โหรวิชาการวัดพลังประชารัฐ
“ ถ้าประเมินเองจริงๆ คิดยังไงก็ไม่เกิน 70 ”
รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่เน้นตัวบุคคลค่อนข้างมากและถ้าหากพิจารณาด้วยกติกาทั้งหมด ไม่ว่าจะระบบเลือกตั้ง การให้แต่ละพรรค แต่ละเขตคนละเบอร์ หรือแม้แต่การลดทอนผู้ช่วยที่จะหาเสียง จิตอาสา อาสาสมัครทั้งหลายที่เป็นการปิดกันพลังภาคประชาชนทางอ้อมก็ตาม แต่กลยุทธ์ทางการเมืองเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้พรรคพลังประชารัฐได้จำนวนที่นั่งแตะ 130 ตามการคาดการณ์ของ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ตัวแทนจากสถาบันพระปกเกล้า 1 ในนักวิชาการที่ร่วมวงเสวนา
“ ผมเคยวิเคราะห์ว่า ถ้าพลเอกประยุทธ์ ลงในบัญชีรายชื่อนายกฯ ของพลังประชารัฐ ผมให้ตัวเลขไว้ที่ 130 ”
ดร.สติธร ได้ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการเลือกตั้งในครั้งนี้ที่อาศัยกระแสบุคคลมากกว่ากระแสพรรค จึงเป็นไปได้ว่าหากพรรคพลังประชารัฐเปิดหน้ามาเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จำนวนเสียงก็อาจจะเอนเอียงไปทางพรรคพลังประชารัฐได้
ขณะที่ ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ความคิดเห็นว่า
“ ผมเข้าข้างอาจารย์สิริพรรณมากกว่าอาจารย์สติธร คือผมเห็นว่าครั้งนี้มีพรรคเกินร้อยน่าจะแค่ 2 พรรค หมายถึงเกิน100 ที่นั่ง คือเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐยังไงก็ต่ำร้อย ”
ผศ.ดร.ประจักษ์ เลือกแทงข้าง รศ.ดร.สิริพรรณในเรื่องจำนวนที่นั่งของพรรคพลังประชารัฐ โดยมั่นใจว่าอย่างไรก็ตามพลังประชารัฐก็ไม่น่าจะไปไกลกว่า 100 ที่นั่ง โดยเห็นว่าพรรคกลางๆ อย่างพลังประชารัฐ ภูมิใจไทย และไทยรักษาชาติ น่าจะอยู่ที่ 40-70 ที่นั่ง และที่เหลือน่าจะอยู่ที่ต่ำกว่า 40 และ30 ลงไป
นอกจากนี้ 3 นักวิชาการยังวิเคราะห์เพิ่มเติมว่ายังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ การเปลี่ยนบัตรเลือกตั้งจาก 2 บัตรเป็นบัตรเดียว ซึ่งเดิมประชาชนสามารถเลือกบุคคลที่อยากจะให้เป็นเสมือนตัวแทนของพวกเขา กับพรรคที่สามารถพึ่งพิงได้จากนโยบายของพรรคนั้นๆ กลับถูกรวบตึง กลายการแสวงหาความได้เปรียบทางการเมืองบนความเสียเปรียบของสิทธิ์และเสียงของประชาชน
และนี่คือการประเมินจำนวนที่นั่งของพรรคพลังประชารัฐจากนักรัฐศาสตร์ทั้ง 3 ท่านในเวทีเสวนา
“ เลือกตั้ง 62? ศาสตร์และศิลป์ของการเลือกตั้งและอภินิหารทางการเมือง” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2562 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
เรียบเรียงโดย พลอยธิดา เกตุแก้ว BJ Juniorพลังประชารัฐ
“ ถ้าประเมินเองจริงๆ คิดยังไงก็ไม่เกิน 70 ”
รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่เน้นตัวบุคคลค่อนข้างมากและถ้าหากพิจารณาด้วยกติกาทั้งหมด ไม่ว่าจะระบบเลือกตั้ง การให้แต่ละพรรค แต่ละเขตคนละเบอร์ หรือแม้แต่การลดทอนผู้ช่วยที่จะหาเสียง จิตอาสา อาสาสมัครทั้งหลายที่เป็นการปิดกันพลังภาคประชาชนทางอ้อมก็ตาม แต่กลยุทธ์ทางการเมืองเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้พรรคพลังประชารัฐได้จำนวนที่นั่งแตะ 130 ตามการคาดการณ์ของ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ตัวแทนจากสถาบันพระปกเกล้า 1 ในนักวิชาการที่ร่วมวงเสวนา
“ ผมเคยวิเคราะห์ว่า ถ้าพลเอกประยุทธ์ ลงในบัญชีรายชื่อนายกฯ ของพลังประชารัฐ ผมให้ตัวเลขไว้ที่ 130 ”
ดร.สติธร ได้ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการเลือกตั้งในครั้งนี้ที่อาศัยกระแสบุคคลมากกว่ากระแสพรรค จึงเป็นไปได้ว่าหากพรรคพลังประชารัฐเปิดหน้ามาเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จำนวนเสียงก็อาจจะเอนเอียงไปทางพรรคพลังประชารัฐได้
ขณะที่ ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ความคิดเห็นว่า
“ ผมเข้าข้างอาจารย์สิริพรรณมากกว่าอาจารย์สติธร คือผมเห็นว่าครั้งนี้มีพรรคเกินร้อยน่าจะแค่ 2 พรรค หมายถึงเกิน100 ที่นั่ง คือเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐยังไงก็ต่ำร้อย ”
ผศ.ดร.ประจักษ์ เลือกแทงข้าง รศ.ดร.สิริพรรณในเรื่องจำนวนที่นั่งของพรรคพลังประชารัฐ โดยมั่นใจว่าอย่างไรก็ตามพลังประชารัฐก็ไม่น่าจะไปไกลกว่า 100 ที่นั่ง โดยเห็นว่าพรรคกลางๆ อย่างพลังประชารัฐ ภูมิใจไทย และไทยรักษาชาติ น่าจะอยู่ที่ 40-70 ที่นั่ง และที่เหลือน่าจะอยู่ที่ต่ำกว่า 40 และ30 ลงไป
นอกจากนี้ 3 นักวิชาการยังวิเคราะห์เพิ่มเติมว่ายังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ การเปลี่ยนบัตรเลือกตั้งจาก 2 บัตรเป็นบัตรเดียว ซึ่งเดิมประชาชนสามารถเลือกบุคคลที่อยากจะให้เป็นเสมือนตัวแทนของพวกเขา กับพรรคที่สามารถพึ่งพิงได้จากนโยบายของพรรคนั้นๆ กลับถูกรวบตึง กลายการแสวงหาความได้เปรียบทางการเมืองบนความเสียเปรียบของสิทธิ์และเสียงของประชาชน
และนี่คือการประเมินจำนวนที่นั่งของพรรคพลังประชารัฐจากนักรัฐศาสตร์ทั้ง 3 ท่านในเวทีเสวนา
“ เลือกตั้ง 62? ศาสตร์และศิลป์ของการเลือกตั้งและอภินิหารทางการเมือง” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2562 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
เรียบเรียงโดย พลอยธิดา เกตุแก้ว BJ Junior
“ ถ้าประเมินเองจริงๆ คิดยังไงก็ไม่เกิน 70 ”
รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่เน้นตัวบุคคลค่อนข้างมากและถ้าหากพิจารณาด้วยกติกาทั้งหมด ไม่ว่าจะระบบเลือกตั้ง การให้แต่ละพรรค แต่ละเขตคนละเบอร์ หรือแม้แต่การลดทอนผู้ช่วยที่จะหาเสียง จิตอาสา อาสาสมัครทั้งหลายที่เป็นการปิดกันพลังภาคประชาชนทางอ้อมก็ตาม แต่กลยุทธ์ทางการเมืองเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้พรรคพลังประชารัฐได้จำนวนที่นั่งแตะ 130 ตามการคาดการณ์ของ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ตัวแทนจากสถาบันพระปกเกล้า 1 ในนักวิชาการที่ร่วมวงเสวนา
“ ผมเคยวิเคราะห์ว่า ถ้าพลเอกประยุทธ์ ลงในบัญชีรายชื่อนายกฯ ของพลังประชารัฐ ผมให้ตัวเลขไว้ที่ 130 ”
ดร.สติธร ได้ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการเลือกตั้งในครั้งนี้ที่อาศัยกระแสบุคคลมากกว่ากระแสพรรค จึงเป็นไปได้ว่าหากพรรคพลังประชารัฐเปิดหน้ามาเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จำนวนเสียงก็อาจจะเอนเอียงไปทางพรรคพลังประชารัฐได้
ขณะที่ ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ความคิดเห็นว่า
“ ผมเข้าข้างอาจารย์สิริพรรณมากกว่าอาจารย์สติธร คือผมเห็นว่าครั้งนี้มีพรรคเกินร้อยน่าจะแค่ 2 พรรค หมายถึงเกิน100 ที่นั่ง คือเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐยังไงก็ต่ำร้อย ”
ผศ.ดร.ประจักษ์ เลือกแทงข้าง รศ.ดร.สิริพรรณในเรื่องจำนวนที่นั่งของพรรคพลังประชารัฐ โดยมั่นใจว่าอย่างไรก็ตามพลังประชารัฐก็ไม่น่าจะไปไกลกว่า 100 ที่นั่ง โดยเห็นว่าพรรคกลางๆ อย่างพลังประชารัฐ ภูมิใจไทย และไทยรักษาชาติ น่าจะอยู่ที่ 40-70 ที่นั่ง และที่เหลือน่าจะอยู่ที่ต่ำกว่า 40 และ30 ลงไป
นอกจากนี้ 3 นักวิชาการยังวิเคราะห์เพิ่มเติมว่ายังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ การเปลี่ยนบัตรเลือกตั้งจาก 2 บัตรเป็นบัตรเดียว ซึ่งเดิมประชาชนสามารถเลือกบุคคลที่อยากจะให้เป็นเสมือนตัวแทนของพวกเขา กับพรรคที่สามารถพึ่งพิงได้จากนโยบายของพรรคนั้นๆ กลับถูกรวบตึง กลายการแสวงหาความได้เปรียบทางการเมืองบนความเสียเปรียบของสิทธิ์และเสียงของประชาชน
และนี่คือการประเมินจำนวนที่นั่งของพรรคพลังประชารัฐจากนักรัฐศาสตร์ทั้ง 3 ท่านในเวทีเสวนา
“ เลือกตั้ง 62? ศาสตร์และศิลป์ของการเลือกตั้งและอภินิหารทางการเมือง” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2562 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
เรียบเรียงโดย พลอยธิดา เกตุแก้ว BJ Junior