ประเพณีโล้ชิงช้าชาวอาข่า หรือที่พี่น้องชาวอาข่าเรียกว่า “แย้ขู่อ่าเผ่ว” ประเพณีโล้ชิงช้า ถือว่า เป็นการให้ความสำคัญกับผู้หญิง ฉะนั้น ผู้หญิงชาวอาข่ามีการแต่งกายด้วยเครื่องประดับที่มีสวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะของชนเผ่าตัวเอง ประเพณีโล้ชิงช้าจัดขึ้นเพื่อเป็นการฉลองพืชพรรณที่จะเก็บเกี่ยวไว้บริโภค เนื่องจากพืชไร่พืชสวนต่างๆ ที่ปลูกลงไปพร้อมที่จะได้ผลผลิตแล้ว โดยมีสุภาษิตกล่าวไว้ว่า “ขู่จ่า หม่าโบะ หม่าโบะ” ซึ่งมีความหมายว่า ประเพณีโล้ชิงช้ามีอาหารหลากลาย และสมบูรณ์นั่นเอง
ชาวอาข่าได้สืบทอดประเพณีนี้มาเป็นเวลา 2,700 กว่าปีแล้ว ซึ่งในปัจจุบันประเพณีโล้ชิงช้าจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม และต้นเดือนกันยายน ตรงกับช่วงที่ผลผลิต กำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้พี่น้องชาวอาข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอสำหรับการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอาข่าคือ “ฉ่อลาบาลา” ประเพณีโล้ชิงช้าของพี่น้องชาวอาข่า ถือเป็นพิธีกรรมที่มีคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญาที่ใช้ในการส่งเสริมความรู้แล้ว ยังเกี่ยวพันกับการดำรงชีวิตประจำวันของอาข่าอีกมากมาย และจัดทั้งหมดเพียง 4 วัน
เครื่องแต่งกายของหญิงชาวอาข่า
บรรยายกาศภายในงานประเพณีโล้ชิงช้าชาวอาข่า บ้านศรีวิเชียร จังหวัดเชียงราย
และเช่นเคยปีนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่สำคัญสำหรับพี่น้องชาวอาข่าที่ยังให้ความสำคัญกับประเพณีโล้ชิงช้าของพวกเขา ปีนี้พี่น้องชาวอาข่าหมู่บ้านศรีวิเชียร จังหวัดเชียงราย ร่วมใจกันจัดประเพณีโล้ชิงช้าของชนเผ่าของตนเองเพื่อเป็นการสืบสานวัฒธรรมที่ดี ที่บรรพบุรุษของพี่น้องชาวอาข่าได้สืบสานให้แก่ลูกหลานของชาติพันธ์ุอาข่ามาจนถึงทุกวันนี้ โดยบรรยายกาศภายในงานนั้นมีการละเล่นของพี่น้องชาติพันธ์ุชาวอาข่าที่เตรียมแสดงให้แก่แขกผู้มาเยือน
โดยพี่น้องชาวอาข่าบางส่วนนั้นที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านศรีวิเชียร จังหวัดเชียงรายนั้นนับถือศาสนาศริสต์นิกายโรมันคาทอลิก จึงได้มีการแห่งรูปพระแม่มารีย์เพื่อเป็นการสักการระบูชาและให้เกียร์ติสิ่งศักดิ์ทางความเชื่อของพี่น้องชาวอาข่าที่นับถือศาสนาศริสต์ มีพี่น้องชาวอาข่าหมู่บ้านศรีวิเชียรที่นับถือ ศาสนาศริสต์นิกายโรมันคาทอลิก รวมทั้งสิ้น 456 คนซึ่งชุมชนนี้เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่สะท้อนว่าเป็นชุมชนแห่งความเชื่อ
มุมน่ารักของเด็ก ๆ ชาวอาข่า
หวังว่าพี่น้องชาวอาข่ารุ่นใหม่และเก่ายังคงแลเห็นถึงความสำคัญของประเพณีโล้ชิงช้าต่อไปและยังคงตระหนักถึงคุณค่า ความเชื่อความศรัทธาในความงามที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองในรูปแบบความงดงามของชาวอาข่าและวิถีชีวิตของพวกเขา