ก้าวสู่ ‘ประชาคมอาเซียน’ ผ่านความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ก้าวสู่ ‘ประชาคมอาเซียน’ ผ่านความหลากหลายทางวัฒนธรรม

20150109183230.jpg

รายงานโดย: อัสมีนี แวสมาแอ
 

31 ส.ค. 2558 สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม จัดเสวนา “เปิดประตูสู่อาเซียน รู้เข้า รู้เรา ผ่านมิติสังคมวัฒนธรรมนำเศรษฐกิจ” ณ ห้องประชุมคอนเวนชั่นฮอล์ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เปิดตัวรายการใกล้ตาอาเซียน ปี 2 โดยบรรยากาศในงานเต็มไปด้วยผู้เข้าร่วม ทั้งนิสิตนักศึกษา อาจารย์ แฟนคลับรายการไทยบันเทิงที่มาจากทางบ้าน และผู้สนใจทั่วไป

20150109183245.jpg

สาวิตรี สุวรรณสถิตย์ ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรม กล่าวตอนหนึ่งในวงเสวนา “ก้าวสู่ประชาคมเดียวอย่างกลมเกลี่ยวผ่านมิติวัฒนธรรม” ว่า วัฒนธรรมจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดความยั่งยืน และมองว่าวัฒนธรรมมีพลังที่สามารถแก้ปัญหาความยากจน ความไม่เท่าเทียมกัน รวมทั้งการสร้างเศรษฐกิจที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในอนาคต และยังเสนอว่าวัฒนธรรมเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนได้

ประภัสสร เสวิกุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2554 ผู้บุกเบิกโครงการวรรณกรรมเพื่ออาเซียน ของสมาคมอาเซียนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า  คนไทยอ่านเกี่ยวกับเรื่องราวอาเซียนมาเยอะแล้ว ในเชิงของตำรับ ตำรา และวิชาการ  แต่คนไทยจะชอบอ่านเรื่องรองกว่านั้น ก็เลยผลิตนวนิยายเสนอเรื่องราวประเทศในอาเซียน เพื่อให้ผู้คนเข้าถึงได้ง่าย โดยเดินทางไปทั้ง 9 ประเทศ ได้เจอคนหลายรูปแบบ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ประมวลกันมาเป็นนวนิยายชุดวรรณกรรมเพื่ออาเซียน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 6 เล่ม

20150109183307.jpg

อานันท์ นาคคง อาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นักมานุษยวิทยาดนตรี ผู้ศึกษาดนตรีชาติพันธุ์ในอาเซียน กล่าวว่า ศิลปะการแสดง ในภาพรวมทั้งดนตรี นาฏศิลป์ การละคร ที่เป็นรากร่วมกัน ทำให้สามารถสื่อสารกันได้รู้เรื่อง โดยไม่ต้องใช้ Dictionary แปลภาษา สิ่งเหล่านี้เป็นข้อพิสูจน์ถึง การมีวัฒนธรรมร่วม มันแสดงให้เห็นว่า การทำความรู้จักกับอาเซียนโดยผ่านมิติของศิลปะการแสดง เป็นสิ่งที่ท้าทายกับการที่เราจะอยู่ร่วมกันได้ 

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) นักเขียนรางวัล “ศรีบูรพา” กล่าวว่า บทบาทของสื่อมวลชนในอาเซียนคือการพยายามทำให้วัฒนธรรมเกิดการแลกเปลี่ยนอย่างลื่นไหล เพราะมันไม่มีวัฒนธรรมไหนที่มีอยู่แล้วไม่เปลี่ยนแปลง แต่สื่อมวลชนต้องเข้าใจและมองมันให้ออก เช่น รามเกียรติ์ ก็ไม่ได้มีที่ไทยอย่างเดียว ที่อินโดนีเซียก็มี รามเกียรติ์ของไทย จะโดดเด่นที่ความอ่อนช่อย แต่ของอินโดก็จะมีพลัง แข็งแรงกว่ามาก เราจึงต้องมีการยอมรับความหลากหลาย ยอมรับการปรับตัว เพื่อเป็นจุดแข็งที่จะขับเคลื่อนอาเซียน

ทั้งนี้ รายการใกล้ตาอาเซียน เป็นรายการที่จะเล่าเรื่องราวถึงสังคม วัฒนธรรมในประเทศเพื่อนบ้าน เริ่มออกอากาศ  4 ต.ค.นี้ เวลา 22.05 น. ทางไทยพีบีเอส

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ