เคยเห็นไหม ? “หัวใจแห่งท้องฟ้า”

เคยเห็นไหม ? “หัวใจแห่งท้องฟ้า”

 ส่งสุขจากใจในเทศกาลแห่งความรักด้วย “หัวใจแห่งท้องฟ้า”

 

นี่คือ “เนบิวลาหัวใจ” (Heart Nebula, IC 1805) อยู่ห่างจากโลกประมาณ 7500 ปีแสง ตั้งอยู่บริเวณแขนเพอร์เซอุสแห่งกาแล็กซี่ทางช้างเผือก มองเห็นได้ในกลุ่มดาวค้างคาว เป็นเนบิวลาชนิดเปล่งแสง เผยให้เห็นกลุ่มก๊าซเรืองแสงและแถบฝุ่นสีเข้ม ซึ่งเกิดจากพลาสมาของประจุไฮโดรเจนและอิเล็กตรอนอิสระ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมส่งความสุขจากใจในเทศกาลแห่งความรักด้วยภาพ “หัวใจแห่งท้องฟ้า” ผลงานของนายกีรติ คำคงอยู่ – รองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภท Deep Sky Objects การประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ประจำปี 2557

 

ขอบคุณภาพและข้อมูล จาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

ติดตามข่าวสารอื่นๆ ของเพิ่มเติมได้ที่

Website : www.narit.or.th
Facebook : www.facebook.com/NARITpage
Twitter : @N_Earth , Instagram : @NongEarthNARIT
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313

 

 

 

 

 

 

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ