เรื่องเล่าหลังเลนส์ สองกำลังสื่อ ตอน ฮัก นะ เชียงยืน

เรื่องเล่าหลังเลนส์ สองกำลังสื่อ ตอน ฮัก นะ เชียงยืน

รายการสองกำลังสื่อ ตอน ฮัก นะ เชียงยืน
เสาร์ ที่ 19 เมษายน 2557  เวลา 10.05 น. 

ตามปกติ หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เกษตรกรอีสานส่วนใหญ่ต้องทยอยเดินทาง ออกจากพื้นที่เพื่อรับจ้างทำงานนอกหมู่บ้าน บ้างเข้ากรุงเทพฯ บ้างลงใต้เป็นแรงงาน สวนยางพารา  เดินขายแรงเพื่อเลี้ยงครอบครัว

แต่ที่หมู่บ้านแบก อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม ไม่มีใครต้องทิ้งลูกทิ้งบ้านไป ขายแรงนอกพื้นที่ คนบ้านนี้มีงานทำตลอดทั้งปี

แคนตาลูป เคยทำรายได้มาแล้วถึงกิโลกรัมละ 1,400 บาท ต่อรอบการปลูก 1 ครั้งซึ่งกินเวลาไม่นานนัก จึงทำให้ที่นาหลังการเก็บเกี่ยวของหมู่บ้านนี้ มีมูลค่า จากบริษัทนายทุนที่ต้องการนำเมล็ดพันธุ์ส่งขายต่างประเทศ และเพื่อให้ได้ตามคุณภาพที่ต้องการ บริษัทและชาวบ้าน จึงมีเงื่อนไขต่อกัน จนกลายเป็นเกษตรพันธสัญญา

“…เงินดีนะ แต่ต้องทำงานกลางคืน ปุ๋ยบริษัทก็ให้ ยาปราบศัตรูรึบริษัทก็ให้ สารเร่งสารไร บริษัทให้หมด แล้วค่อยหักกันตอนเอาของไปส่ง…”

ชาวบ้านทำงานในผสมพันธุ์พืชตามความต้องการของบริษัทนายทุน เฉลี่ยวันละ 13 ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงผสมพันธุ์เกสร นอกจากนี้ยังต้องคลุกคลีกับปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ บางรายหน้ามืด บางรายมีผื่นแดงขึ้นตามตัว  พฤติกรรมในชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป นอนดึก ตื่นสาย  เช้าลูกออกไปโรงเรียน พ่อแม่เพิ่งกลับจากไร่นาแทบไม่ได้เจอหน้ากัน บางครอบครัว ต้องให้ลูกไปช่วยทำงาน พอไปถึงโรงเรียนจึงเกิดอาการหลับในห้องเรียน

ปฎิบัติการณ์ตามล่าหาความจริงถึงสาเหตุที่เพื่อนๆ หลับในห้องของเด็กๆ กลุ่ม ฮัก นะ เชียงยืน จึงเริ่มต้นขึ้นที่หมู่บ้านแบก อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม  ผ่านการเรียนรู้นอกห้องเรียนหลากหลายรูปแบบ แม้กระทั่งการประยุกต์เข้ากับรายวิชาIS (Independent Stady)หรือ การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง

            “ถ้าไม่ทำจะเอาที่ไหนให้ไปโรงเรียน…. ไม่ทำจะเอาที่ไหนกิน”

ความน่าเป็นห่วงจากข้อมูลที่ได้มา ทั้งจากพฤติกรรม ปริมาณการใช้สารเคมี ความจริงแล้วเกษตรกรทราบดีถึงผลกระทบ แต่ยังต้องใช้ เพราะหากไม่ใช้จะส่งผลกระทบ ต่อผลผลิตที่ทำไว้ในรูปแบบเกษตรพันธะสัญญา  ดังนั้น ไม่ง่ายนักที่จะทำให้เกษตรกร เปิดใจ ไม่ใช่ไม่รู้ แต่ทั้งๆรู้แต่เพราะความจำเป็นของรายได้ และการอยู่ดีกินดี ของครอบครัว วงวนเกษตรเคมีจึงหนีไม่พ้นไปจากหมู่บ้าน

ฮักนะเชียงยืน รวมกลุ่มค้นคว้าศึกษาข้อมูล จนนำไปสู่ การค้นหาเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร เพื่อส่งต่อความคิดความรู้สึกไปให้ถึง พ่อแม่ผู้ปกครองในหมู่บ้านแบก แล้วละครก็ถูกนำมาเชื่อมโยง กับข้อมูลจากการเรียนรู้เรื่องจริงนอกห้องเรียน จนเกิดเป็น ละครเร่ เรื่อง วิถีอินทรีย์

 

เมื่อละคร กลายเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ และอาจสร้างการเปลี่ยนแปลงในมุมใดมุมหนึ่ง ทักษะละครที่ฮักนะเชียงยืนได้รับ จากพี่ๆคณะวิทยาการสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ตามแนวคิดละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Theatre) ภายใต้โครงการละครสะท้อนปัญญา พื้นทีภาคอีสาน

ละครที่ไม่ใช่แค่ละครบนเวที หรือหน้าจอทีวีอย่างที่พวกเขาเคยรู้จักมา แต่เป็นละครที่กำลัง พัฒนาความรู้ พาพวกเขาหลุดออกจากกรอบเดิมๆ สร้างการเปลี่ยนแปลง ทัศนคติใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทักษะชีวิตทั้งในการแก้ปัญหา การปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างและชุมชน นำไปสู่การใช้ชีวิตอย่างมีปัญญา

ทักษะละครจากพี่ๆ จะกลายเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ของน้องๆ กลุ่มฮักเชียงยืน จนนำไปสู่การเปิดประตูใจชาวบ้านในหมู่บ้านแบกได้มากขนาดไหน ที่เหลือต้องรอติดตามชมใน รายการสองกำลังสือ ตอน ฮัก นะ เชียงยืน เสาร์ที่ 19 เมษายน 2557 เวลา 10.05 น. ทาง ThaiPbs.

ขอบคุณเรื่องเล่า จากทีมผลิตภาคพลเมือง : สวนสนาน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ