29 มกราคม 2567 ประชุมออนไลน์ ระดมข้อเสนอข้อเสนอภาคประชาสังคม ถึงคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พรบ.อากาศสะอาด 7 ร่างที่สภาฯ พึ่งรับหลักการ และอยู่ระหว่างกระบวนการสู่การแปรญัตติ” ผ่านทาง FB Live : สภาลมหายใจ – สถานีฝุ่น – ไทยพีบีเอส – เครือข่ายประชาสังคม
อาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล ผอ.ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกัน และแก้ไขมลพิษอากาศ (ศวอ.)อาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้อำนวยการ ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ). กล่าวว่า
นี่เป็นโอกาสสำคัญที่จะได้พูดคุย ถึงประเด็นที่ยังขาด-ตก ในการจัดทำร่างกฎหมาย ประเด็นวันนี้อาจมีส่วนเติมเต็มเข้าไป เสนอใน 3-4 ประเด็น ที่เป็นประเด็นที่อยากจะฝากไว้
อยากจะชวนคิดขั้นแรกในการผลักดันกระบวนการผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งเป็นกระบวนการในรัฐสภาซึ่งแต่ละพรรคมีจุดยืนของการผลักดันร่างกฎหมาย “จะทำอย่างไรให้แต่ละพรรคร่วมกันประสานพุ่งเป้าไปสู่กฎหมาย เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา” ใช้จังหวะเวลานี้ในการช่วงชิงเกมส์ทางการเมือง เนื่องจากว่ามีข้อจำกัด ของกลไกในทางรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ สมาชิกวุฒิสภาหมดวาระ
เพราะฉะนั้นหากกระบวนการในการพัฒนาผู้แทนราษฎรอยู่ในวาระแรกผ่านไปได้ดี และรวดเร็วก็จะสามารถทันของช่วงวุฒิสมาชิกของช่วงนี้ได้ก็จะทำให้กฎหมายไม่ต้องรอ
ความคิดเห็นเพื่อเพิ่มเติม พ.ร.บ. บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ….1 ความเห็นเกี่ยวข้องกับกระบวนการ
“ไม่ควรที่จะใช้เวทีกรรมาธิการ หรือ รัฐสภาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง หรือเป็น เกมส์ทางการเมืองจนมากเกิดไป”
ร่างกฎหมาย 7 ร่าง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
กลุ่ม 1 เป็นกลุ่มที่วางระบบในเรื่องของการบริหารการจัดการ ซึ่งมี 3-4 ฉบับ ในนี้มีดีเทลหลักคล้าย ๆ กัน แตกต่างในรายละเอียดอยู่บ้าง
กลุ่มที่ 2 ว่าด้วยเรื่องการสถาปนากฎหมายหลัก กฎหมายรอง สิทธิในอากาศสะอาด เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องสิทธิชประชาชน สิทธิมนุษย์ชน เป็นอีกลักษณะหนึ่งซึ่งจุดเด่นกฎหมายว่าด้วยนี้ อยู่ในร่างของกลุ่มเครือข่ายอากาศ ที่เข้าชื่อในการแก้ปัญหาครั้งนี้เป็นร่างกลุ่ม CAN
กลุ่มที่ 3 ให้ความสำคัญกับแหล่งควบคุมมลพิษโดยตรง ซึ่งเป็นจุดเด่นของร่างกฎหมายฉบับนี้
กลุ่มที่ 4 กฎหมายที่เน้นไปที่เรื่องของการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน
ชวนมองภาพรวมแต่ละร่างหัวใจสำคัญของกฎหมายฉบับนี้
ความเห็นเพื่อการพัฒนาให้ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. …. มีความ สมบูรณ์เพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์มลพิษทางอากาศของประเทศไทย มีดังต่อไปนี้
บททั่วไป นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐว่าด้วยการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ควรเพิ่มเติม หลักการ / กระบวนการดังต่อไปนี้
1.สิทธิของประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ควรจะต้องได้รับการปกป้อง คุ้มครอง ป้องกัน รวมถึง สิทธิในการรักษาพยาบาลจากโรคอันจะเกิดจากมลพิษทางอากาศ และในประการสำคัญ รวมถึงสิทธิในการที่จะอยู่ในสถาพแวดล้อมที่มีอากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย
2.ควรกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐในการจัดทำระบบฐานข้อมูลมลพิษทางอากาศที่ทันสมัย และมีหน้าที่ต้องเผยแพร่ เปิดเผย ข้อมูลแหล่งมลพิษ และคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง และเป็นการ ล่วงหน้า
3.มีนโยบายที่ชัดเจนที่จะต้องส่งเสริมการศึกษาวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้ในการ บริหารจัดการเพื่อให้มีอากาศที่มีคุณภาพที่ดี
4. กำหนดมาตรการในการสนับสนุนการฟ้องร้องดำเนินคดีให้กับประชาชนเพื่อป้องกัน แก้ไข เยียวยาผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ
5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความ ร่วมมือในการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ
6. การคุ้มครองชดเชยเยียวยารวมถึงการจัดสวัสดิการให้กับบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บ หรือ เสียชีวิต หรือได้รับความเสียหายจากการเข้าร่วมในการดำเนินการแก้ไขมลพิษทางอากาศ
7. การติดตามตรวจสอบ การประเมินผล และการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายในระดับ พระราชบัญญัติ กฎหมายลำดับรองต่างๆ รวมถึงระเบียบแนวปฏิบัติติที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหาร จัดการให้เกิดอากาศสะอาด
หมวด 2 คณะกรรมการเพื่อการจัดการอากาศสะอาด
1. ควรจัดสัดส่วนกรรมการชุดต่างๆให้เกิดความเหมาะสม สามารถที่จะปฎิบัติหน้าที่รูป กรรมการได้อย่างคล่องตัว
2. กรรมการวิชาการเฉพาะด้านที่มีความเป็นอิสระทางวิชาการเพื่อทำให้เกิดระบบการ บริหารจัดการคุณภาพอากาศที่สะอาด
หมวด 3 ระบบการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของประเทศ
1.ควรกำหนดให้มีระบบการบริหารจัดการที่ตั้งอยู่บนฐานของมลพิษทางอากาศโดยการ จัดระบบการบริหารจัดการแบ่งตามพื้นที่ / แบ่งตามประเภทหรือแหล่งกำเนิดมลพิษ /แบ่งตามระดับ ความรุนแรงและความร้ายแรงแทนการใช้ระบบเขตปกครองแต่เพียงอย่างเดียว
2. ต้องให้ความสำคัญกับการจัดทำระบบฐานข้อมูลมลพิษทางอากาศของประเทศ โดย กำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง และกำหนดให้กระทรวงดิจิทัลฯและกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันโดยรัฐบาล สนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การส่งเสริมการนำข้อมูลไปใช้ใน การลดมลพิษทางอากาศ
หมวด 4 การลดและควบคุมมลพิษในอากาศจากแหล่งกำเนิด
1.การกำหนดมาตรการต่างๆที่จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในทางด้าน บุคลากร ระบบการ บริหารจัดการ ระบบงบประมาณสนับสนุน เครื่องมือที่ทันสทัย และกลไกในการติดตามตรวจสอบ ประเมินผลและการปรับปรุงพัฒนาระบบการบริหารจักการเพื่อให้มีการทำแผนและนำแผนการ ป้องกัน แก้ไขมลพิษทางอากาศไปสู่การปฏิบัติติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หมวด 5 เขตเฝ้าระวังและเขตประสบมลพิษในอากาศ
1.ควรที่จะเร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยใช้ข้อมูลเพื่อ กำหนดให้พื้นที่จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบ หรือเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทาง อากาศเป็นเขตเฝ้าระวังและเขตประสบมลพิษในอากาศ
หมวด 6 เครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่ออากาศสะอาด
1.ระบุกิจกรรมหรือประเภทของกิจกรรมในเขตพื้นที่ที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษเพื่อส่งเสริมให้ มีการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตที่เป็นต้นเหตุของมลพิษทางอากาศให้ชัดเจน โดยการให้ความ ช่วยเหลือทางวิชาการ และการสนับสนุนหรืออุดหนุนโดยมาตรการทางการเงินหรือมาตรการ ทางการคลัง
หมวด 7 เจ้าพนักงานอากาศสะอาด
ควรกำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานอากาศสะอาดในการส่งเสริมการมีส่วมร่วมของ ภาคประชาชนในการติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังหรือแจ้งแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ
หมวด 8 ความรับผิดทางแพ่ง
มาตรการการคุ้มครองชั่วคราวก่อนฟ้อง
หมวด 9 บทกำหนดโทษ
ควรเพิ่มเติมโดยให้นำเอาวิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้เสริมมาตรการลงโทษทางอาญา สำหรับผู้ก่อมลพิษทางอากาศบางประเภท
บทเฉพาะกาล
1. การปฎิรูประบบและวิธีการงบประมาณให้เป็นระบบและวิธีการงบประมาณที่สอดคล้อง กับการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของมลพิษทางอากาศ
2. ระยะเวลาในการเตรียมการของหน่วยงานต่างๆเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ควรจะมีระยะเวลาที่รวดเร็ว