามันไม่ดีแต่ก็ฝืนจะขายกับทำออกมาแล้ว แล้วก็ภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองทำแล้วก็เอาไปให้คนลองแล้วเขาก็รับฟี๊ดแบ็คของคนกินไป ผมว่าแบบนั้นมันโอเคกว่า คือมันต้องมีคนไปบอกเขาว่า เฮ้ย เบียร์เขายังไม่ดีมากพอปรับปรุงได้ไหม

คืออย่างในหลายๆประเทศ เขาจะมีเหมือนสมาคมเลยที่โอเคมีผู้ทรงคุณวุฒินะครับ มาคอยดูแลเรื่องคุณภาพของเบียร์เลยว่าโอเคหรือไม่ ถ้าสมมติว่าเจ้านี้อยากทำ เบียร์ ก ทำเบียร์ขึ้นมาก่อนที่จะมาขึ้นทะเบียนเนี่ยจะมีคณะกรรมการมานั่งชิมก่อนเลยว่าคุณภาพคุณถึงก่อนที่จะขึ้นทะเบียนได้หรือยังแล้วหลังจากนั้นพอขึ้นทะเบียนได้แล้วเนี่ย คุณถึงจะมีสิทธิ์ไปขอใบอนุญาติในการผลิตแบบคอมเมอร์เชียล

B : ซึ่งทุกวันนี้ยังไม่มี

คิว : ใช่ครับคือมันจดทะเบียนไม่ได้ ผมไม่รู้ว่าคือโอเคไวน์เขามีสมาคมแต่เบียร์เนี่ยผมไม่มี คือถ้ามีสมาคมถูกไหมครับมีคณะกรรมการมานั่งแล้วก็บอกว่าโอเคก่อนที่คุณจะไปขึ้นทะเบียนกับรัฐบาลเนี่ยนะ เพื่อทำเป็นสเกลใหญ่เนี่ยคุณต้องผ่านการลงทะเบียนกับสมาคมก่อนซึ่งสมาคมก็จะต้องมีคณะกรรมการที่มานั่งชิมเลยว่าเบียร์ของคุณถึงหรือยังและไม่ใช่ว่าทำแบบนี้ถึงแล้วผ่านเลยมันเหมือนต้องสอบก่อนอะครับ แล้วถ้าคุณทำถึงตรงนั้นจริงๆสอบ3ครั้ง5ครั้งผมไม่รู้นะต้องมานั่งคิดกันแล้วพอมันผ่านลงทะเบียนกับสมาคมได้คุณถึงจะมีสิทธิ์ไปขออนุญาติกับกระทรวงอะไรก็ว่าไป มันต้องมีการสกรีนก่อนครับไม่งั้นโอ้โห กระทรวงเขาทำงานตายเลยคนเปิดกันโอ้โหเดี๋ยวก็ไปลงทะเบียนอยากทำอยากทำผมว่าก็ไม่ใช่อยู่ดี

 

B : การที่เบียร์ไม่มีคุณภาพออกมาขายแบบผิดกฎหมายกระทบต่อเบียร์ทางเลือกในเทศไทยไหมครับ

คิว : ส่งผลครับ คืออย่างที่บอกครับพอเบียร์มันไม่มีคุณภาพเนี่ย การที่เราเอาของที่ไม่มีคุณภาพปล่อยลงไปสู่ตลาดส่งไปสู่ผู้บริโภคเนี่ย ยังไงๆมันไม่ใช่เรื่องดีอยู่แล้ว ดังนั้นเนี่ยมันควรมีมาตรการหรือขั้นตอนในการจัดการเนื่องพวกนี้ก่อน ให้มันคือเราต้องผมจะพูดว่าเราต้องเซ็ตมาตรฐานกันเองก่อนอะครับผู้ผลิตเนี่ยที่อยากจะผลิตเนี่ยต้องเซ็ตมาตรฐานไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพเรื่องปริมาณการผลิตเรื่องของอะไรก็แล้วแต่ที่เรากำลังคุยกันเนี่ยคนที่อยู่ในวงการควรต้องเซ็ตก่อนว่าโอเคเราจะคุยกันตรงนี้นะคุณภาพต้องประมาณนี้ผ่าน ปริมาณการผลิตคุณต้องได้ถึงตรงนี้มันต้องเป็นตรงนี้ก่อนครับคือต้องคุยกันเองข้างในก่อนคือจะไปผมตอบว่าโอเคการเรียกร้องให้มันเป็นให้มันเป็นวงกว้างให้มันมีเสรีผมเข้าใจคนที่อยากให้มันเป็นแต่มันจะต้องมีคนมาสกรีนหรือมาอะไรก่อนที่จะไปถึงขั้นอะ 1 ขั้นก่อน

ซึ่งถามว่า ณ ปัจจุบันนี้ครับในเมืองไทยนะครับ ก็มีคนที่สอบเรื่องของการเป็นคณะกรรมการการตรวจสอบเบียร์หรือว่า Beer Judge ในระดับโลกผ่านหลายคนแล้ว ถามว่าความรู้ความสามารถของคนพวกนี้เอามาใช้ในสมาคม สมมติว่าวันนึงมีสมาคมก็เอาความรู้ความสามารถของคนพวกนี้มาใช้ได้นะครับ ไม่ใช่ว่าแบบใครก็ไม่รู้ก็มานั่งคือคนพวกนี้ก็ต้องสอบผ่านในระดับโลกมาก่อนข้อสอบชุดเดียวกับอเมริกา ข้อสอบชุดเดียวกับญี่ปุ่นข้อสอบชุดเดียวกับคนทั้งโลกนะครับ มาเป็นกรรมการตรวจสอบก่อน พอตรวจสอบผ่านจุดหนึ่งแล้วถึงจะไปต่อสเต็ปต่อไป แต่ไม่ใช่ใครทำก็ได้ ข้อนี้ผมยังสงสัยอยู่ว่า ใครทำก็ได้แล้วเส้นมันอยู่ตรงไหน คุณภาพมันอยู่ตรงไหน

20173101132234.jpg
(ภาพจาก Beercyclopedia สารานุกรมของคนชอบเบียร์)

 

B : แต่ถ้าทำกินเองนี่ก็ไม่มีปัญหาใช่ไหม?

คิว : ตอนพัฒนาสูตรผมว่ามันก็ต้องทำเอง ตอนเขาต้มอยู่บ้าน 5 ลิตร 10 ลิตร 20 ลิตรเนี่ย ทำไปเถอะครับ ส่วนตัวผมนะทำไปเลย แต่ไม่ได้ทำเพื่อจำหน่าย ทำเพื่อพัฒนา คืออย่างอเมริกาเนี่ยครับ ถามว่าทำไมผมถึงพูดถึงอเมริกาเยอะเพราะเขาเป็นต้นแบบเรื่องของคราฟท์เบียร์ ทุกๆ 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี เขาจะมีเวทีที่ให้ทำ Home-brewขึ้นมาประกวด ขึ้นมาแสดง โอเคนี่คือสูตรที่เขาพัฒนามา ผมเชื่อนะครับร้อยละแปดเก้าสิบของคราฟเบียร์ที่โด่งดังในอเมริกาเคยผ่านเวทีพวกมาแล้วทั้งนั้น คือมันต้องมีเวทีให้เขาแสดงออกก่อนอย่างถูกกฎหมาย แล้วพอเขาชนะเขาจะได้มีกำลังใจมีแนวทางในการพัฒนาโปรดักส์การพัฒนาสูตรต่อไป แต่ทั้งหมดทั้งหมวดที่กำลังพูดไปมันคือเพื่อการพัฒนาสินค้า ไม่ใช่เพื่อการค้า ต้มเพื่อพัฒนาสินค้า 20 ลิตร ส่งประกวดหมดจบคือจบ ไม่ใช่ต้มมา 100 ลิตร ส่งประกวด 20 ลิตร อีก 80 ลิตรเอาไปขาย ผมว่าอันนั้นอาจจะไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง

B :  ได้คิดไว้ก่อนไหมครับว่าจะมีกระแสแบบนี้เกิดขึ้นในบ้านเรา?

คิว : คือตอนแรกผมคิดว่ามันจะในระยะเวลา 2-3 ปีข้างหน้าเนี่ย เราจะได้เห็นอะไรแบบนี้          แต่พอเกิดกระแสแบบนี้ขึ้น

ผมกลับมองว่ามันมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เชิงบวกคือแน่นอนล่ะมีคนรู้จักเบียร์ทางเลือกมากขึ้น โอกาสที่ผู้หลักผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจจะมองเห็นว่า มันมีคนกลุ่มนี้อยู่เนี่ยมันก็ดีขึ้น แต่ในทางลบของผมคือ เราก็ต้องย้อนกลับมาถามตัวเราเองคนที่ผลิตเองก็ตามว่าเราพร้อมถึงขั้นนั้นหรือยัง

มันสองแง่ครับ ถ้าถามว่าคนที่ไม่ชอบ คนไม่ที่อยากจะให้คนไทยกินเหล้ากินเบียร์มากขึ้นหรืออะไรก็แล้วแต่เขาก็มี      พวกนี้เราก็ต้องมาคุยกับเขาอีกว่ามันจะคุยกันยังไง ส่วนตัวผมคือเราต้องคิดถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย คือผมจะบอกเสมอกับคนในเพจผมว่า คือในเมื่อคุณเลือกที่จะเสพของแบบนี้แล้วเนี่ยความรับผิดชอบต้องมาเป็นหลัก คือมันต้องมีควารับผิดชอบครับ คือเมื่อคุณไม่ได้อยู่ในสภาวะที่มันดี กินเสร็จเมาแน่นอนทุกคนกินเสร็จเมา คุณรับผิดชอบคนอื่นยังไง คือเหมือนในหลายๆประเทศ โดนจับมันไม่ใช่แค่จ่ายค่าปรับ มันคอยึดใบขับขี่อะไรอย่างนั้นไปเลยรึเปล่าที่เรากำลังต้องคุยกัน แต่มันต้องคุยกับหลายส่วนครับ

B : คราฟท์เบียร์จะทำให้เปลี่ยนรูปแบบการดื่มรูปแบบของวัฒนธรรมการดื่มของคน วิธีคิดของคนไปทางใด

 คิว : ผมว่าดื่มแล้วนะครับไม่ว่าจะเป็น เหล้า เบียร์ ไวน์ อะไรก็แล้วแต่ครับ มันยากที่จะบอกว่าจะดื่มแบบรับผิดชอบ คือคนเมา กำลังคุยเรื่องคนเมา เราพูดตรงๆนะเราจะบอกได้ไงว่าคนหนึ่งควรกินสองแก้วหนึ่งแก้วห้าแก้วเราบอกไม่ได้ เราไม่มีปัญหากับตรงนั้น มันขึ้นอยู่กับตัวเขาเองที่จะบอกตัวเองหรืออาจจะมีเรื่องของกฎหมายมารองรับเรื่องแบบ ถ้าคุณดื่มแล้วขับรถคุณจะโดนอะไร แล้วทำใครอื่นเดือดร้อนคุณจะต้องโดนหนัก มันต้องมีเรื่องแบบนี้ด้วยครับคือวัฒนธรรมการดื่ม ความรับผิดชอบ มันไม่ได้เกิดจากตัวโปรดักส์ แต่มันเกิดจากสามัญสำนึกของคน

 

B :  สะท้อนว่าประเทศมันไม่พร้อม กฎหมายไม่พร้อมอะไรอย่างนี้ก็จะให้เปิดเสรี มันก็คงจะ….

คิว : แต่คือเรื่องเปิดเสรีมันคนละเรื่องกันครับ เพราะอย่างที่ผมบอกไปตั้งแต่ต้นว่า ถ้ามาบล็อคหรือไม่เปิดเสรีของเบียร์ทางเลือกหรือไทยคราฟท์ แต่ก็มีโปรดักส์ที่เป็นในลักษณะคล้ายกันอยู่ในร้านสะดวกซื้ออยู่แล้ว มันต่างอะไรกันครับ ถ้ามันไม่เคยมีมาก่อนเลยแล้ววันหนึ่งมีคนอยากทำเราจะต้องมาคุยเรื่องนี้กัน แต่วันนี้ถ้าไม่มีกลุ่มนี้ มันมีกลุ่มใหญ่ที่เขาซื้อที่ไหนก็ได้อยู่แล้ว มันไม่ต่างกัน

บทสนทนา แด่ วงการคราฟท์เบียร์ไทย

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ