“ทำไมชุมชนเราถึงต้องถูกเลือกให้เป็นผู้ที่ต้องเสียสละ”
คำถามง่ายๆ สั้นๆจากผู้นำชุมชน วันชัย ศรีนวล ผู้ใหญ่บ้านแม่งูด หมู่ 6 ต.นาคอเรือ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ชุมชนที่ตั้งอยู่จุดปลายอุโมงค์ความยาวกว่า 60 กิโลเมตร ของโครงการผันน้ำยวม จ.แม่ฮองสอน เพื่อเพิ่มประมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล
เรื่องสำคัญที่จะต้องติดตามกันอย่างต่อเนื่องคือเรื่องการบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์ภัยแล้ง ซึ่งในโครงการที่ต้องจับตาคือความพยายามของกรมชลประทาน ในเดินหน้าโครงการผันน้ำจากแม่น้ำยวม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เติมเขื่อนภูมิพล โดยตั้งเป้าช่วยเพิ่มน้ำปริมาณน้ำในเขื่อนได้ประมาณปีละกว่า 1,800 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ภายใต้โครงการขนาดใหญ่ แน่นนอนว่าก็มีชาวในพื้นที่ตลาดแนวของโครงการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำที่มีความยาวกว่า 60 กิโลเมตร สร้างความกังวลใจ ว่าจะได้รับผลกระทบ และอาจจะขาดการดูแลจากภาครัฐ
ชุมชนบ้านแม่งูด หมู่ 6 ต.นาคอเรือ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ชุมชนที่นี่เป็นชุมชนกะเหรี่ยงโปว์ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกลำไยและทำนาข้าว
โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพล โดยการผันน้ำจากแม่น้ำยวม จุดเริ่มต้นอยู่ที่ ตามโดยแนวของอุโมงค์ผันและส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำยวม ถึงพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ระยะทางยาวตามแนวเส้นตรงกว่า 60 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 6ตำบล 3อำเภอในสองจังหวัดคือ แม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ ซึ่งผ่าทะลุป่ารอยต่อของเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตป่าสงวน ในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน
ซึ่งแน่นอนว่า ชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวมีหลายครอบครัวที่ทั้ง ที่อยู่อาศัย ที่ทำกินก็อยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิ เนื่องจากทับซ้อนกับพื้นที่ป่า หนำซ้ำ ชาวบ้านบางรายไม่มีเอกสารหลักฐานทางทะเบียนราษฎร อีกด้วย นี่ก็เลยเป็นสาเหตุที่พวกเขากังวลการถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
จุดปลายอุโมงค์ความยาวกว่า 60 กิโลเมตร ของโครงการผันน้ำยวม จ.แม่ฮองสอน สิ้นสุดและมีปากอุโมงค์อยู่ที่บริเวณ หมู่บ้านกะเหรี่ยง ห้วยลำห้วยแม่งูด ก่อนที่มวลน้ำที่ผันมาได้จะไหลลงเขื่อนภูมิพล ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้านมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทั้งผลกระทบจากการขุดเจาะ และบริน้ำที่ผันมา ซึ่งอาจจะส่งผลให้ปริมาณน้ำที่มาลงลำห้วยแม่งูดก่อนจะไหลไปยังเขื่อนภูมิพล เพิ่มสูงขึ้น อาจจะส่งผลกระทบต่อเพื่อที่กิน ของชาวบ้านได้ ก่อนที่จะไหลลงไปสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ทุกครั้งที่มีปัญหาเกี่ยวกับปัญหาเรื่องระบบการจัดการน้ำภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นน้ำแล้ง น้ำท่วม สถานการณ์วิกฤติด้านน้ำของประเทศไทยทำให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องรีบคิดรีบเสนอโครงการขนาดใหญ่โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหา แน่นอนว่าไม่มีใครสามารถตอบได้ว่ามันจะแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่?
แน่นอนเมื่อมีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ย่อมมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงทางอ้อมจากการก่อสร้างโครงการ และแน่นอนว่าหากพวกเขาไม่ทักท้วง ก็จะถูกถามหาถึง”ความเสียสละเพื่อส่วนรวม”
นายวันชัย ศรีนวล ผู้ใหญ่บ้านแม่งูด หมู่ 6 ต.นาคอเรือ กล่าวว่า ชาวบ้านในหมู่บ้านซึ่งเป็นคนกะเหรี่ยงมีความเห็นตรงกันที่จะคัดค้านผันน้ำครั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ทำให้ชาวบ้านไม่เห็นด้วย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ชี้แจงข้อมูลไม่กระจ่าง ชาวบ้านยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลกระทบในหลายประเด็น
ชุมชนกะเหรี่ยงหมู่ที่6 บ้านนาคอเรือ ต.นาคอเรือ อ.ฮอด ชุมชนที่นี่ มีชาวบ้าน 75 ครัวเรือน ซึ่งชาวบ้านที่นี่บอกว่าทำมาหาอยู่หากินมาตั้งแต่บรรพบุรุษยาวนานกว่า 200 ปี แต่หลังจากมีโครงการก่อสร้างเขื่อนภูมิพล ในปี 2502 พื้นที่ตรงนี้ถูกกันออก เวนคืน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เป็นสันขอบของเขื่อน และต่อมารัฐจัดสรรให้เป็นพื้นที่นี้ อยู่ในการดูแลของนิคมสหกรณ์แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ให้ชาวบ้านได้ใช้ทำกินและอยู่อาศัย พื้นที่ที่ถูกจัดสรรชาวบ้านที่นี่ทำสวนมะม่วงและสวนลำไยรายได้หลัก 10,000 บาทไปจนถึงหลัก 100,000 บาท แล้วแต่ราคาในแต่ละปี
ผ่านมา 60 ปีความไม่มั่นคงเกิดขึ้นอีกครั้งในที่ที่เป็นต้นทุนทั้งที่อยู่อาศัย และแหล่งรายได้ที่เลี้ยงครอบครัว เมื่อที่ของชุมชนแห่งนี้ถูกเลือกให้เป็นปลายอุโมงค์ผันน้ำและจุด กองเศษวัสดุจากการก่อสร้าง นั่นหมายถึงหินหรือดินที่เกิดจากการขุดเจาะอุโมงค์ แน่นอนว่าปริมาณของมันเทียบเท่ากับภูเขาหนึ่งลูก ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มติดกับพื้นที่ห้วยแม่งูด ปริมาณน้ำอาจจะท่วมพื้นที่ทำกินทั้งหมด
ชาวบ้านบอกว่าพวกเขารู้ข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีมูลราคากว่าเจ็ดหมื่นล้าน แต่หากขึ้นจริงพวกเขาพร้อมที่จะขัดค้านอย่างสุดกำลังตามที่ศักยภาพของชาวบ้านแบบพวกเขาจะทำได้เพื่อปกป้องพื้นที่ทำกินที่เขามองว่าโครงการพัฒนาที่เข้ามานั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนในพื้นที่ของชุมชนและพื้นที่โดยรอบ พร้อมกันนี้พวกเขาไม่ตั้งคำถามถึงการบริหารจัดการน้ำภาพรวมของภาครัฐ และตั้งคำถามกับผู้ใช้น้ำอย่างพวกเราว่ารู้สึกอย่างไรหากอยู่มาวันนึงเราถูกเลือกให้เป็นผู้เสียสละ