เลือกตั้ง 62 : ขัดแย้ง แย่งชิงน้ำ เพราะ ? อะไรคือทางออก ?
ข้อเสนอต่อทุกพรรคการเมืองจากสภาองค์กรชุมชน
แต่ละปีเรามีฝนตกในปริมาณไม่น้อย มีน้ำท่าที่เป็นน้ำผิวดิน แต่น้ำต้นทุนที่ใช้การภาคเกษตรและภาคเมืองไม่พอเพราะความต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้นทุกตามจำนวนประชากร และยังไม่สามาถเพิ่มปริมาณกักเก็บได้ สถานการณ์ขาดแคลนน้ำส่อเค้ารุนแรงโดยเฉพาะภาคเกษตร ส่วนใหญ่ไม่สามารถปลูกพืชฤดูแล้ง ส่วนพื้นที่ที่เป็นที่ราบลุ่มประสบปัญหาน้ำท่วมขังอย่างรุนแรง
สภาพปัญหาเช่นนี้ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนที่อยู่กับการใช้น้ำมาโดยตลอดมองว่า สาเหตุหลักมาจากการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ ยังไม่สามารถแก้ไขวิกฤตน้ำได้ ทั้งที่ได้ใช้งบประมาณมากแต่ พบปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง น้ำเน่าเสีย ยังเป็นปัญหาซ้ำซากอยู่
ในมุมรัฐ การแก้ไขปัญหาน้ำอาจมีประสิทธิภาพตรงที่ได้จัดหาแหล่งน้ำ สร้างที่กักเก็บน้ำให้ประชาชนทุกพื้นที่ได้ เช่น การมีเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ชลประทาน ขุดลอกคลอง หากว่าล้มเหลวในผลลัพธ์ คือ ขาดประสิทธิภาพในการจัดการน้ำที่ดี ความขัดแย้งเรื่องน้ำที่พบเกิดจากสาเหตุ ดังนี้
(๑) นโยบายและแผนงานหลักด้านการจัดการน้ำของประเทศ ขาดเอกภาพ ขาดความชัดเจน ขาดความครอบคลุม ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
(๒) การจัดการน้ำที่ผ่านมาขาดมุมมองในมิติทางสังคมศาสตร์ และขาดการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำ
(๓) หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำมีมาก ในทางปฏิบัติมักก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนและเกิดปัญหา การติดต่อ ระหว่างหน่วยงานเสมอ การจัดการน้ำของภาครัฐยังคงรวมศูนย์โดยองค์กรของรัฐ มุ่งเน้นปัญหาเฉพาะหน้า เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ มุ่งใช้เครื่องมือ วิศวกรรมประชาชนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และถึงแม้ประเทศไทยมีกฎหมาย เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรน้ำหลายฉบับ แต่การบริหารจัดการน้ำของไทยยังมีช่องโหว่ ขาดเอกภาพและ กติกาที่ชัดเจน และไม่เอื้ออำนวยให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมยั่งยืน แง่มุมทางกฎหมายและเครื่องมือการบริหารอุปสงค์ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิรูปการบริหารและการจัดการน้ำ ที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กร ชุมชนตำบล จึงร่วมกันพัฒนาข้อเสนอทางนโยบายสิทธิชุมชนกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ดังนี้
ข้อเสนอ
๑. ควรทบทวนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญที่จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชน ให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และมีส่วนร่วมของประชาชน กำหนดให้โครงการขนาดใหญ่ เช่น การ พัฒนาแหล่งน้ำ การสร้างระบบโครงข่ายน้ำ โครงการพลังงานไฟฟ้า โครงการขุดคลองลัด โครงการและ แผนพัฒนาในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศในลุ่มน้ำโขง ต้องมีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพแบบมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง
๒. ต้องปฏิรูประบบการจัดการน้ำโดยการจัดทำแผนบริหารจัดการลุมน้ำ ๒๕ ลุ่มน้ำ เป็นการจัดทำ “แผนยุทธศาสตรพัฒนาลุ่มน้ำของประเทศ” ให้สอดคล้องกับบริบททางภูมิศาสตรประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมชุมชน ท้องถิ่น ระบบนิเวศที่เหมาะสมและเน้นความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ลุ่มน้ำของประเทศ
๓. การผลักดันกฎหมายคุ้มครองพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่ชุมน้ำ เช่น ป่าบุ่ง ป่าทาม บึง หนอง แม่น้ำ และลำห้วย และ ทางระบายน้ำหลากที่เป็นพื้นที่เชื่อมต่อสำคัญในโครงข่ายระบบนิเวศลุมน้ำ ไม่ให้ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพจากการพัฒนา เช่น การสร้างเขื่อน ประตูน้ำ อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น
๔. สนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทพัฒนา หรือวาระการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำแบบบูรณาการกับข้อมูล ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชน และเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยให้ภาคประชาชน นักวิชาการ ภาคประชาสังคมที่เป็นคณะกรรมการและเครือขายมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนอยางต่อเนื่อง
๕. ออกกฎหมายการเก็บภาษีการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ำจากธรรมชาติ และการพัฒนามาตรการ ของภาษีสิ่งแวดล้อม หรือภาษีภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ำจากธรรมชาติ
๖. ปฏิรูปหน่วยงานของรัฐในการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และปรับปรุงกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการบริหารจัดการพื้ นที่ลุมน้ำ ที่เน้นการมีส่วนรวมของทุกภาคส่วนให้โปร่งใสและเป็นธรรม
๗. ต้องจัดทำนโยบายการส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาองคกรชุมชน เพื่อการส้งเสริมในการวาง แผนการจัดการน้ำในระดับทองถิ่นที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนที่แท้จริงและไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและวิถีชีวิตของชุมชน
๘. กระจายอำนาจการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับชุมชน สภาองค์กรชุมชนตำบล โดยมีเงื่อนการสนับสนุนการพัฒนาทักษะ ความรู้ และพัฒนาศักยภาพชุมชนท้องถิ่น ในการฟื้นฟูอนุรักษ์ พร้อมกับการดูแลบำรุงดูแลรักษาการจัดการน้ำ
ข้อมูลจำเพาะ :
แต่ละปีประเทศไทยมีฝนตก คิดเป็นปริมาณ ๘๐๐,๐๐๐ ล้านลบ.ม.
ปริมาณน้ำท่าคงที่ ที่เป็นน้ำผิวดินเฉลี่ยปีละ ๒๑๓,๓๐๐ ล้าน ลบ.ม.
น้ำต้นทุนที่สามารถใช้การได้(ปริมาณอยู่อย่างจำกัด) ประมาณ ๕๒,๗๔๑ ล้าน ลบ.ม.
ความต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้นทุกปีตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น (ปี ๒๕๕๙ และ ๒๕๖๙ คาดว่าจะมีประชากรประมาณ ๖๘.๑ และ ๗๓.๕ ล้านคน)
หากไม่สามารถเพิ่มปริมาณกักเก็บคาดว่าในปี ๒๕๖๙ จะขาดแคลนน้ำ ประมาณ ๖๑,๗๔๔ ล้าน ลบ.ม.หรือร้อยละ ๓๓.๕๐ ของปริมาณความต้องการ สภาพการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรจะเกิดขึ้นมากที่สุด ส่วนใหญ่ไม่สามารถปลูกพืชฤดูแล้ง ส่วนพื้นที่ที่เป็นที่ราบลุ่มประสบปัญหาน้ำท่วมขังอย่างรุนแรง เพราะในฤดูฝนมีปริมาณน้ำฝนที่ตกถึงประมาณร้อยละ ๘๕ ส่วนในฤดูแล้งมีปริมาณน้ำท่าเพียงประมาณร้อยละ ๑๕
หมายเหตุ เรียบเรียงจากข้อเสนอ สภาองค์กรชุมชน เสนอต่อพรรคการเมืองทุกพรรค เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2562 ที่นิด้า