พบกล้วยหอมตายพรายที่เชียงรายเร่งตรวจสอบหวั่นระบาด

พบกล้วยหอมตายพรายที่เชียงรายเร่งตรวจสอบหวั่นระบาด

ภาพสวนกล้วยหอมที่ อ.พระยาเม็งราย จ.เชียงราย เมื่อครั้งการลงทุนเมื่อ 2 ปีก่อน

 

กรณีมีการตั้งข้อสังเกตุและเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดียว่ากล้วยหอมในสวนกล้วยที่.พระยาเม็งราย.เชียงรายเกิดตายในลักษณะใบเหลืองต้นหักพับอาจเป็นการตายพรายด้วยเชื้อราที่อาจระบาดในสวนกล้วยเชิงเดี่ยวนั้นนักข่าวพลเมือง.เชียงรายเข้าสอบถามผู้ดูแลสวนที่เกิดเหตุกล้วยตายได้ข้อมูลว่าต้นกล้วยตายพรายจำนวนไม่ถึง  1 ไร่ที่แสดงอาการให้เห็นถึงลักษณะใบเหลืองและหักพับแต่ในช่วงที่ผ่านมาเป็นช่วงที่แล้งและอากาศร้อนมากจึงยังไม่ทราบสาเหตุและได้แจ้งให้กับเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเข้ามาตรวจสอบแล้วขณะนี้ได้เก็บตัวอย่างบางส่วนไปตรวจสอบและยังมีการเก็บเพิ่มในแปลงอื่นที่ยังไม่มีอาการขณะนี้ปลูกกล้วยประมาณ1 พันไร่จากพื้นที่2 พันไร่ซึ่งในพื้นที่ก็มีผลไม้อื่นด้วย

ผู้ดูแลสวนกล่าวว่า  ได้เข้ามาดูแลสวนปีกว่าที่ผ่านมาเพิ่งเจออาการแบบนี้เป็นครั้งแรกและทางสวนกล้วยได้ใช้สารเคมีในชนิดและปริมาณตามที่หน่วยงานควบคุมมาตลอดและอยู่ในการดูแลของนักวิชาการและเจ้าหน้าที่โดยให้ความร่วมมือมาตลอดอยากให้เห็นใจในแง่ของการลงทุนทำการเกษตรที่กล้วยมีตลาดแน่นอนทำให้เป็นรายได้มีการจ้างงานและมีรายได้เข้ามาซึ่งเชื่อว่าในสวนใช้สารเคมีน้อยกว่าแปลงผลไม้หลายอย่างที่ปลูกกันและตอนนี้ก็รอผลการตรวจสอบและพร้อมให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขปัญหา

มีรายงานว่าวันนี้( 16 มิ..) นายปกรณ์  สุริวรรณ  นอภ.พญาเม็งราย.เชียงรายกล่าวว่าได้รับรายงานจากเกษตรอำเภอพญาเม็งรายว่าพบกล้วยตายพรายในสวนกล้วยหอมเขียวของหจก.พญาเม็งราย.1 .พญาเม็งรายและเจ้าหน้าที่ได้เข้าไปเก็บตัวอย่างจากกล้วยหอมจีนในวันที่14 มิ..ที่ผ่านมาเพื่อส่งแลปตรวจหาสาเหตุว่าเป็นเชื้อชนิดใดก่อนจะมีมาตรการดูแล

เบื้องต้นได้ทำความเข้าใจจากเจ้าของสวนแล้วว่าหากพบว่าเป็นเชื้อที่มีการระบาดได้ก็จะให้ควบคุมการแพร่ระบาดและหุ้นส่วนของธุรกิจนี้จะเป็นทุนจากจีนซึ่งทางกงสุลจีนประจำจังหวัดเชียงใหม่ก็ให้ความสนใจตอนนี้รอให้ผลออกมาหากเป็นเชื้อราที่แพร่ระบาดก็จะมีการควบคุมพื้นที่ป้องกันการแพร่ระบาดตามขั้นตอนโดยให้ล้มต้นกล้วยและขุดเหง้ามาเผาทำลายและให้งดปลูกกล้วยในระยะเวลา10กว่าปีแต่อาจปลูกพืชอื่นได้อย่างไรก็ตามต้องรอผลจากแลปก่อน

นางนงคราญ  สองเมืองแก่นเกษตรอำเภอพญาเม็งรายกล่าวว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาได้เข้าไปเก็บตัวอย่างหลังจากทราบจากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเมื่อทราบว่าพบกล้วยมีลักษณะตายพรายจึงเข้าไปเก็บตัวอย่างขณะนี้ส่งแลปกรมวิชาการเกษตรให้ตรวจสอบแล้วหากเป็นเชื้อราว่าเป็นชนิดใดนั้นก็จะดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดซึ่งสรุปเบื้องต้นรายงานให้กับนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายทราบในวันที่17 มิ..นี้

ด้านเพจไบโอไทยโพสต์เรื่องดังกล่าวโดยระบุว่าได้รับข้อมูลจากภาคประชาสังคมในพื้นที่ซึ่งสอดคล้องกับที่เคยเตือนไว้เมื่อ3 ปีที่แล้วถึงปัญหาการปลูกกล้วยเชิงเดี่ยวที่อาจทำให้เกิดโรคระบาด  โรคตายพรายหรือ“Panama disease” ซึ่งเกิดจากเชื้อราFusarium ซึ่งโรคนี้เคยทำให้กล้วยหอมทอง(Gros Michel)ที่ปลูกในทวีปอเมริกาเป็นโรคระบาดตายแทบเกลี้ยงทวีปเมื่อทศวรรษ1950 และเป็นสาเหตุให้มีการนำกล้วยหอมเขียว(Cavendish) มาปลูกแทน

ภาพจากเพจ ไบโอไทย

สาเหตุของการเกิดโรคระบาดนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการปลูกกล้วยเชิงเดี่ยวในพื้นที่ขนาดใหญ่มีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีจำนวนมากทำลายสมดุลของระบบนิเวศและสมดุลของสิ่งมีชีวิตในดินที่สำคัญคือเชื้อนี้สามารถปรับตัวให้ต้านทานต่อการใช้สารเคมี

วิธีการแก้ปัญหาคือการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกหรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นกล้วยสายพันธุ์อื่นที่ต้านทานแทนแต่ก็มักจะพบว่าเชื้อนี้สามารถปรับตัวต้านทานต่อสารเคมีและทำลายการปลูกกล้วยสายพันธุ์ใหม่ๆที่ปลูกแบบเชิงเดี่ยวได้เสมอจึงมีความเป็นห่วงว่าจะเกิดการแพร่ระบาดไปยังกล้วยหอมทองในพื้นที่อื่น

ขณะที่มีผู้แสดงความเห็นท้ายโพสต์แจ้งว่าเกิดกล้วยตายในลักษณะเดียวกันที่.ลำปางด้วยโดยเป็นสวนกล้วยที่ไ้ด้พันธ์มาจากเชียงราย

ภาพสวนกล้วยใน จ. ลำปางที่มีการแสดงความเห็นในโพสต์ของเพจไบโอไทย และระบุว่าได้พันธุ์มาจากเชียงราย

 

 

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ