Soundcheck เปิดผลสำรวจซักฟอกรัฐบาลฉบับพลเมือง 5 เรื่องไหนที่เราอยากฟัง ?

Soundcheck เปิดผลสำรวจซักฟอกรัฐบาลฉบับพลเมือง 5 เรื่องไหนที่เราอยากฟัง ?

หนึ่ง สอง สาม สี่ Sound check

การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้วระหว่างวันที่ 16 – 20 ก.พ. แม้ว่าญัตติหรือกรอบประเด็นได้ถูกกำหนดไว้แล้ว แต่เพราะประชาธิปไตยเป็นเรื่องของทุกคน ด้วยความเชื่อว่ายังมีเรื่องสำคัญที่ประชาชน-พลเมืองอยากฟัง อยากเห็นการตรวจสอบ การชี้แจงประเด็นเหล่านั้นในรัฐสภา ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือการอภิปรายทั่วไปก็ตาม

เมื่อวันที่ 11-15 กุมภาพันธ์ 2564 C-Site แอปพลิเคชัน crowdsourcing ของสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส และทีมงานนักข่าวพลเมือง ได้ชวนเชิญชวนภาคประชาชน พลเมืองในจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มาร่วมกันส่งเสียง ระดมหัวข้อในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีที่ สิ่งที่อยากเห็นและสิ่งที่ไม่อยากเห็นระหว่างการอภิปรายร่วมกันผลักดันและสร้างบรรทัดฐานการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานโครงการต่างๆ ของรัฐบาล ที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่โดยภาคประชาชน ผ่านกลไกรัฐสภา

สรุปผล Csite ชวน Soundcheck ฟังเสียงประเทศไทย ประชาชนอยากเห็นอะไรในการอภิปราย​พอไม่ไว้วางใจรัฐบาล

พบว่า มีประชาชนร่วมส่งเสียงมาจาก 45 จังหวัด โดย
5 ประเด็นสำคัญมีที่ประชาชนอยากให้มีการคุยในการอภิปรายไม้ไว้วางใจมากที่สุด
1.ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
2.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม
3.การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ
4.นโยบายการเยียวยาเศรษฐกิจประเทศ
5.การผลักดันการกระจายอำนาจและการเลือกตั้งท้องถิ่น

ภาคพลเมือง 45 จังหวัด ร่วมตอบแบบสำรวจ

หากจำแนกเป็นรายภูมิภาคก็ฉายภาพประเด็นและเสียงสะท้อนที่แตกต่างกันไป The Citizen จับเสียงประชาชนบางส่วนมาให้

ภาคเหนือ

  • การผลักดันการกระจายอำนาจและการเลือกตั้งท้องถิ่น
  • การแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม
  • การแก้ไขปัญหามลพิษ ขยะ ฝุ่นควัน pm2.5

“ภาวะผู้นำของนายกและคณะรัฐมนตรีต่ำอย่างมาก / แผนการแก้ปัญหาโควิดป้องกันจนทำร้ายเศรษฐกิจประเทศ ประชาชนทำมาหากินไม่ได้ แต่การแจกเงินอย่างเราชนะ กลับไม่ได้ครอบคลุมคนจนอย่างแท้จริง / การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นสำคัญมากที่จะแก้ปัญหาให้ประชาชนรากหญ้าได้”

ภาคอีสาน

  • การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
  • แผนการแก้ปัญหาการระบาดและการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด
  • นโยบายการเยียวยาเศรษฐกิจประเทศ
  • การแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม

“หัวใจลดความเหลื่อมล้ำในมิติเศรษฐกิจและสังคมระยะยาว”

ภาคใต้

  • ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
  • โครงการพัฒนาภาคใต้ โครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมจะนะ
  • การแก้ปัญหาว่างงาน

“เศรษฐกิจและการพัฒนาภาพรวมของประเทศ​ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน​ / กรณีการเลือกการพัฒนาภาคใต้​ เพื่อหวังสร้างเศรษฐกิจใหม่​ เป็นแค่การพัฒนาบนฐานคิดเก่า​ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ​ในหมู่ประชาชน​มากเกินไป​ สามารถระดมแนวคิดสร้างสรรค์​เศรษฐกิจใหม่ๆได้ รวมทั้งในการดำเนินการมักใช้อำนาจและความรู้ด้านเดียว​ ปิดกั้นความเห็นอื่น​ และมีเป้าหมายของผู้ปฏิบัติเพื่อการคอรัปชั่น, ในกรณีเขื่อนกั้นชายหาดเป็นตัวอย่างชัดแจ้ง​ ในการสร้างโครงการเพื่อหวีงเงินทอน​งบก่อสร้าง​ และโครงการไม่ก่อประโยชน์​ เกิดผลกระทบกว้างขวาง”

ผู้ตอบสำรวจ

ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร

  • การแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม
  • ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
  • นโยบายการเยียวยาเศรษฐกิจประเทศ

ประเด็นที่ 1 : สวัสดิการของประชาชนที่พึงได้จากรัฐ ปัจจุบันสวัสดิการของประชาชนถูกแบ่งชนชั้นอย่างชัดเจนหลายกลุ่ม ส่วนใหญ่กระจุกอยู่แค่บางอาชีพ เช่น ข้าราชการ ที่จะมีสิทธิมากกว่าอาชีพอื่น ๆ ทำให้ประชาชนกลุ่มอื่นไม่ได้รับสิทธิ์ที่พึงได้อย่างครอบคลุมและมีคุณภาพ ถ้าเราแบ่งสิทธิ์จากคนกลุ่มหนึ่ง มากระจายให้อีกกลุ่มหนึ่งเฉลี่ยให้เท่ากัน เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เท่าเทียม การได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมเมื่อเกษียณอายุตลอดจนสวัสดิการอื่น ๆ ซึ่งดูจากเม็ดเงินภาษี กองทุนประกันสังคม หรืออื่น ๆ น่าจะทำได้ไม่ยาก ซึ่งตรงนี้จะส่งผลต่อใน

ประเด็นที่ 2 คือ การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทุกวันนี้บ้านเรามีความเหลื่อมล้ำแทรกอยู่ในทุกประเด็นปัญหา และยิ่งชัดเจนขึ้นทุกวัน เราถูกเลือกปฏิบัติ จากการจำแนกจากอาชีพ ชาติพันธุ์ ฐานะ และลักษณะกายภาพ เช่น คนชาติพันธ์ที่เกิดในแผ่นดินไทยทำไมถึงถูกคุกคามขับไล่ออกจากพื้นที่ทำกินเดิม ประเด็นการถูกเอาเปรียบของผู้พิการ การถูกสวมสิทธิ์ และการทุจริตในระดับย่อย(การปกครองส่วนท้องถิ่น) ยกตัวอย่างจากเคสที่ประสบด้วยตนเองเ นื่องจากครอบครัวตนเองมีผู้พิการอยู่ ในหลายครั้งเราได้รับช่วยเหลือในมาตรการต่าง ๆ ที่อาจมาในรูปแบบของเงินเยียวยา แต่สิ่งที่เราได้จาก อปท.คือ การแปรเงินเป็น ผงซักฟองคุณภาพต่ำ น้ำยาล้างจานคุณภาพต่ำมาถึงผู้พิการ โดยไม่มีการสอบถามความจำเป็นใด ๆ ว่าเราต้องการหรือไม่ นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมเราเล็กน้อยเท่านั้น คำถามต่อไปนี้ เราตั้งคำถามมานานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบ “ว่าทำไมคนรวมถึงรวยเอา รวยเอา และคนจนทำไมถึงจนขึ้นทุกวัน ในขณะที่เขาทำทุกอย่างเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น ?” ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง การเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนใหญ่

ประเด็นที่ 3 : การถูกลิดรอนเสรรีภาพในการแสดงออก แสดงความคิดเห็น มองให้เป็นกลางเราทุกคนมีสิทธิ์วิพากษ์วิจารย์การทำงานของรัฐอย่างเต็มที่ ไม่ได้เพื่อจับผิด แต่อยากให้พัฒนาจริง ๆ เพราะเราทนอยู่ในสภาพแบบนี้ไม่ไหวแล้วในทุกเรื่อง ทั้งเรื่องการเลือกปฏิบัติ การทุจริต ความไม่เป็นธรรม ที่เด็กประถทศึกษาก็ดูออก เราไม่สามารถมานั่งอวยการทำงานของรัฐได้ทุกอย่าง อะไรที่ทำดีเราชื่นชมมาก แต่สิ่งที่ควรแก้ ควรปรับ ก็ต้องปรับ ยอมรับความจริง . สุดท้ายเราประชาชน อยากเห็นรัฐบาลทำงานร่วมกับฝ่ายค้านอย่างจริงใจในเนื้องาน เลิกการทิ่มแทงกันไปมาสักทีเกมการเมืองในสภาเราเบื่อแล้ว : ทำงานเพื่อประชาชน ให้สมกับเงินเดือนหลักแสนที่ท่านได้จากภาษีของเรา ประชาชนทุกคนต่างทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ มนุษย์เงินเดือนที่ได้เงินเดือนน้อยนิดเราทำหน้าที่เราอย่างเต็มที่ พ่อค้า แม่ขายก็ทำหน้าที่ตัวเองอย่างเต็มที่ เพื่อเป้าหมายเดียวกันคืออยากให้บ้านเมืองเรามั่นคง ในทุกเรื่อง ประชาชน มีอยู่มีกิน เข้าถึงสิทธิด้านต่าง ๆ

“เราประชาชน ทำหน้าที่สุดความสามารถแล้วขอให้ท่านผู้ทรงเกียรติในสภาทำหน้าที่ให้สุดความสามารถเพื่อประเทศของเราเช่นกัน”

นอกเหนือจากประเด็นที่ภาคพลเมืองอยากฟัง และความสำคัญของเรื่องเหล่านั้นที่ประชาชนหวังจะนำไปสู่การอภิปรายแล้ว แบบสำรวจนี้ยังชวนภาคพลเมืองจัดอันดับ 5 สิ่งที่ประชาชนไม่พึงประสงค์จะให้เกิดขึ้นระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลปรากฎผล ดังนี้

เพราะการทำงานของฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายบริหาร ล้วนอยู่บนความคาดหวังของประชาชน ร่วมติดตามการรายงาน หรือปักหมุดสื่อสารเรื่องราวสำคัญรอบตัวกันอย่างต่อเนื่องกันได้ทางแอปพลิเคชัน C-Site และพื้นที่การสื่อสารของภาคพลเมืองทุกช่องทาง

เพราะพลังการสื่อสารอยู่ในมือคุณ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ