เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันแรงงานข้ามชาติสากล องค์การสหประชาชาติได้มีการจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติและครอบครัว ค.ศ1990 เพื่อให้แรงงานข้ามชาติและแรงงานอพยพในประเทศต่างๆ ได้รับการคุ้มครองในฐานะที่เป็นมนุษย์กลุ่มเครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติเชียงใหม่ รวมตัวกันที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องจากเครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ จังหวัดเชียงใหม่ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ สานักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่
(ขอบคุณภาพจาก : ประชาธรรม)
รายละเอียดจดหมายเรียกร้องระบุว่า จังหวัดเชียงใหม่มีชายแดนติดกับประเทศพม่า และมีแรงงานข้ามชาติมาอยู่อาศัยและทำงาน โดยได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นระยะเวลายาวนานตามธรรมชาติการย้ายถิ่นไปมาหาสู่กันของผู้คนชาติพันธุ์ต่างๆในภูมิภาคนี้ เนื่องจากวันแรงงานข้ามชาติสากล เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงใหม่ใช้โอกาสนี้อธิบายถึงปัญหาที่แรงงานข้ามชาติกำลังประสบอยู่ และมีข้อเรียกร้องคือ
1. จากบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน (MOU) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่า ลาว กัมพูชา มีนโยบายให้แรงงานข้ามชาติที่วีซ่าครบ 4 ปี ให้กลับประเทศต้นทางเป็นระยะเวลา 3 ปี จึงจะสามารถกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อีกครั้งหนึ่ง ประกอบกับสถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้ที่ขาดรัฐบาลมาดูแลให้การบริหารจัดการจ้างแรงงานข้ามชาติให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับความต้องการแรงงานฯ จากประเทศเพื่อนบ้าน ทางเครือข่ายฯ ขอให้ผู้ว่าฯ ออกระเบียบอย่างเร่งด่วน เพื่อให้แรงงานข้ามชาติทุกกลุ่มในจังหวัดเชียงใหม่สามารถอยู่ทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องเผชิญกับการตรวจจับกุมและ การอยู่ทำงานแบบลักลอบ
2. ให้แรงงานข้ามชาติทุกกลุ่มทั้งแรงงานในระบบและ แรงงานนอกระบบไมว่าจะเป็นแรงงานภาคเกษตร แรงงานทำงานบ้าน แรงงานในภาคอุตสาหกรรมบันเทิงทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นแรงงานบริการนวด หรือพนักงานร้านคาราโอเกะ เป็นต้น สามารถเข้าถึงประกันสังคมได้อย่างทั่วถึงโดยไม่มีข้อยกเว้น
3. ให้แรงงานข้ามชาติสามารถดำเนินการได้เองเพื่อการมีเอกสารอยู่ท างานและอยู่อาศัยในประเทศไทยโดยไม่ต้องขึ้นกับนายจ้างหรือนายหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นการขอทำบัตรประจำตัวประเภทต่างๆ รวมทั้งหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต การทำบัตรอนุญาตทำงานและ การขอเปลี่ยนนายจ้าง เป็นต้น และโดยเฉพาะกรณีการเปลี่ยนนายจ้างควรกำหนดระยะเวลาให้ยาวนานขึ้นเป็น 3 เดือน เพื่อให้สอดคล้องกับการสามารถเลือกสภาพการท างานที่ยุติธรรมไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
4. ลดอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่แรงงานจะต้องจ่ายเพื่อการมีเอกสารอยู่อาศัยและท างาน ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอย่างสัมพันธ์กับค่าจ้างที่แรงงานได้รับ
5. กำหนดให้บัตรอนุญาตทำงานของแรงงานข้ามชาติ ในเงื่อนไขพื้นที่การทำงานให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด อย่างสอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติการทำงาน เช่น แรงงานก่อสร้างต้องย้ายสถานที่ทำงานเป็นประจำ เป็นต้น
6. ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเคร่งครัดจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเช่น นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท สถานที่ทำงานต้องมีความปลอดภัยถูกสุขลักษณะและมีอุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้ และให้เอาผิดกับนายจ้างที่เอารัดเอาเปรียบแรงาน และไม่ปฏิบัติตามพรบ.คุ้มครองแรงงานอย่างเคร่งครัด
เครือข่ายระบุว่ายินดีร่วมเป็นคณะทำงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อพิจารณาข้อเสนอเหล่านี้ไปสร้างนโยบายในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติเป็นไปอย่างทั่งถึงและไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มในเชียงใหม่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข อีกทั้งเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่
สำหรับ เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติเชียงใหม่ ประกอบด้วย กลุ่มแรงงานสามัคคี(WSA) สหพันธ์คนงานข้ามชาติ (MWF) กลุ่มพลังเยาวชนไทใหญ่ (Shan Youth Power) เครือข่ายปฏิบัติงานสตรีไทใหญ่ (SWAN) มูลนิธิส่งเสริมโอกาสผู้หญิง (EMPOWER) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF) มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์(MAP) เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ าโขง(MMN)
ติดตามอ่านรายละเอียดจดหมายเปิดผนึกเพิ่มเติมในภาษาต่าง ๆ ตามลิงค์นี้ได้เลยนะคะ
in English – http://goo.gl/248K4H
in Thai – http://goo.gl/67AsQC
in Burmese – http://goo.gl/1b9koN
in Shan – http://goo.gl/U4FcwP
เนื้อหาอื่น ๆ เพิ่มเติม
เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ : กฏหมาย นโยบาย และการเข้าถึง
http://issuu.com/hrdfoundation/docs/mwg17dec13/1?e=8095058/6068497