บทเรียนแผ่นดินไหว เชียงราย…ความกังวลและมาตรการป้องกันในอนาคต

บทเรียนแผ่นดินไหว เชียงราย…ความกังวลและมาตรการป้องกันในอนาคต

บทเรียนแผ่นดินไหว เชียงราย…ความกังวลและมาตรการป้องกันในอนาคต

เหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 6.3 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 เป็นการเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย นอกจากนั้นยังเกิดอาฟเตอร์  ช็อคตามมาอีกจำนวนหลายร้อยครั้ง สร้างความเสียหายต่ออาคาร สถานที่ราชการ โบราณสถาน เส้นทางคมนาคมและบ้านเรือนของประชาชนเป็นจำนวนมาก 

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในอำเภอที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว (อำเภอเมือง ร้อยละ 26.6 อำเภอแม่ลาว ร้อยละ 29.4 อำเภอพาน ร้อยละ 15.8 และอำเภอแม่สรวย ร้อยละ 28.3)  ในหัวข้อ “บทเรียนแผ่นดินไหว เชียงราย…ความกังวลและมาตรการป้องกันในอนาคต”  จำนวน 361 ราย ระหว่างวันที่ 19 – 31 พฤษภาคม 2557 สรุปผลได้ดังนี้    

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ คือ อันดับ 1 ได้รับแจกสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภค ถุงยังชีพ (ร้อยละ 45.0) อันดับ 2 ได้รับแจกวัสดุอุปกรณ์สำหรับซ่อมแซมบ้าน เช่น ปูน ฝ้าเพดานและกระเบื้อง (ร้อยละ 18.8) อันดับ 3  ได้รับเงินช่วยเหลือ (ร้อยละ 16.2) อันดับ 4 เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือตรวจสอบความเสียหายของบ้านเรือน (ร้อยละ 2.5) ส่วนอีกร้อยละ 17.5 ไม่ได้รับความช่วยเหลือ  ส่วนความช่วยเหลือจากภาคเอกชน พบว่า อันดับ 1 ได้รับแจกเครื่องอุปโภคบริโภค เช่น อาหาร น้ำดื่ม ถุงยังชีพ (ร้อยละ 68.2) อันดับ 2 ได้รับเงินช่วยเหลือและช่วยสร้างบ้านให้ (ร้อยละ 4.8) อันดับ 3 กลุ่มจิตอาสาได้เข้าไปตรวจสอบความเสียหายของบ้านเรือน (ร้อยละ 4.8) และร้อยละ 22.2 ไม่ได้รับความช่วยเหลือ

สำหรับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยแผ่นดินไหวของประชาชนในพื้นที่นั้น พบว่า       อันดับ 1 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดภัยแผ่นดินไหวมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 2.04 จากคะแนนเต็ม 3) รองลงมาคือความรู้เกี่ยวกับรอยเลื่อนที่มีพลังและพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบนั้น (ค่าเฉลี่ย 1.89 จากคะแนนเต็ม 3) และความรู้เกี่ยวกับการสร้างอาคาร/บ้านเรือนที่รองรับภัยแผ่นดินไหว (ค่าเฉลี่ย 1.86 จากคะแนนเต็ม 3)

ด้านความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวในพื้นที่นั้น พบว่า ร้อยละ 90.8 มีความวิตกกังวล โดยอันดับ 1 กังวลว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต เนื่องจากอาคารบ้านเรือนที่ไม่แข็งแรง ไม่รองรับภัยแผ่นดินไหว (ร้อยละ 91.4) อันดับ 2 กังวลว่าโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน โทรศัพท์ ไฟฟ้า อาจเกิดความเสียหาย (ร้อยละ 51.7) อันดับ 3 กังวลว่าแหล่งท่องเที่ยว วัดและโบราณสถานต่างๆ จะเกิดความเสียหาย (ร้อยละ 37.9) อันดับ 4 กังวลว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นในการลงทุนในพื้นที่ (ร้อยละ 36.7) และอื่นๆ ได้แก่ วิตกกังวลว่าเขื่อนจะแตก (ร้อยละ 3.1) และไม่วิตกกังวล ร้อยละ 9.2

ส่วนความต้องการเพื่อเป็นมาตรการในการป้องกันและรับมือแผ่นดินไหวในอนาคต พบว่า อันดับ 1 ควรมีการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแผ่นดินไหวแก่ประชาชนอย่างสม่ำเสมอ (การเฝ้าระวัง แจ้งเตือน) ร้อยละ 83 อันดับ 2 ควรมีแผนและการซ้อมแผนรับมือกับภัยแผ่นดินไหว/การช่วยเหลือประชาชนให้ทันต่อสถานการณ์  ร้อยละ 59.2  อันดับ 3 ควรมีการเฝ้าระวังผลกระทบจากภัยแผ่นดินไหวครั้งนี้ เช่น โครงสร้างอาคาร ความปลอดภัยของถนน ร้อยละ 48.5  อันดับ 4 ควรมีมาตรการบังคับให้การสร้างอาคาร/บ้านเรือนมีความมั่นคง รองรับภัยแผ่นดินไหว ร้อยละ 45.7  และอันดับ 5 อื่นๆ เช่น ควรมีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว การให้เงินช่วยเหลือเยียวยาและการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแผ่นไหวให้ ร้อยละ 2.4

จากผลสำรวจจะพบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลอันตรายต่อชีวิต เนื่องจากอาคารบ้านเรือนที่ไม่แข็งแรง ไม่รองรับภัยแผ่นดินไหว ซึ่งหากเราวิเคราะห์จะพบว่าสอดคล้องกับระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในประดับปานกลาง ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ควรมีการเตรียมพร้อมในการรับมือกับภัยแผ่นดินไหวต่างๆ ทั้งการให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวแก่ประชาชน ตลอดจนมาตรการที่เฝ้าระวังและความเสี่ยงของพื้นที่ที่จะเกิดแผ่นดินไหวด้วย 

///

รายละเอียดผลการสำรวจ

1.ประชาชนในพื้นที่มีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยแผ่นดินไหวเป็นอย่างไร

 

ประเด็น

ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

1.1 ประเด็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดภัยแผ่นดินไหว

1.89

0.613

1.2 ประเด็นเกี่ยวกับรอยเลื่อนที่มีพลังและพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบต่อประชาชน

2.04

0.673

1.3 ประเด็นเกี่ยวกับการสร้างอาคาร/บ้านเรือนที่รองรับภัยแผ่นดินไหว

1.86

0.674

 

2.ความช่วยเหลือที่ได้รับในช่วงที่ผ่านมา

1.จากหน่วยงานภาครัฐ

อันดับ 1 ได้รับแจกสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภค ถุงยังชีพ

ร้อยละ 45.0

อันดับ 2 ได้รับแจกวัสดุสำหรับซ่อมแซมบ้าน เช่น ปูน ฝ้าและกระเบื้อง

ร้อยละ 18.8

อันดับ 3 ได้รับเงินช่วยเหลือ

ร้อยละ 16.2

อันดับ 4 เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือตรวจสอบความเสียหายของบ้านเรือน

ร้อยละ 2.5

และไม่ได้รับความช่วยเหลือ

ร้อยละ 17.5

 

2.ความช่วยเหลือจากหน่วยงานเอกชน

อันดับ 1 ได้รับแจกเครื่องอุปโภคบริโภค เช่น อาหาร น้ำดื่ม ถุงยังชีพ

ร้อยละ 68.2

อันดับ 2 ได้รับเงินช่วยเหลือและช่วยสร้างบ้านให้

ร้อยละ 4.8

อันดับ 3 กลุ่มจิตอาสาได้เข้าไปตรวจสอบความเสียหายของบ้านเรือน

ร้อยละ 4.8

และไม่ได้รับความช่วยเหลือ

ร้อยละ 22.2

 

 

3.ความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวในพื้นที่

1.วิตกกังวล

ในด้าน            1.อันตรายต่อชีวิต เนื่องจากอาคารบ้านเรือนที่ไม่แข็งแรง ไม่              รองรับภัยแผ่นดินไหว (ร้อยละ 91.4)

                     2.โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน โทรศัพท์ ไฟฟ้า อาจเกิดความเสียหาย (ร้อยละ 51.7)

                    3.แหล่งท่องเที่ยว วัดและโบราณสถานต่างๆ จะเกิดความเสียหาย (ร้อยละ 37.9)

                 4.ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นในการลงทุนในพื้นที่ (ร้อยละ 36.7)

                    5.เขื่อนจะแตก (ร้อยละ 3.1)

ร้อยละ 90.8

2.ไม่วิตกกังวล

ร้อยละ 9.2

 

4.ความต้องการเพื่อเป็นมาตรการในการป้องกันและรับมือแผ่นดินไหวในอนาคต

อันดับ 1 ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแผ่นดินไหวแก่ประชาชนอย่างสม่ำเสมอ (การเฝ้าระวัง แจ้งเตือน)

ร้อยละ 83.0

อันดับ 2 มีแผนและการซ้อมแผนรับมือกับภัยแผ่นดินไหว/การช่วยเหลือประชาชนให้ทันต่อสถานการณ์

ร้อยละ 59.2

อันดับ 3 การเฝ้าระวังผลกระทบจากภัยแผ่นดินไหวครั้งนี้ เช่น โครงสร้างอาคาร ความปลอดภัยของถนน

ร้อยละ 48.5

อันดับ 4 มีมาตรการบังคับให้การสร้างอาคาร/บ้านเรือนมีความมั่นคง รองรับภัยแผ่นดินไหว

ร้อยละ 45.7

อันดับ 5 อื่นๆ เช่น มีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว การให้เงินช่วยเหลือเยียวยาและการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแผ่นไหวให้

ร้อยละ 2.4

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลทั่วไปผู้ตอบแบบสอบถาม

1.อำเภอ         เมืองเชียงราย ร้อยละ 26.6                      แม่ลาว  ร้อยละ 29.4

                        พาน  ร้อยละ 15.8                                  แม่สรวย  ร้อยละ 28.2

2.เพศ

          ชาย  ร้อยละ 48.4                       หญิง ร้อยละ  51.6

3.อายุ

ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุเฉลี่ย  44  ปี สูงสุด 79 ปี และต่ำสุด 15 ปี

4.ระดับการศึกษา

ประถมศึกษา ร้อยละ 41.6           มัยธมศึกษา ร้อยละ 13.3            ปวช./ปวส. ร้อยละ 11.1

ปริญญาตรี  ร้อยละ 22.4             สูงกว่าปริญญาตรี  ร้อยละ 3.6

ไม่ได้เรียน  ร้อยละ 8.0

5. อาชีพ

รับราชการ พนักงาน ลูกจ้างรัฐ/รัฐวิสาหกิจ   ร้อยละ 10.5     พนักงานบริษัทเอกชน  ร้อยละ  14.2

ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย  ร้อยละ  25.5                                   เกษตรกร  ร้อยละ 38.5

นักเรียน/นักศึกษา  ร้อยละ  7.5                                         อื่นๆ เช่น แม่บ้าน ผู้สูงอายุ ร้อยละ 3.8     

6.มูลค่าความเสียหาย

            มูลค่าความเสียหายเฉลี่ย  42,065  บาท    เสียหายต่ำสุด 500  บาทและสูงสุด  1,000,000  บาท

 

ที่มา ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) 

 

 

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ