ย้อนรอยคดี“ทวงคืนผืนป่า” บ้านแม่กวัก: เมื่อมาตรการเชิงอนุรักษ์มาก่อนข้อเท็จจริงในพื้นที่

ย้อนรอยคดี“ทวงคืนผืนป่า” บ้านแม่กวัก: เมื่อมาตรการเชิงอนุรักษ์มาก่อนข้อเท็จจริงในพื้นที่

เขาบอกว่าถ้าเราไม่ตัดเขาจะเอาคดีมาให้ตอนนั้นยางเราก็ใกล้จะกรีดแล้วลูกเราก็เรียนอยู่ก็ต้องตัดไปทั้งน้ำตาเพราะไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนไปส่งลูกเรียนนางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อหรือชื่อเดิมนางแสงเดือน ตินยอดหญิงชาวบ้านแม่กวัก .บ้านอ้อน .งาว.ลำปาง กล่าวอย่างสิ้นหวังเมื่อนึกถึงเหตุการณ์ในปี 2556 ที่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท(เตรียมการ) บังคับให้ตัดฟันยางพาราของตัวเอง

ปัจจุบันเธอถูกดำเนินคดีจากเจ้าหน้าที่ป่าสงวนฯในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนฯและมีอาวุธไว้ในครอบครอง  แม้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเธอไม่ได้บุกรุกและอาวุธนั้นไม่ใช่ของเธอแต่วันนี้(25 มิถุนายน2562) อัยการได้แจ้งว่าสั่งฟ้องไปแล้วให้นางแสงเดือนไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ศาลจังหวัดลำปางบ่ายวันนี้และต้องใช้หลักทรัพย์ประกันตัว1.5 แสนถึง2 แสนบาทยังถูกคิดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมหรือคดีโลกร้อนเป็นค่าเสียหายทั้งหมดกว่า1 ล้านบาท

ย้อนไปก่อนหน้านี้เมื่อ9 เดือนที่ผ่านมาหลังจากที่นางแสงเดือนได้เข้าพบพนักงานอัยการจังหวัดลำปางในขณะนั้นคืออัยการยังไม่ได้ส่งฟ้องต่อศาลซึ่งที่ผ่านมานางแสงเดือนได้เข้าร่วมสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมเพื่อเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาว่าคดีที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากนางแสงเดือนไม่ได้เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินแปลงนั้นตั้งแต่ปี2559 และไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เนื่องจากหย่าร้างกับสามีและย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่จังหวัดเชียงรายพร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นนางวันหนึ่งยาวิชัยป้อมซึ่งเป็นผลพวงจากการดำเนินคดีของเข้าหน้าที่รัฐ

นอกจากนั้นยังปรากฏข้อเท็จจริงว่าพื้นที่ทำกินผืนนี้ไม่เคยมีการบุกรุกเพิ่มเติมตามที่เจ้าหน้าที่หน่วยงานพิทักษ์ป่าที่13 (แม่โป่ง) กล่าวอ้างแต่อย่างใดถึงแม้คณะทำงานจากกรมอุทยานฯตำรวจป่าสงวนฯตลอดจนเครือข่ายภาคประชาชนได้ลงพื้นที่ร่วมกันตรวจสอบกรณีดังกล่าวและมีความเห็นร่วมกันแล้วว่าไม่ได้มีการบุกรุกแต่กรมอุทยานฯและเจ้าหน้าที่หน่วยงานพิทักษ์ป่าที่13 (แม่โป่ง) กลับอ้างว่าได้ส่งเรื่องไปให้อัยการแล้วและยากจะแก้ไขหรือถอนฟ้อง 

 

ลำดับเหตุการณ์ทวงคืนผืนป่าบ้านแม่กวักสู่คดีนางแสงเดือน

พื้นที่บ้านแม่กวัก.บ้านอ้อน.งาว.ลำปางถูกประกาศเป็นพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติแม่โป่งตั้งแต่ปี2514 จากประวัติชุมชนและคำบอกเล่าจากชาวบ้านชี้ชัดว่าชาวบ้านแม่กวักอยู่มาก่อนการประกาศเขตป่าสงวนฯดังกล่าวโดยหลังจากนั้นในปี2528 เจ้าหน้าที่ป่าสงวนฯได้ทำโครงการอนุญาตให้ชาวบ้านใช้พื้นที่ในรูปแบบใบแสดงว่ามีสิทธิ์ทำกิน(สทก.1) ให้ชาวบ้านแม่กวักได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่โป่งเรื่อยมาจนถึงการอนุญาตให้ชาวบ้านต่ออายุใบขออนุญาตทำกินในรูปแบบสทก.2 เมื่อปี2538 เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้แสดงเจตจำนงในการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ต่อ 


หลังจากนั้นในปี2535 ได้มีเจ้าหน้าที่เข้ามาติดป้ายประกาศเป็นเขตเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทโดยไม่ลงมาชี้แจงวัตถุประสงค์ในการประกาศและชี้แจงแนวเขตว่าจุดไหนอย่างไรทำให้ชาวบ้านเริ่มเดือดร้อน ผลพวงหลังจากนั้นคือในปี2540 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้เข้ามาชี้แจงชาวบ้านกำชับไม่ให้เข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่จนเกิดการจับกุมดำเนินคดีนายเสาร์แก้วโพรโสผู้ครอบครองเนื้อที่ประมาณ5 ไร่ข้อหาบุกรุกพื้นที่เตรียมประกาศอุทยานฯทั้งที่เจ้าตัวให้การว่าทำกินมาก่อนหน้านั้น 


คดีที่สองเกิดขึ้นในปี2555 นายธงชัยใจเย็นถูกตั้งข้อหาบุกรุกพื้นที่เตรียมประกาศอุทยานฯแม้จะมีหลักฐานใบสทก. เพื่อแสดงว่าตนได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่อยู่ก่อนและทำกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษตามมาด้วยคดีของนางแสงเดือนตินยอดที่เกิดขึ้นต่อมาในปี2556

การดำเนินการกับนางแสงเดือนมีลักษณะที่แตกต่างจากคดีอื่นเพราะเป็นการบังคับขู่เข็ญจากเจ้าหน้าที่อุทยานฯให้เธอตัดฟันยางพาราของตัวเองอ้างว่าหากไม่ปฏิบัติตามจะถูกดำเนินคดีทำให้นางแสงเดือนต้องจำจใจตัดฟันยางพาราที่อีกไม่นานจะถึงเวลาได้กรีดของตัวเองทั้งน้ำตา


เมื่อความเดือดร้อนเริ่มหนักขึ้นในปี2558 ชาวบ้านแม่กวักได้ร่วมมือกันจัดทำแผนที่ชุมชนประกอบการแก้ไขปัญหาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชนแต่ถูกนายอำเภไม่ให้ชาวบ้านดำเนินการในรูปแบบของโฉนดชุมชนอ้างว่าผิดกฎหมายและจะยึดคืนข้อมูลทั้งหมดพร้อมทั้งดำเนินคดีชาวบ้านซึ่งความเดือดร้อนก็เกิดขึ้นจริงในวันที่2 กรกฎคมปีเดียวกันนางแสงเดือนตินยอดถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท(เตรียมการ) ขู่ให้ตัดยางพาราอีกครั้งในพื้นที่ทำกิน10 ไร่จำนวน760 ต้นหากไม่ดำเนินการจะถูกดำเนินคดีโดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าหากดำเนินการตัดเองแล้วสามารถทำกินได้อย่างเดิมนางแสงเดือนจำเป็นต้องดำเนินการแม้จะยืนยันว่าใช้ประโยชน์ต่อจากบรรพบุรุษมาตั้งแต่ปี2508 และมีเอกสารสทก. ตั้งแต่ปี2537 มายืนยัน


วันที่11 กรกฎาคม.2560 เจ้าหน้าที่นำเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจและจอดลงในพื้นที่ทำกินบ้านแม่กวักโดยไม่ได้แจ้งให้ชาวบ้านทราบซึ่งชุดปฏิบัติงานนั้นมีทั้งกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานฯตำรวจและทหารโดยได้ชี้แจงว่าชาวบ้านบุกรุกพื้นที่สวนป่าเดิมซึ่งชาวบ้านก็ได้ชี้แจงว่าแนวเขตสวนป่าอยู่ข้างบนไม่ได้ครอบคลุมที่ทำกินชาวบ้านแต่ทางเจ้าหน้าที่ยืนยันว่าเนื้อที่สวนป่าครอบคลุมทั้งหมด


คดีความของนางแสงเดือนเริ่มขึ้นวันที่18 กันยายน2561 โดยเจ้าหน้าที่หน่วยงานพิทักษ์ป่าที่13 (แม่โป่ง) ได้สนธิกำลังเข้าตรวจยึดแปลงยางพาราของนางแสงเดือนตินยอดและแจ้งข้อกล่าวหาร่วมกันยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินก่อสร้างแผ้วถางทำไม้เก็บหาของป่าหรือกระทำด้วยประการใดๆอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต” 


หลังจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน2561 นางแสงเดือนได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมซึ่งนางแสงเดือนยืนยันว่าต้องการเงินค่าชดเชยจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท(เตรียมการ) แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยินยอมให้เงินชดเชยอ้างว่าไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการตัดฟันเพราะนางแสงเดือนตัดฟันด้วยตนเองแม้ข้อเท็จจริงที่ออกจากปากนางแสงเดือนจะกล่าวว่าถูกบังคับโดยนำคดีความมาปิดปากนอกจากนั้นเจ้าหน้าที่อุทยานฯยังอ้างว่าพื้นที่ของนางแสงเดือนได้ถูกกันออกจากพื้นที่เตรียมประกาศอุทยานฯแล้วจึงเป็นพื้นที่ดำเนินการของป่าสงวนแห่งชาติแม่โป่งซึ่งเจ้าหน้าที่ป่าสงวนฯที่เข้าไปดำเนินการยืนยันว่านางแสงเดือนบุกรุกพื้นที่ป่าจริง
.
อย่างไรก็ตามหลังจากมีการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกันตามมติที่ประชุมแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปรากฏว่านางแสงเดือนได้ทำกินอยู่แต่เดิมและไม่ได้มีการบุกรุกพื้นที่เพิ่มตามข้อกล่าวหาแต่อย่างใดแต่ปัจจุบันคดีของนางแสงเดือนยังอยู่ที่ชั้นอัยการยังไม่มีการยกฟ้องแต่อย่างใด

ทั้งนี้ทวงคืนผืนป่าตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่64/2557 ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่วันที่20 มิถุนายน2557 จนถึงวันนี้นับว่าผ่านมากว่า5 ปีแล้วผลกระทบก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้จะมีคำสั่งคสช. ที่66/2557 ที่ว่าการดําเนินการใดๆต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ผู้ที่มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่ดินทํากินซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้นๆก่อนคําสั่งนี้มีผลบังคับใช้ยกเว้นผู้ที่บุกรุกใหม่จะต้องดําเนินการสอบสวนและพิสูจน์ทราบเพื่อกําหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมและดําเนินการตามขั้นตอนต่อไปจะเห็นได้ว่ากรณีของบ้านแม่กวักเข้าข่ายการคุ้มครองตามคำสั่งคสช. ที่66 ชัดเจนแต่เจ้าหน้าที่กลับไม่นำมาปฏิบัติจริง

 มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ รายงาน

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ