การนำเสนอ ในเวทีการประชุมสัมมนาระหว่างประเทศการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing Conference) ภายใต้แนวคิด “คำตอบคือชาวชุมชน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แก้ไขปัญหาควายากจน สร้างคนและชุมชนที่เข้มแข็ง กุญแจสู่ความยั่งยืน” ที่จัดขึ้น ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Convention Center – UNCC) กรุงเทพมหานคร นำเสนอโดย นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา ประธานอนุกรรมการโครงการบ้านมั่นคง พอช.
พอช. เป็นองค์กรที่มีความเชื่อที่พัฒนาความคิดของผู้คนอยากทำ และสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ซึ่ง พอช. มีบทบาทในการสนับสนุนให้ชุมชนทำแผนและโครงการ กระบวนการจัดการชุมชนมีความตื่นตัวทั้งเชิงพื้นที่ จังหวัด ภูมินิเวศน์ ภาค ทุกคนเป็นเจ้าของในการขับเคลื่อนในทุกมิติ ภารกิจ พอช. มีดังนี้ 1. สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ การเพิ่มรายได้ การพัฒนาที่อยู่อาศัย การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกชุมชนเมืองและชนบท โดยยึดหลักการพัฒนาแบบองค์รวมหรือบูรณาการ บนหลักการพัฒนาที่สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมเป็นแนวทางสำคัญ ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและประชาสังคม 2. สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน 3. สนับสนุนและให้การช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน ตลอดจนการประสานสนับสนุนเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือดังกล่าวจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และ 4. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความร่วมมือขององค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน ในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับประเทศ
“บ้านมั่นคง บ้านของชุมชน” มีการเปลี่ยนชุมชนทั้งความคิด เรื่องสิทธิ ในการปรับปรุงและพัฒนาที่อยู่อาศัยแบบใหม่ เพื่อรองรับการอยู่อาศัยในอนาคต มีการจัดหาเงินทุนเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้นให้กับชุมชน เราเองมีบ้านมั่นคงทั้งในเขตเมืองและชนบท เหล่านี้เป็นพื้นที่ที่จะต้องมีการจัดการด้านปัญหา สังคม เศรษฐกิจ ฯลฯ รวมถึงบ้านมั่นคงริมคลอง ริมทางรถไฟ ซึ่งบ้านมั่นคง เป็นแนวทางที่จะต้องเจรจาเพื่อให้ชุมชนนั้นอยู่ในพื้นที่เดิม และใช้ระยะเวลานานที่จะให้รัฐบาลเข้าใจ และมีการเชื่อมโยงกับเจ้าของที่ดิน นอกจากนี้ยังมีบ้านพอเพียง ชุมชนแต่ละพื้นที่ต้องดำเนินการเอง เป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ยากจน นอกจากนั้นมีที่พักชั่วคราว ศูนย์คนไร้บ้าน นอกจากนั้นยังมีการสนับสนุนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และพยายามขยายเครือข่ายออกไปทั่วประเทศ ทำให้การอยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนนั้นดีขึ้น และสามารถดำเนินการ พร้อมขยายผลกับภาคีเครือข่าย ทุกๆ ตำบลต้องมีการจัดทำแผนไม่ว่าจะ 3 ปี หรือ 5 ปี ซึ่งการพัฒนาที่อยู่อาศัยจะต้องอยู่ภายในระบบที่คนในชุมชนร่วมขับเคลื่อน พร้อมทั้งมีการคิดออกแบบระบบการเงินที่มีความยืดหยุ่นในรูปแบบต่างๆ ที่ชุมชนสามารถอยู่และสร้างบ้านของตัวเองได้ มีการบริหารผ่านสหกรณ์ โดยรูปแบบทางการเงินที่ง่าย เราไม่ได้ทำแค่ที่อยู่อาศัย แต่พยายามมองถึงมิติต่างๆ จะเห็นได้ว่าชุมชนแออัดหลายๆ ชุมชน มีหลายๆ ชุมชนเข้ามาร่วมกัน เราต้องการแก้ไขปัญหาที่มีระบบและมีการขยายวงกว้างมากขึ้น ซึ่งต้องเปิดพื้นที่เชิญผู้คนจากหลากหลายมาร่วมขับเคลื่อนโครงการมากขึ้น
ถ้าเราทำให้เป็นระบบ เวลาเราจะพัฒนาจะทำให้เกิดผลอย่างสมดุล และสามารถขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ได้ในแนวราบ เราต้องมีพลังการขับเคลื่อนในระดับจังหวัด ใช้บ้านมั่นคงเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงให้ท้องที่ ท้องถิ่น ภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และประชาชนขับเคลื่อนร่วมกัน เช่น จังหวัดนครสวรรค์ มีการเคลื่อนงานร่วมกัน โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งในพื้นที่เองมีตัวแทนชุมชนเชื่อมโยงกันในชุมชนย่อยๆ และมีการทำงานร่วมกับจังหวัด มีการตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดขึ้นมา ขับเคลื่อนในรูปแบบหุ้นส่วนการพัฒนา มีส่วนร่วมจากคนในชุมชน หากระบบเปลี่ยน คนก็จะเปลี่ยน เรามีโอกาสในการสร้างคนและชุมชนเข้มแข็ง มีการจัดตั้งการบริหารจัดการ จัดตั้งกองทุน การมีระบบการเงิน ซึ่งเราจะต้องจัดความสัมพันธ์ผ่านโครงการบ้านมั่นคงให้มีพลังต่อไป