Chef’s Table ยกระดับวัตถุดิบอาหารทะเล ในวันที่อ่าวปัตตานีเปลี่ยนไป

Chef’s Table ยกระดับวัตถุดิบอาหารทะเล ในวันที่อ่าวปัตตานีเปลี่ยนไป

อ่าวปัตตานีเป็นจิตวิญญาณ เป็นที่ทำมาหากินตั้งแต่ปูย่าตายาย  ถ้าอ่าวไม่สมบูรณ์ไม่รู้ว่าจะทำงานที่ไหน

ปลาบางชนิดขายไม่ได้ในตลาดเพราะไม่มีคนกิน แต่ในฐานคนทำอาหาร พรีเซนต์ให้คนอยากกิน พอคนกินเเม่ค้าก็ขายได้

อ่าวปัตตานี เป็นเหมือนจิตวิญญาณคนรอบอ่าว เป็นพื้นที่ทำมาหากินของชาวบ้านรอบอ่าวมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เเต่ตอนนี้ทรัพยากรที่คุ้นเคยเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ที่เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน การขุดลอกอ่าวที่ทำให้เกิดสันดอนทรายขนาดใหญ่ เเละประมงทำลายล้าง ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศที่ทำให้สัตว์น้ำบางส่วนลดลง เเต่ก็ส่งกระทบต่อเศรษฐกิจที่สำคัญในชุมชนที่ทำให้ให้คนรุ่นใหม่หันหลังให้กับทะเลไปขายแรงงานที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซีย

อ่าวปัตตานี  มีเนื้อที่ทั้งหมด 74 ตารางกิโลเมตร ลักษณะของอ่าวปัตตานีเป็นลักษณะอ่าวกึ่งปิด ปากอ่าวเปิดออกสู่อ่าวไทยทางทิศตะวันตก มีแม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำยะหริ่งไหลสู่อ่าว ทำให้มีพัฒนาการของสิ่งที่มีชีวิตทั้งพืชและสัตว์น้ำอาศัยอยู่ในบริเวณนั้นแพร่พันธุ์มากมายหลากหลายชนิด ทั้ง กุ้ง หอย ปูปลา ที่เป็นสัตว์น้ำทางเศรษฐกิจ เเละสัตว์อนุรักษ์ หล่อเลี้ยงคนในชุมชนรอบอ่าวปัตตานี ที่มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 50,000 คน อาศัยอยู่ใน 30 หมู่บ้านรอบๆอ่าว ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำการประมง มีเรือประมงขนาดเล็กที่ใช้พื้นที่อ่าวปัตตานีโดยตรงในการทำประมงประมาณ 3,000 ลำ

created by dji camera

ชีวิตที่เริ่มเปลี่ยนไปกับอ่าวที่เปลี่ยนเเปลง

ดอเลาะ เจ๊ะแต ปราชญ์ชุมชน บ้านดาโต๊ะ ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานีประกอบอาชีพประมงมามากกว่า 40 ปี เล่าว่า คนส่วนใหญ่ในพื้นที่บ้านดาโต๊ะ ต.แหลมโพธิ์ ทำอาชีพประมงเกือบ 100 %  อดีตเป็นแหล่งปลาชุกชุมมากที่จะหล่อเลี้ยงคนในชุมชนแต่ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ในช่วงมรสุมของทุกปีลมจะพัดทรายเข้ามายังปากอ่าวอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริเวณปากอ่าวแคบลงไปจากเดิมมาก ส่งผลให้น้ำเค็มไหลเข้ามาน้อย ซึ่งก่อนหน้านี้ปากอ่าวมีความกว้างประมาณ 6 กิโลเมตร

แต่ปัจจุบันนี้ปากอ่าวมีทรายทับถมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้ความกว้างเหลือเพียงแค่ 3 กิโลเมตร ส่งผลให้การไหลเวียนของน้ำทะเลลดลง จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้น้ำจืดในอ่าวเพิ่มมากขึ้น กระทบต่อสัตว์น้ำทำให้สัตว์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ รวมไปถึงหญ้าทะเลและส่าหร่ายต่างๆ ที่เหลือน้อยมากต่างไปจากแต่ก่อน ซึ่งความสำคัญของพืชเหล่านี้คือ เป็นแหล่งอนุบาลปลาสำหรับสัตว์เล็กสัตว์น้อย

เช่นเดียวกับเสียงสะท้อนจาก มะรอนิง สาและ (ผู้นำชุมชนบ้านดาโต๊ะ) เล่าให้ฟังถึงการเปลี่ยนแปลงของอ่าวปัตตานีว่า ประชากรในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เฉพาะชุมชนบ้านดาโต๊ะเองก็มีเรือที่ทำการประมงอยู่แล้วมากกว่า 200 ลำ ไม่นับรวมกับหมู่บ้านอื่นๆบริเวณข้างเคียง ด้วยทรัพยากรณ์ที่มีจำกัด จึงนำไปสู่ปัญหาการแย่งชิงในการทำมาหากิน นอกจากนี้ตัวเร่งความเปลี่ยนเเปลงอย่าง การปล่อยน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมรอบพื้นที่อ่าวปัตตานี

ที่สำคัญอ่าวปัตตานีเป็นปลายทางของน้ำที่มาจากเขื่อนบางลาง ซึ่งบริเวณนั้นเป็นพื้นที่ทำการเกษตรที่อาจจะมีการใช้สารเคมีเกิดการปนเปื้อน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลเช่นกัน เพราะน้ำที่ไหลลงมาจะสิ้นสุดลงในอ่าวปัตตานี เป็นผลให้ชาวประมงบริเวณนั้นตกเป็นผู้รับชะตากรรมมากไปกว่านั้น ยังทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ และสัตว์บางชนิดก็สูญพันธ์ไปแล้ว

มะรอนิงกล่าวต่อว่า คนรุ่นใหม่ต่างไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย หากวันหนึ่งมีการปิดประเทศเหมือนช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา เด็กรุ่นใหม่ไม่สามารถจับปลาหาเลี้ยงชีพได้

การทำประมงก็เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์

ดอเลาะ เล่าต่อว่า ตนเล็งเห็นความสำคัญของอ่าวปัตตานี จึงทำการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในอ่าวปัตตานี ข้อมูลแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำต่างๆ รวมถึงบันทึกเครื่องมือและวิธีการทำประมงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อถ่ายทอดชุดความรู้และปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กๆในชุมชนเคารพกติกาของชุมชน อีกทั้งรณรงค์การใช้เครื่องมือประมงเเละสร้างวิธีคิดอย่างถูกต้อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งต่อชุมชนในการอนุรักษ์และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตัวเองให้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป

การกินให้เป็นมีส่วนทำให้ระบบนิเวศเกิดความสมดุล

นอกจากนี้คนรุ่นใหม่ในพื้นที่ก็ต่างพยายามสะท้อนปัญหาอ่าวปัตตานีผ่านศิลปะบนจานอาหาร อย่างกลุ่มศิลปิน Patani artspace สะท้อนให้ฟังว่า จากการลงพื้นที่ค้นหาวัตถุดิบมาทำอาหาร ส่วนใหญ่จะเจอแต่ปลากดที่มีอยู่เยอะมาก เป็นปลาที่คนในพื้นชายเเดนใต้ไม่นิยมกินกันมาก สะท้อนให้เห็นว่าความหลากหลายทางชีวภาพลดลง เพราะปลาชนิดอื่นๆลดลงจับได้น้อยลง พอมีปลากดก็เพิ่มประมาณจำนวนมากขึ้น หรือเเม้เเต่ปลาอื่นๆบางชนิดขายไม่ในตลาด เพราะคนไม่นิยมกินกัน  

เเต่ในฐานที่เราทำอาหาร ก็เอาพรีเซนต์ออกมาให้คนกิน พอคนกินเขากินได้ก็ขายได้ เราใช้วัตถุดิบพื้นถิ่นมาทำอาหาร ผ่านการนำเสนอด้วยchef’s table  ด้วยการรังสรรค์ใหม่ เล่าใหม่ นำเสนอใหม่ 

นอกจากจะเสิร์ฟบนต๊ะอาหารแล้ว ต้องเสริฟความคิด เสิร์ฟอิมแพคด้วย อาหารของเราก็จะสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยการใช้ศิลปะที่เราต้องการที่จะสื่อ ที่สำคัญคนที่มากินก็ต้องสามารถแก้ปัญหาได้ อย่างอ่าวปัตตานีใครที่มีส่วนได้ส่วนเสียเช่น ชาวประมง ชาวบ้าน ใครที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง คนเหล่านั้นเป็นเป้าหมาย ในการรับประทานอาหาร

มะรอนิ สะท้อนว่า ปกติปลาแบบนี้เราเอาไปทำอาหารปลา เต่ถ้าเปลี่ยนให้มีคุณค่ามากขึ้น ชาวบ้านก็มีรายได้เพิ่มขึ้น จากที่ขายปลาได้หลักสิบกลายเป็นราคาหลักพันต่อมื้อ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

Prev

May 2025

Next

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

28
29
30
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1

23 May 2025

Nothing to show.

เข้าสู่ระบบ