ห้องเรียนประชาธิปไตย เครื่องมือเรียนรู้ประชาธิปไตย สู่บทบาทพลเมือง

ห้องเรียนประชาธิปไตย เครื่องมือเรียนรู้ประชาธิปไตย สู่บทบาทพลเมือง

หากพูดถึงประชาธิปไตยในโรงเรียน มันก็คงไม่ใช่แค่การเปิดให้มีระบบเลือกตั้งประธานนักเรียนเท่านั้น แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ครูและนักเรียน ได้ตั้งคำถามอธิบาย อภิปราย โต้ตอบแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ

วันนี้ชวนผู้อ่านไปทำความรู้จักกับครูอรสิริพิมพ์ บริหารธนโชติ หรือว่าครูปุ้ย ครูที่ปรึกษาการส่งเสริมประชาธิปไตย โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม จ.เชียงใหม่ ในมุมมองครูที่พยายามสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียน เกิดเป็นห้องเรียนประชาธิปไตย พื้นที่กลาง ที่ให้ครูและนักเรียนได้ ปลดปล่อยความคิดเห็น แสดงความเห็นต่าง

“ทำไมเรายังสอนเหมือนเดิม ทั้งที่โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว”

นั่นเป็นประโยคที่ครูเอากลับมาถามตัวเองว่า เรายังจะเป็นครูแบบเดิม หรือว่าจะเป็นครูเพื่อนำพาเด็กไปสู่อนาคตที่พวกเขาต้องการ

เราสอนวิชาสังคม เราสอนบทบาทหน้าที่พลเมือง เราจะไปบอกเขาว่าเธอต้องมีประชาธิปไตยนะ เธอต้องเข้าใจมัน เราไปบอกเขาโดยที่ในห้องเรียนนี้เอง เขายังไม่มีโอกาสมีส่วนร่วมในการออกแบบมันเลย ซึ่งการมีส่วนร่วมมันคือหัวใจของประชาธิปไตย เขายังไม่มีสิทธิ์ที่จะพูดเลย เมื่อเราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง แต่ห้องเรียนยังเหมือนเดิม ครูไม่เคยเปลี่ยนการสอน มันก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ครูจึงคิดว่าถ้าอยากให้เด็กเปลี่ยนแปลง ห้องเรียนก็ต้องเปลี่ยน ที่เกิดจากนักเรียนร่วมออกแบบ เป็นหลักประชาธิปไตยที่เอาเข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก มันจึงเกิดเป็นห้องเรียนประชาธิปไตย

ห้องเรียนประชาธิปไตย เครื่องมือนำประชาธิปไตยสู่การปฏิบัติจริง

ห้องเรียนประชาธิปไตย คือ การเอากระบวนการประชาธิปไตยมาใส่ไว้ในห้องเรียน มันวิธีการการอยู่ร่วมกันในสังคมขนาดย่อม เมื่อเขาออกจากห้องเรียนนี้ไป ให้เขามีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อน ไม่มีการบูลลี่ ไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข เกิดสำนึกในบทบาทหน้าที่ของพลเมืองอย่างถูกต้อง

ชั่วโมงแรกของการเรียน นักเรียนจะเขียนแสดงวามคิดเห็น ว่าอยากให้ห้องเรียนที่เราจะอยู่ร่วมกันตลอด 1 เทอมนี้ เป็นอย่างไร จากนั้นครูจะเอาความคิดเห็นและข้อเสนอต่าง ๆ มาออกแบบการเรียนการสอนให้เป็นไปตามที่เด็ก ๆ ต้องการ สร้างข้อตกลงร่วมกัน การเข้ามาเรียนในห้องนี้ มันจะเหมือนเป็นการมาแลกเปลี่ยนกัน ใช้สิทธิของตัวเองในการพูดคุย กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น และรับฟัง บนพื้นฐานหลักสิทธิมนุษยชน และต้องมาพร้อมกับเหตุผล มันไม่มีเหตุผลถูกหรือผิด แต่อยู่ที่ว่า ใครสามารถสนับสนุนเหตุผลนั้นได้ดี

“ถ้าทำแบบนี้ เราไม่ต้องบอกเลยว่าประชาธิปไตยคืออะไร เพราะมันเป็นสิ่งที่เข้าทำอยู่แล้ว”

ประชาธิปไตยในโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม (27 ส.ค.63)

เมื่อการเลือกตั้ง ไม่ใช่ตัวชี้วัดเดียวว่า เราเป็นสังคมประชาธิปไตยฉันใดก็ฉันนั้น หากพูดถึงประชาธิปไตยในโรงเรียน มันก็คงไม่ใช่แค่การเปิดให้มีระบบเลือกตั้งประธานนักเรียนเท่านั้น แต่การเปิดโอกาสให้ครูและนักเรียน ได้ตั้งคำถามอธิบาย อภิปราย โต้ตอบแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างมาก ที่โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม เห็นความสำคัญถึงเรื่องนี้ จึงมีการจัดพื้นที่กลาง ผ่าน ลานประชาธิปไตย ให้ครูและนักเรียนได้ ปลดปล่อยความเห็นต่าง จนหลายต่อหลายครั้งกลายเป็นกุญแจไม่สู่การแก้ปัญหาในโรงเรียน (27 ส.ค.63)#CSite #นักข่าวพลเมือง #ThaiPBS.ติดตาม นักข่าวพลเมือง C-Site ทุกวัน จันทร์ และ พฤหัสบดี เวลา 13.30.00 – 14.00 น.📌 รับชมทาง #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3📌 ชมสดออนไลน์ : www.thaipbs.or.th/Live📌 ชมย้อนหลัง : www.thaipbs.or.th/CSite

โพสต์โดย นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2020

แล้วในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่นักเรียนออกมาแสดงเชิงสัญลักษณ์ในตอนนี้ ครูควรมีบทบาทหน้าที่อย่างไร

ถ้าพูดถึงบทบาทของครูกับสถานการณ์ที่นักเรียนออกมาแสดงเชิงสัญลักษณ์ในตอนนี้ คือต้องเข้าใจก่อนว่าครูก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่มีความรู้สึก และอาจจะมีความนึกคิดเรื่องการเมืองที่แตกต่างกัน ครูว่าสิ่งที่สำคัญคือ เราต้องไม่ยัดเยียดความคิดของเราใส่เข้าไปให้เด็ก กลับกันคือเราต้องเปิดรับสิ่งที่เด็ก ๆ คิด ลองคิดง่าย ๆ เราเอาหลักประชาธิปไตยเข้ามาใช้ เราต้องเคารพจุดยืนทางการเมืองของแต่ละคน เราต้องเปิดใจรับฟังตรงนี้ ซึ่งถ้าทำได้ครูเชื่อว่ามันจะลดแรงเสียดทานครูกับเด็กได้

  แต่หน้าที่ความเป็นครูเราก็ยังต้องทำอยู่ เราต้องคอยชี้แนะ บางอย่างที่อาจจะไม่เหมาะสม เช่น เรื่องการใช้ภาษาในการโพสต์บนโซเชียล ครูก็จะบอกเด็กเสมอว่า เราพูดถึงสิ่งที่เราอยากสื่อสารได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำหยาบ คำรุนแรง หรือแม้แต่การแชร์ เราต้องศึกษาข้อมูลก่อน กลั่นกรองก่อนว่าข้อความนั้น ๆ เป็นความจริงหรือไม่ ก่อนที่จะแชร์อะไรไป

ถอดบทเรียน 4 ปี กับบทบาท “ครูส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน”

“ผ่านมา 4 ปี เราเห็นว่า ช่วงเวลาที่ผ่านมา มันมาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี”

ปีแรกที่ครูมาทำงานตรงนี้ ครูเห็นว่าเด็ก ๆ ยังไม่ได้ตระหนักในเรื่องของการเมืองมาก พวกเขาก็จะไม่ได้มีการแสดงออกทางการเมืองที่ชัดเจน แต่เด็กรุ่นหลัง ๆ มานี้ เขาเริ่มเรียนรู้บทบาทของตัวเอง พอรู้แล้ว เขาก็เริ่มที่จะแสดงออกด้วยวิธีการต่าง ๆ

4 ปีที่ผ่านมา เด็ก ๆ ค่อย ๆ เริ่มเติบโตในเรื่องกระบวนการคิด การทำงานเป็นทีม ตั้งแต่การผลักดันเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้โรงเรียนดีขึ้น รวมไปถึงภาพใหญ่ในเรื่องการเมือง ที่พวกเขากล้าที่จะแสดงความคิดเห็น กล้าที่จะพูด กล้าที่จะสู้ในเชิงสัญลักษณ์ แต่สิ่งที่สำคัญสำหรับครูมองนะ ครูมองว่าเด็ก ๆ เขายังแยกแยะออกว่า สิ่งไหนทำแล้วเหมาะสม ไม่เหมาะสม ส่วนบทบาทหน้าที่ของครู ก็คอยอยู่ข้าง ๆ เขา คอยรับฟัง คอยให้คำแนะนำโดยไม่ชี้นำในสิ่งที่เขาคิด

author

เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง related posts

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ