ธรรมชาติยาตราเพื่อแม่น้ำมูน ครั้งที่ ๔ “ปั่นจักรยาน บอกรักแม่น้ำมูน”

ธรรมชาติยาตราเพื่อแม่น้ำมูน ครั้งที่ ๔ “ปั่นจักรยาน บอกรักแม่น้ำมูน”

ปั่นจักรยาน บอกรักแม่น้ำมูน

20153101152603.jpg

เครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำมูนร่วมกับภาคประชาสังคม และหน่วยงานในพื้นที่จัดโครงการ “ธรรมชาติยาตราเพื่อแม่น้ำมูน ครั้งที่ ๔  ปั่นจักรยาน บอกรักแม่น้ำมูน ระหว่างวันที่ ๑๒-๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘  ซึ่งกิจกรรม “ธรรมชาติยาตราเพื่อแม่น้ำมูน” จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๒    ปี ๒๕๔๔ และในปี ๒๕๔๗ ที่ผ่านมา

ในปี ๒๕๕๘ มีเครือข่ายองค์กรที่ร่วมจัดกิจกรรมทั้งในและนอกพื้นที่ ได้แก่    คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง  สมาคมคนทาม  ชมรมจักรยานจังหวัดศรีสะเกษ,สุรินทร์,ร้อยเอ็ด  วีระสโมสร  สมาคมสุรินทร์สโมสร โครงการทามมูล  มูลนิธิประสานความร่วมมือพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ ภาคประชาสังคม  องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลในพื้นที่  เพื่อรณรงค์ทางวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ได้รับความสนใจโดยองค์กรท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและเอกชนในการเข้าร่วมและเกิดกิจกรรมของท้องถิ่นต่างๆ ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

เรื่องราวระหว่างทาง

20153101152649.jpg

ตลอดการเดินทางธรรมชาติยาตราเพื่อแม่น้ำมูน ครั้งที่ ๔  “ปั่นจักรยาน บอกรักแม่น้ำมูน”  ระหว่าง วันที่ ๑๒-๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘  รวม ๑๑ คืน ๑๒ วัน มีการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เขาร่วมตลอดการเดินทาง โดยการปั่นจักรยานและล่องเรือ จะแวะทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมร่วมกับชุมชนท้องถิ่นสองฝั่งแม่น้ำมูนประมาณ ๑๐๐ ชุมชน ในพื้นที่ ๒๕ ตำบล ของ ๓ จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ สุรินทร์และร้อยเอ็ด รวมระยะทางประมาณ ๓๕๕ กิโลเมตร

 

ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ถือเป็นวาระที่สอดคล้องกับ “วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก” ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ของทุกปี และอยู่ในเทศกาลสากล “วาเลนไทน์ วันแห่งความรัก” จึงมีสาระและให้ชื่อเฉพาะของงานว่า “ปั่นจักรยานบอกรักแม่น้ำมูน”
 

กิจกรรมตลอดการเดินทาง

๑.ขบวนจักรยานปั่นผ่านชุมชน มีอาสาสมัครนักปั่นตลอดเส้นทางประมาณ ๑๕ คัน และมีชาวชุมชน นักศึกษา ชมรมจักรยานและผู้สนใจร่วมปั่นในแต่ละวันและส่งไม้ต่อให้ชุมชนต่อไป, มีกิจกรรมล่องเรือ ๕ กิโลเมตรที่ตำบลโนนสัง ในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ มีการแสดงป้ายและสัญลักษณ์ประเด็นรณรงค์ในริ้วขบวน

๒.แวะเยี่ยมชุมชนและทำบุญ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน เช่น ศาลปู่ตา วัดโบราณ ศาลเจ้าพ่อดงภูดิน ฯลฯ  พร้อมปักเสาเสมาบันทึกการเดินทาง ๑๑ แห่งที่พักค้างจัดกิจกรรม มีการรวมน้ำสะอาดจากทุกชุมชนเพื่อประกอบพิธีมงคลในในวันสุดท้ายเพื่อแสดงกุศลร่วมกัน

๓.กิจกรรมหรือการแสดงของชุมชนต้อนรับขบวนจักรยานธรรมชาติยาตรา ตามที่แต่ละชุมชนจะออกแบบ เช่น กลองยาว ขบวนจักรยานของชุมชนเพื่อรับและส่งขบวนกลาง หรือกิจกรรมอื่นของเยาวชน และมี “โรงทาน”เพื่อดูแลคณะเดินทาง

๔.ในจุดพักนอน ๑๑ จุด ให้มีกิจกรรมสวดมนต์ สมาธิภาวนา การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเสวนาการพัฒนาท้องถิ่นตามความเหมาะสมและความสนใจ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ผลงานต่างๆขององค์กรร่วมจัด

๕.การเผยแพร่ทางสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เฟสบุค ไลน์ โดยผู้เข้าร่วม ทีมผู้จัดและคณะสื่อมวลชน นักเขียน ศิลปิน

๖.มีกิจกรรมค่าย-เวทีเยาวชน เพื่อรอและนำเสนอผลงานของเขาต่อขบวนจักรยาน ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (๑๖ ก.พ.) และที่ ต.ท่าหาดยาว ร้อยเอ็ด (๒๐ ก.พ.)

๗.สนับสนุนนักเรียนและนักศึกษาทำหนังสารคดีสั้นจำนวน ๑๐ เรื่อง

๘.กิจกรรมแสดงภาพถ่าย ภาพเขียน ฉายภาพยนตร์สารคดีสั้นและล่องเรือ ที่ศูนย์เรียนรู้ทามมูน เหนือเขื่อนราษี

20153101152704.jpg

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม น.ส.วรรณภา  วงษ์พินิจ ๐๙๐-๑๘๑-๐๒๐๑

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ