เป็นวงเสวนาช่วงที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ในเวทีการประชุมสัมมนาระหว่างประเทศการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing Conference) ภายใต้แนวคิด “คำตอบคือชาวชุมชน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แก้ไขปัญหาควายากจน สร้างคนและชุมชนที่เข้มแข็ง กุญแจสู่ความยั่งยืน” ณ ศูนย์ประชุมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Convention Center – UNCC) กรุงเทพมหานคร ดำเนินรายการ โดย คุณสุทธิชัย หยุ่น
นายกิร์ติชา (Mr. Kirtee Shah ) ผู้อาวุโส ประธานองค์กร ASAG ประเทศอินเดีย เล่าว่า ประเทศอินเดียนั้น รัฐบาลทำเรื่องที่อยู่อาศัย ร้อยละ 20 ที่เหลือเป็นสิ่งที่ชุมชนดำเนินการ การพัฒนาที่อยู่อาศัยนั้นเป็นกระบวนการที่ทำเกี่ยวข้องกับคน หมู่บ้านในเขตเมืองเราจะดูว่ามีข้อมูล และสถานการณ์อะไรบ้าง ในแต่ละเมืองเวลาเราจะสร้างบ้าน 10 หลัง จะมีการสมทบและสนับสนุนจากหลายภาคส่วน โดยส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่ดำเนินการ มีการสร้างโดยใช้ตึกหลายชั้น และไม่ใช่เพียงแค่ประเทศอินเดียเท่านั้น ยังมีศรีลังกา บังกะลาเทศ และประเทศอื่นๆ การพัฒนาที่อยู่อาศัยและการสร้างบ้านในวันนี้พลังที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง คือ พลังของชุมชน และคนเป็นคำตอบ
นางลัจนา มานันดาร์ (Mrs. Lajana Manandhar) เลขาธิการร่วมมูลนิธิศูนย์ศึกษาที่อยู่อาศัยแห่งเอเชีย และประธานองค์กร LUMANTI ประเทศเนปาล กล่าวว่า ประมาณ 30-40 ปีที่ผ่านมา ตอนที่ได้เริ่มทำโครงการบ้านชุมชนแออัด จะเห็นได้ว่าคนในชุมชนแออัดหรือคนจนไม่ได้ถูกมองว่าเป็นมนุษย์ สังคมมองว่าเป็นอาชญากร ไม่มีใครกล้าเข้าไปในพื้นที่นั้น การเข้าถึงสุขอนามัย การเข้าถึงสาธารณูปโภค เขาเข้าไม่ถึงเลย รัฐบาลไม่ได้ให้ความช่วยเหลือเลย โจทย์สำคัญคือเราจะเข้าไปให้สังคมเข้าไปสนับสนุนอย่างไร ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน ให้เกิดการมีส่วนร่วม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ บทบาทของ ACHR ที่ชุมชนเป็นคำตอบ เราเป็นหน่วยงานที่ทำร่วมกับชุมชน ผู้คน พยายามลดช่องว่างให้เกิดขึ้นระหว่างคนและชุมชน เราพยายามให้เห็นถึงการทำงานร่วมกัน และจะทำให้เกิดชุมชนนำร่อง เพราะมีหลายองค์กร มีเมืองหลายเมือง ที่จะต้องทำการพัฒนา มีตัวแทนจากผู้นำชุมชน จากทุกภาคส่วน เราเองมีการทำงานร่วมกัน ทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงได้ 17-18 ประเทศ ในปี 1987 ในครั้งนั้นมีการทำในชุมชน เริ่มจากประเทศเกาหลี พยายามให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เราต้องเคารพและเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน และต้องทำให้เห็นในหลายโครงการในการที่เราได้ทำและเรียนรู้ร่วมกัน และมีหลายชุมชนที่ทำได้จากบริบทของเขาเอง และสามารถปรับปรุง สร้างความเปลี่ยนแปลงได้ และมองว่าเรื่องที่ดินเป็นเรื่องที่ท้าทายสำคัญ รวมถึงการเมือง และการเงิน เราต้องมองถึงระบบเหล่านี้ในการแก้ไขปัญหาในหลากหลายรูปแบบ เราเองอยากจะพัฒนาและขยายในส่วนของโครงการดังกล่าวในระดับประเทศและโลก ให้เสียงของเราได้รับการรับฟัง ได้รับการสนับสนุนให้เราได้ทำงานร่วมกัน ให้คนเป็นศูนย์กลางในกระบวนการพัฒนา คำตอบที่ยั่งยืนในการพัฒนาที่อยู่อาศัยต้องให้ชุมชนเป็นคำตอบ ต้องพัฒนาทุกอย่างให้น่าอยู่ทั้งเรื่องสังคม วัฒนธรรม จะต้องให้ชุมชนเป็นหลัก และขับเคลื่อนร่วมกัน เราจะต้องมีชุมชนที่เข้มแข็ง เราต้องมีเครือข่ายที่จะทำงานขับเคลื่อนร่วมกันอย่างยั่งยืน
Mrs. Van Liza ประธานองค์กร Women for the World ภาคประชาสังคมทำงานสนับสนุนการสร้างที่อยู่อาศัยของคนยากจน ชุมชนประเทศพม่า ระบุว่า บริบทของพม่า บ้านไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐาน เราบอกว่าเป็นปัจจัยสำคัญ เรื่องการทำบ้านอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณะสุข ที่จะต้องสนับสนุนงบประมาณตรงนี้ มีกระทรวงก่อสร้าง การมีบ้านเหมือนกับการมีบัตรประชาชน เหมือนบัตรประชาชนเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับประชาชนทุกคน ถ้าเราไม่มีบ้าน ก็เหมือนเราไม่มีบัตรประชาชน สิทธิการเป็นพลเมืองหายไป แต่รัฐบาลเขาไม่ยอมรับว่าที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องพื้นฐาน ซึ่งเหล่านี้อยู่ภายใต้การพัฒนาของเอกชน หรือบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ช่วงหลังจากมีประชาธิปไตย ได้มีการเสนอเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัย อยากทำให้เป็นเมืองสมาร์ทซิตี้ เพื่อให้เกิดการลงทุนจากประเทศต่างๆ มีการสร้างบ้านสำหรับคนจน ใช้เวลา 4 ปี รัฐบาลมีอายุ 5 ปี และพอหมดสมัยของรัฐบาลชุดนั้น ช่วงนั้นก็มีการสร้างบ้านหลายครัวเรือน และเกิดสถานการณ์โควิด และสถานการณ์ปฏิวัติจึงทำให้ทุกอย่างดูชะงักลง การที่จะมีบ้าน บ้านของชุมชน มันมีประโยชน์ที่คนอยู่ร่วมกัน ประเทศพม่า โดยส่วนใหญ่อยู่ในชนบท เขามีความสัมพันธ์และมีการอยู่ร่วมกัน แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนคนเข้ามาอยู่ในเมือง บริบทก็เปลี่ยนไป เป็นอยู่แบบปัจเจก เคยมีการทำงานวิจัยเรื่องบ้านคนจน ทำให้เห็นได้ว่าการที่มีคนอยู่รวมกัน คนที่อยู่รวมกันไม่มีใครตาย ส่วนคนที่อยู่อพาร์ทเมนต์ตายอย่างโดดเดี่ยวนั่นเอง
Miss Jane Weru ประธานกรรมการบริหาร Akiba Mashinani Trust สนับสนุนการแก้ปัญหาของชุมชนและการพัฒนาที่อยู่อาศัย ประเทศเคนยา กล่าวว่า แอฟริกามีประชากรคนหนุ่มสาวเยอะ รัฐบาลคิดอยากจะทำการศึกษาเรื่องที่อยู่อาศัยและสุขอนามัยกับคนหนุ่มสาวเป็นจำนวนมาก ตอนนี้ประชากร 50 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว อายุน้อย มีการศึกษาสูง และเก่งด้านเทคโนโลยี เขาจะรู้ถึงสิทธิของตนเอง เขารู้ว่าทั่วโลกมีสิทธิอะไรบ้าง เขารู้ถึงความต้องการของตนเอง กรณีของนัยรูบี คนยากจนในเมือง เขาถือครองที่ดินเพียงแค่ 1 % รัฐบาลพยายามหาทางออก บอกว่าต้องตั้งกองทุนที่อยู่อาศัยเพื่อให้บริการแก่คนยากจนในเมือง ถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย ระบบกองทุนที่อยู่อาศัยของประเทศทำให้เรามีโอกาสได้เรียนรู้จากประเทศไทย ที่เป็นเรื่องที่ดีมาก
Miss Adriana Allen อาจารย์จาก University College of London, Development Planning Unit, ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า เราทำงานร่วมกับองค์กรที่ขับเคลื่อนสังคม เราพยายามทำเรื่องที่อยู่อาศัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน “ทำไมต้องพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ชุมชนเป็นหลัก” ทำให้เราเห็นภูมิปัญญาที่เราทำเรื่องที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน เป็นภูมิปัญญาที่ประสบความสำเร็จที่เราทำในสิ่งแตกต่าง บ้านที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน เราคำนึงถึงสิทธิที่จะมีบ้านอย่างพอเพียง สิ่งดังกล่าว เป็นสิ่งที่สำคัญ รัฐบาลต้องทำงานร่วมกัน ประมาณ 79 ปี ที่แล้ว ประชาชนต้องมีสิทธิในการอยู่อาศัย รูปแบบและทิศทางแบบไหนที่เหมาะสม ที่จะเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง การพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยนั้น มองถึงความมั่นคง การบริหาร สุขอนามัย สุขาภิบาล ที่มั่นคง และวัฒนธรรม ตลอดจนสถานที่ตั้งที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพ การอยู่เป็นครอบครัว มันมากกว่าหลังคาเรือน มันเป็นวิธีการที่จะพัฒนาที่อยู่อาศํย เรามองความแตกต่างของการพัฒนาที่อยู่อาศัย เป็นสิ่งที่เราสร้างความมั้นคง ยั่งยืน เราจะทำอย่างไรให้เป็นสิทธิของมนุษยชนอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้เรามีบ้านพอเพียง
Mrs. Lea Oswald ผู้ประสานงานองค์กร UrbaMonde และ Co-Habitat Network เครือข่ายสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ กล่าวว่า บ้านในสวิตเซอร์แลนแพงมาก คนกลุ่มรายได้ปานกลางและรายได้น้อย เขาไม่สามารถเข้าถึงบ้านได้อย่างพอเพียง อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี คุณจะมีชีวิต ก็ต่อเมื่อคุณมีบ้าน หากคุณไม่มีรายได้ ไม่มีบัญชี คุณก็มีบ้านไม่ได้ การพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนเป็นหลัก ที่ผ่านมาเป็นเอกชน มุ่งหวังผลกำไร มีการสร้างเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และคนก็จะเข้าถึงแบบปัจเจก พวกเราทุกคนอาจจะได้เจอถึงแนวคิดตรงนี้ เราเองต้องเปลี่ยนเพื่อหาแนวทางเพื่อหาคำตอบ เราต้องเปลี่ยนวิธีการดำเนินการ เราพูดถึงชุมชนเมืองที่จะให้คนอยู่ร่วมกันได้ การอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่ใช่คนจนอยู่กับคนจน แต่เราจะอยู่กับชุมชนอื่นอย่างไรในเมืองเดียวกัน เช่น สหกรณ์ที่อยู่อาศัยในประเทศสวิตเซอร์แลน เป็นสินทรัพย์ เป็นโมเดลที่ตอบโจทย์ในเรื่องของเศรษฐกิจได้ดี คนเข้ามาหางาน แต่สภาพที่อยู่ค่อนข้างยากจน ก็มีการหาแนวทางในการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย มีกลุ่มๆ หนึ่งที่มาจากเอกชนและภาครัฐ มีการมองถึงแนวทางที่จะทำให้เกิดการพัฒนาที่เหมาะสม ปัจจุบันมีสหกรณ์มากกว่า 200 กว่าแห่ง หากเปรียบเทียบกับประเทศเป็นสัดส่วนที่น่าสนใจมาก กลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในเรื่องของเศรษฐกิจเช่นกัน ต้องบอกว่าเป็นรูปแบบการช่วยเหลือทางสังคมให้คนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบ
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนในประเทศไทย ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนทำเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความเป็นอยู่และความเดือดร้อนของประชาชน เช่น กรณีชุมชนบ่อนไก่ ที่ประสบปัญหาไฟไหม้ ซึ่งมีแผนพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยในรูปแบบอาคารสูงใจกลางเมืองที่มีพื้นที่ประกอบอาชีพ และพื้นที่สีเขียว ชุมชนริมคลองที่แก้ไขปัญหาชุมชนบุกรุกลำน้ำเกิดปัญหาน้ำท่วม การพัฒนาที่อยู่อาศัยในชนบท ซึ่งเป็นทั้งการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
Real Estate VS. Collective Housing ในประเทศไทยมีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่จำนวนมาก โดยเป้าหมายหลักคือกำไร การทำงานกับชุมชนผู้มีรายได้น้อยเนื่องจากไม่มีผลตอบแทนที่คุ้มค่า Collective Housing ในประเทศไทยสร้างบนที่ดินของรัฐและสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ซึ่งส่วนมากเป็นที่ดินไม่ได้ใช้ประโยชน์และถูกบุกรุกโดยชุมชนมาอย่างยาวนาน การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลแทนที่จะขับไล่ประชาชนออกจากพื้นที่ เปลี่ยนมาใช้วิธีการพัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตของชุมชนเหล่านั้นอย่างมีส่วนร่วม เช่น การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองซึ่งทำให้เมืองได้พื้นที่คลองกลับคืนมาแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นตัวอย่างของบทบาทของรัฐบาลและประชาชนในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ในส่วนของภาษี หากรัฐบาลพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถพึ่งพาตนเองได้ ประชาชนก็จะมีความสามารถในการจ่ายภาษีกลับคืนให้รัฐบาล และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ