รุมทึ้ง“หนองแด”ลมหายใจพื้นที่ชุ่มน้ำอุดรฯ

รุมทึ้ง“หนองแด”ลมหายใจพื้นที่ชุ่มน้ำอุดรฯ

รื่อง : ภัทราภรณ์ ศรีทองแท้

นับเฉพาะ“อุดรธานี” มีพื้นที่ชุ่มน้ำตามทะเบียนทั้งสิ้น 924 แห่ง รวมพื้นที่ 2,005.461 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรความจุรวมทุกพื้นที่ 217,402,764 ลบ.ม. จากพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งหมดของประเทศ มีประมาณ 22,885,100 ไร่ หรือเท่ากับร้อยละ6.75 ของพื้นที่ประเทศไทย 

แล้งนี้ สำหรับคนอุดรฯ จึงเป็นการขาดแคลนน้ำบางช่วงเวลา บางพื้นที่เท่านั้น 

โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำ “หนองแด” ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับท้องถิ่นลำดับที่ 38 ของอ.เมือง จ.อุดรธานี หล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมและการอุปโภคบริโภคของชาวบ้าน 4 หมู่บ้าน 

20161503170049.jpg
 
“Backpack Journalist” ลงพื้นที่สำรวจบริเวณโดยรอบพื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด พบว่า “หนองแด”เป็นพื้นที่ทำเลทองซึ่งมีพื้นที่ติดกับถนนมิตรภาพ ทางหลวงหมายเลข 2 อุดรธานี-หนองคาย มีสภาพเป็นแอ่งน้ำแก้มลิงธรรมชาติรองรับน้ำจากทางด้านทิศเหนือของตัวเมืองอุดรธานี ก่อนไหลผ่านลำน้ำห้วยหลวงบริเวณฝายน้ำล้น ลักษณะทางกายภาพของหนองแดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ระดับน้ำสูงเพียง 1 เมตรเศษ เป็นแหล่งน้ำดิบใช้ในการผลิตน้ำประปา 3 สถานี ได้แก่ สถานีบ้านโคกก่อง แจกจ่ายให้บ้านโคกก่อง บ้านดอนหวาย  สถานีบ้านดงสะพัง แจกจ่ายให้บ้านดงสะพังและบ้านดงเจริญและสถานีวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เพื่อนำไปใช้ในการบริโภค

 
สภาพพื้นที่ “หนองแด”บางส่วนถูกถมแปรสภาพ และมีร่องรอยของการขุดผิวดินเป็นระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร เนื้อที่ของหนองแดซึ่งมีเนื้อที่ 938 ไร่ จะเหลือเนื้อที่จริงอยู่เท่าใด เป็นประเด็นที่น่าสงสัยอยู่ไม่น้อย

 20161503170233.jpg
สมเกียรติ เหล่าประเสริฐ ชาวบ้าน ต.กุดสระ อ.เมือง จ.อุดรธานี กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้พื้นที่หนองแดเปลี่ยนแปลงไปว่า สาเหตุหลักมาจากการถมที่เพื่อพัฒนาของจังหวัดปิดกั้นทางน้ำที่ริมถนนอุดรฯ-หนองคาย ซึ่งพื้นที่หนองแดมีหน่วยงานรายการขอให้พื้นที่เพื่อตั้งสำนักงาน เช่น วิทยาลัยการปกครอง จำนวน100 ไร่ ,การท่องเที่ยวและกีฬา จำนวน 400 ไร่ แต่ละหน่วยงานขอกันพื้นที่เพื่อรองรับงบประมาณมาดำเนินการก่อสร้าง และยังมีโครงการเม็กโปรเจคของทางจังหวัดที่ได้ลงพื้นที่ประชาคมตามโครงการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดทำขึ้นตามโครงการแผนพัฒนาจังหวัดเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน  นอกจากนี้ยังมีปัญหาการบุกรุกที่ดินจากผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ โดยออกหลักฐานการถือครองที่ดินให้ถูกต้องและนำไปขายต่อให้กับเอกชนอีกหลายทอด 

 

ขณะที่พ.ต.อ.ประจวบ ขุลีดี  ชาวบ้านต.กุดสระ อ.เมือง จ.อุดรธานี กล่าวว่า การบุกรุกที่ดินจากผู้มีอิทธิพลส่งผลกระทบต่อปริมาณในแหล่งน้ำหนองแด ประกอบกับสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ที่มาเร็วกว่าทุกปีส่งผลให้ปริมาณน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองแดลดลงอย่างรวดเร็ว คาดว่าในช่วงเดือนเมษายนนี้น้ำในหนองแดนี้จะแห้งขอด เพราะขณะนี้เริ่มเห็นสัญญาณแล้วว่าแหล่งน้ำสำหรับผลิตประปาใกล้หมดแล้วชาวบ้าน 1,000 กว่าครัวเรือนอาจได้รับผลกระทบหลังจากนี้
 

20161503170129.jpg
ทั้งนี้ หากพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญ เช่น ประกาศกำหนดให้พื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นที่สาธารณะทุกแห่งทั่วประเทศโดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำแหล่งน้ำจืดเป็นพื้นที่สีเขียวและมิให้ส่วนราชการเข้าไปใช้ประโยชน์เพื่อสงวนไว้เป็นแหล่งรองรับน้ำและกักเก็บน้ำต่อไป

นอกจากนี้ยังให้มีการติดตาม ตรวจสอบและดำรงรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำตามทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับท้องถิ่นเพื่อสงวนไว้เป็นแหล่งรองรับน้ำตามธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งน้ำสาธารณะประโยชน์ ตลอดจนควบคุมและป้องกันการบุกรุกเข้าใช้ประโยชน์ที่จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์

ดังนั้นการขอใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าวของส่วนราชการอาจจะขัดต่อมติครม.หรือไม่

ขณะที่กลไกที่ใช้คุ้มครองและอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งมีเพียงมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 อาจยังไม่เพียงพอต่อการคุ้มครองพื้นที่ชุ่มน้ำ ในสถานการณ์ที่มีการแย่งชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว 

 

ติดตามในรายการBackpack journalist ตอน พื้นที่ชุ่มน้ำ(แล้ง)

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2559 เวลา 13.00 น. และรีรันวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2559 เวลา7.30 น.ทางไทยพีบีเอส

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

Prev

May 2025

Next

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

28
29
30
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1

21 May 2025

Nothing to show.

เข้าสู่ระบบ